กรอ. เผยมูลค่าลงทุนโรงงานใหม่พุ่ง คุยตัวเลขปิดกิจการน้อยลง


เพิ่มเพื่อน    

 

2 ก.ค. 2564 - นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้รับการรายงานผลการดำเนินงานในช่วง 3 ไตรมาสของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) โดยเฉพาะในด้านการส่งเสริมการประกอบกิจการโรงงาน ตั้งใหม่ ขยาย และการตั้งเขตประกอบการ ในปีงบประมาณ 2564 (1 ต.ค.63 – 30 มิ.ย.64) ภาพรวมทั่วประเทศมีการประกอบกิจการโรงงานใหม่ จำนวน 1,894 โรงงาน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.33% ที่มี 2,022 โรงงาน แต่มีมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นโดยในปีนี้สามารถทำได้ 225,710.24 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 62.24% จากปีก่อนที่สามารถทำได้ 139,124.90 ล้านบาท เนื่องจากบางโรงงานแจ้งขยายในช่วงปีก่อน แต่ยังไม่ได้ลงทุนจึงมาทำการขยายและลงทุนในปีนี้แทนืจึงส่งผลให้มูลค่าการลงทุนโดยรวมสูงขึ้น

 

ขณะที่ในส่วนของการขยายโรงงานใหม่มีจำนวน 209 โรงงาน ลดลง 70.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีการขยาย 702 โรงงาน ด้านมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 69,083.30 ล้านบาท ลดลง 54.28% จากมูลค่าที่มำได้ 151,107.85 ล้านบาทในปีก่อน โดยในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการประกอบกิจการใหม่สูงสุด 3 อันดับ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อโลหะ อุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์โลหะ ตามลำดับ ขณะเดียวกันมีการเลิกประกอบกิจการโรงงานจำนวน  567 โรงงาน คิดเป็นมูลค่าการลงทุน จำนวน 29,541.10 ล้านบาท ลดลง9.72% จากปีก่อนที่มีการเลิกกิจการที่ 628 โรงงาน มูลค่ารวม 45,179.21 ล้านบาท

 

“ที่ผ่านมาแม้ว่าจะมีสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกระลอกนั้น แต่ในภาพรวมของการประกอบกิจการโรงงานยังสามารถไปต่อได้ ซึ่งผมรู้สึกพอใจกับตัวเลขของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งที่มีการตั้งโรงงานใหม่ หรือการขยายโรงงาน เพราะส่งผลให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นจากการเริ่มฉีดวัคซีนโควิดในหลาย ๆ ประเทศ โดยในส่วนของประเทศไทย คาดว่าน่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงปลายปีนี้ เนื่องจากรัฐบาลเร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ให้ประชาชน ซึ่งปัจจัยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศทำให้เกิดการลงทุนเพิ่มขึ้น”นายสุริยะ กล่าว

 

นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดี กรอ. กล่าวว่า มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กรอ.ได้มีมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 – 2564 อาทิ การยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และจำพวกที่ 3 กว่า 56,000 โรงงาน ซึ่งเบื้องต้นผ่านมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564

 

“ภายใต้บริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ผู้ประกอบการจึงมีแนวโน้มจะเผชิญความท้าทายใหม่ ๆ ที่เข้ามาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่ไม่เคยเผชิญมาก่อน เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 การ“ปรับตัวแล้วรอด” คือการก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก และนำมาปรับใช้หรือต่อยอดกับธุรกิจของตนเอง เพื่อลดปัญหาการหยุด หรือเลิกกิจการ ตลอดจนการเลิกจ้างแรงงาน ลดปัญหาการว่างงานจากภาคอุตสาหกรรม  โดย กรอ.พร้อมให้คำปรึกษาแนะนำผู้ประกอบการให้สามารถปรับตัวและสามารถประกอบกิจการต่อไปได้ตามปกติ”นายประกอบ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"