กรีนพีซไทยเร่งรัฐบาลผ่านร่าง กม.ปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษหรือPRTR หลังได้รับบทเรียนโรงงานโฟมกิ่งแก้ว 


เพิ่มเพื่อน    


       

 

 

     5 ก.ค. 64 - นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการ กรีนพีซประเทศไทย กล่าวถึงกรณีเกิดเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล จำกัด ใน อ.บางพลี จ.สมุทรปราการในช่วงดึกของวันที่5 กรกฎาคม 2564   ว่า ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งกับครอบครัวเจ้าหน้าที่กู้ภัยที่เสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ และเป็นอีกครั้งหนึ่งในจำนวนนับครั้งไม่ถ้วนที่สังคมไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนโดยรอบโรงงานอุตสาหกรรม ต้องเผชิญกับอุบัติภัยสารเคมีร้ายแรงที่ต้องบันทึกลงฐานข้อมูลอันยาวเหยียดของความเสี่ยงภัยทางอุตสาหกรรมในประเทศไทย โดยเฉพาะ ในจังหวัดสมุทรปราการซึ่งรัฐบาลประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษมาตั้งแต่ปี 2537

  โรงงานหมิงตี้ เคมีคอล จำกัด อยู่ในเครืออุตสาหกรรม Ming Dih Group Corporation จากไต้หวัน โดยเป็นฐานการผลิตโฟม EPS(Expandable Polystyrene) [1] กำลังการผลิต 30,000 ตันต่อปีเพื่อจัดจำหน่ายในประเทศไทยและส่งออกไปทั่วโลกตั้งแต่ปี 2541[2] ข้อมูลจากชุดปฏิบัติการฉุกเฉิน กรมควบคุมมลพิษที่เข้าตรวจสอบค่าสารมลพิษในพื้นที่เกิดเหตุ ระบุว่าสารเคมีที่ถูกไฟไหม้ คือสไตรีนโมโนเมอร์ ก่อให้เกิดสารก่อมะเร็งเมื่อมีการเผาไหม้ หากสูดดมจะมีผลต่อร่างกายและระบบประสาท อาการเบื้องต้นคือ ปวดหัว มึน ระคายเคืองต่อผิวหนัง แสบตาหากได้รับในปริมาณสูงอาจจะชักและเสียชีวิต การหายใจเข้าไปในระยะนานๆ แม้ว่าความเข้มข้นต่ำจะทำให้อาจมีอาการทางสายตา การได้ยินเสื่อมลงและการตอบสนองช้าลง

    นายธารา  กล่าวเพิ่มเติมว่า มาตรการของกรมควบคุมมลพิษและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการบรรเทาและเยียวผลกระทบเฉพาะหน้า นั้นยังไม่เพียงพอและไม่มีอะไรรับประกันว่า ชุมชนและสังคมไทยโดยรวมจะไม่เผชิญกับผลกระทบจากอุบัติภัยทางอุตสาหกรรมซ้ำซากเช่นนี้อีก สิ่งที่นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  ต้องลงมือทำเดี๋ยวนี้คือ การผ่านร่างกฎหมายการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษ (Pollutant Release and Transfer Registers-PRTR) เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้มีผลบังคับใช้ในทันที

     พร้อมระบุอีกว่า หลายประเทศทั่วโลกออกกฎหมายและนำเอา PRTR [3] ไปประยุกต์ใช้ ประโยชน์ของ PRTR เป็นที่ยอมรับทั้งจากหน่วยงานรัฐ ภาคอุตสาหกรรม และภาคประชาชน ในการเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อมรวมถึง :

-        กำหนดแนวทางวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ

-        ติดตามตรวจสอบการบังคับใช้กฎหมาย การวางแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน

-       การลดใช้สารเคมีเป็นพิษในกระบวนการผลิตและการลดการปล่อยมลพิษจากโรงงาน

-        ความปลอดภัยด้านสารเคมีของผู้ประกอบการและคนงาน

-        การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหามลพิษร่วมกับหน่วยงานรัฐ

-        การเข้าถึงข้อมูลการจัดการสารเคมีเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันตนเองจากมลพิษ

-        เป็นแหล่งข้อมูลสำหรับพนักงานดับเพลิง โรงพยาบาล ตำรวจ หน่วยกู้ภัย หน่วยปฏิบัติการฉุกเฉินเมื่อเกิดอุบัติภัยสารเคมี

          " เราต้องเจอกับการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สินจากผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่ามานานเกินไปแล้ว ถึงเวลาที่ผู้กำหนดนโยบายทั้งหลายต้องรับรองกฎหมาย PRTR ที่ก้าวหน้าเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนเป็นธรรมและการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ได้รับผลกระทบจากมลพิษอุตสาหกรรม”นายธารา กล่าว


 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"