สธ. เผยมาตรการดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้าน แก้วิกฤติขาดเตียง รับไม่ไหวแล้วกทม.ติดเชื้อ 2 พัน


เพิ่มเพื่อน    

3 ก.ค.64 - ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค นพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผอ.องค์การเภสัชกรรม และนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ร่วมแถลงประเด็นสำคัญด้านการแพทย์และสาธารณสุข

นพ.สมศักดิ์ กล่าวถึงเรื่องเตียงและสถานที่รองรับผู้ป่วยว่า จำนวนเตียงเฉลี่ยทั้งประเทศยังพอรับได้ แต่ในส่วนของ กรุงเทพฯ ปริมณฑล ที่มีการขยายเตียงโอเวอร์ไปประมาณ 200-300% รวมกับทางภาคใต้ที่มีการระบาดใน 3 จังหวัดบวกกับจ.สงขลา ซึ่งเป็นส่วนที่พยายามเตรียมเตียงเพิ่ม ซึ่งต้องเรียนว่าหากไม่จำเป็นก็ไม่อยากใช้มาตรการ Home Isolation อย่างไรก็ตามเรามีเตียง มีอุปกรณ์พร้อมหมด ขาดเพียงแค่บุคลากรทางการแพทย์ จึงต้องการหมอที่เพิ่งเรียนจบ แพทย์เฉพาะทางอย่าเพิ่งกลับไปใช้ทุนต่างประเทศ ให้มาช่วยกันตรงนี้ รวมทั้งระดมพยาบาลไอซียูจากต่างจังหวัดมาช่วยด้วย

กทม.เองก็ไปขยายเตียงสีเหลืองและสีแดงเพิ่ม สีเขียวเอกชนมาร่วม ซึ่งได้ข่าวมาว่าเอกชนหลายแห่งมาขยายสีเขียวเพิ่มอีก 4,000 เตียง นี่เป็นการที่พยายามดึงคนไข้มาไว้ที่โรงพยาบาลก่อน แต่จากการทำงานของคอลเซนเตอร์ทั้ง 1330 และ 1668 1669 ก็พบว่ายังมีคนที่ค้างรอเตียงที่บ้านเป็นจำนวนมาก จึงมีการคิดว่าทำอย่างไรที่คนรอเตียงอยู่จะสามารถไปดูแลที่บ้านได้ จึงมีการคิดมาตรการ Home Isolation ที่โรงพยาบาลสามารถไปดูแลคนไข้ที่บ้านได้ เช่น การวัดปรอทที่บ้าน วัดไข้ วัดออกซิเจนในกระแสเลือด ซึ่งหากค่าออกซิเจนเกิน 3% ก็จะให้มาที่โรงพยาบาล ส่งอาหารให้ทาน 3 มื้อ รวมถึงวิดีโอคอลวันละ 2 ครั้งเพื่อติดตาม เพราะการทำ Home Isolation มีปัญหาแน่นอนในเรื่องของการกลัวว่าสุขภาพของผู้ป่วยจะแย่ลง หากมีการติดตามก็คาดว่าจะไม่มีปัญหา

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า การทำ Home Isolation สามารถทำได้แค่กับคนที่มีห้องส่วนตัวที่อยู่คนเดียว เราจึงมีมาตรการการทำ Community Isolation คือการนำผู้ติดเชื้อมาแยกกักตัวที่บางแห่งอาจจะใช้ เป็นศาลาวัด หอประชุมโรงเรียน แม้กระทั่งในโรงงานเอง หากเราสามารถแยกคนไข้ออกมาได้ก็ต้องมีที่ให้เขาอยู่ ทั้งนี้ได้มีภาคสังคมเข้ามาร่วม มีกทม.เจ้าของพื้นที่มาช่วยทำ ขอเรียนว่าสถานการณ์ค่อนข้างตึง ได้รับแจ้งจากผอ.โรงพยาบาลราชวิถี ว่าได้มีการทำห้องฉุกเฉินเพิ่มออกมาจากห้อง ER และเนื่องจากมีหญิงท้องติดโควิดเป็นจำนวนมากแต่โรงพยาบาลต่างๆ ไม่ค่อยรับ ต้องขอความร่วมมือให้โรงพยาบาลต่างๆ ช่วยกันรับ เพราะเมื่อเด็กคลอดและต้องแยกไปที่โรงพยาบาลเด็กเกิดปัญหาเตียงไม่พอ หากทุกภาคส่วนช่วยกันตนคิดว่าจะเป็นเรื่องที่ดี

นพ.สมศักดิ์ กล่าวอีกว่า 5 เรื่องที่สำคัญในการแก้ไขสถานการณ์ คือนโยบายต้องชัดเจน ประชาชนต้องให้ความร่วมมือ ระบบการควบคุมโรคดี ระบบรักษาพยาบาลเข้มแข็ง และการฉีดวัคซีนครอบคลุม หาก 5 เรื่องนี้ไปด้วยกันดี หากลดจำนวนผู้ป่วยลงการหาเตียงไม่ใช่เรื่องยาก แต่บุคลากรที่อยู่หน้างานขณะนี้ตึงจริงๆ บางคนไม่ได้กลับบ้านมา 2 เดือนแล้ว ส่วนกรณีที่มีการตรวจแต่ไม่รับผู้ป่วยเนื่องจากเตียงไม่พอนั้น จริงๆ ตั้งแต่แรกก็ไม่ได้บอกว่าหากตรวจแล้วต้องรับ บอกแค่ที่ไหนช่วยตรวจแล้วให้ช่วยประสาน ซึ่งในขณะนี้มีมาตรการเรื่อง Home Isolation และ Community Isolation ออกมา คิดว่าส่วนนี้จะผ่อนคลายไปได้ แค่ตรวจแล้วต้องนำเข้าระบบโดยเร็ว

เมื่อถามว่า การขยายเตียงแล้วจะสามารถรับผู้ป่วยได้มากน้อยแค่ไหนและจะมีแผนรองรับต่อจากนี้อย่างไรบ้าง นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า เรื่องการขยายเตียงอาจตอบคำถามได้ไม่ชัดเนื่องจากต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ตนคาดการณ์ว่าหากผู้ป่วยในประเทศอยู่ที่ 5,000-6,000 คน ยังพอไปได้หากไม่ขึ้นมากกว่านี้ แต่ภาคพื้นที่ตนเข้าใจว่าในขณะนี้หนักที่ภาคใต้และปริมณฑลบางส่วน ในพื้นที่ภาคใต้ก็มีการพยายามขยายเตียงเพิ่มมากขึ้น เพื่อเตรียมการรองรับและหากมาตรการทั้ง 5 นั้นเป็นไปอย่างเคร่งครัด ตนคิดว่าภาคใต้ก็ยังพอไปได้ ในส่วนของกทม. ที่มียอดคนติดเชื้ออยู่ที่ประมาณ 2,000 คน ตนเคยคาดการณ์เอาไว้ว่าหากตัวเลขอยู่ที่ 1,000 คนปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ขยายเตียงไอซียูก็ยังพอไหวแล้ว แต่เมื่อมาแตะ 2,000 คนการขยายเตียงไอซียูก็อาจจะมีปัญหา จึงควรลดจำนวนผู้ป่วยลงก่อนจึงจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ในส่วนนี้ได้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"