อุบัติภัย"กิ่งแก้ว"บทเรียนสำคัญ วิชาเกิน"ทรงพลัง"กว่าวิชาการ


เพิ่มเพื่อน    

กรณีโรงงานเม็ดพลาสติก บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด ในซอยกิ่งแก้ว 21 อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ เกิดระเบิดและไฟไหม้อย่างรุนแรง ซึ่งโรงงานแห่งนี้มีการใช้สารสไตรีน โมโนเมอร์ (Styrene monomer) และเพนเทน (Pentane) ในกระบวนการผลิตเม็ดโฟมและเม็ดพลาสติก ซึ่งนับได้ว่าเป็นอุบัติภัยสำคัญครั้งรุนแรงที่สุด ด้วยประเด็นปัญหาการรั่วไหลของสารเคมี และการแพร่กระจายไปในอากาศ สร้างความตระหนกแตกตื่นตกใจในบริเวณรอบโรงงานและประชาชนผู้อยู่อาศัยในแถบบริเวณดังกล่าว 

ถือเป็นความโชคดีที่มีบริษัทในเครือของ ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ส่งทีมงาน  ศูนย์ควบคุมภาวะฉุกเฉิน ตั้งอยู่ที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง ภายใต้การบริหารงานของ บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด หรือ NPC S&E ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือ ส่งหน่วยฉุกเฉินที่มีความชำนาญด้านการบรรเทาอุบัติภัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการสารเคมีในครั้งนี้ได้อย่างทันท่วงที และเป็นระบบตามมาตรฐานสากล จากการประสานงานของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
    

แต่เหตุการณ์ร้ายที่สงบลง กลับยังมีปัญหาควันคุกรุ่นอยู่ในสังคมไทย โดยเฉพาะในโลกโซเชียล ที่ส่งต่อสร้างความสับสน ปั่นป่วน อันเกี่ยวกับผลกระทบในเหตุการณ์นี้ จนกลายเป็นความหวาดกลัว สร้างความเครียด วิตก จนส่งผลในการดำรงชีวิตของผู้คนในย่านดังกล่าว 
  

 อิทธิพลของ "สื่อพลเมือง" ในสังคมออนไลน์ ไม่ยอมปล่อยให้ "ควันดำ" จากกรณีนี้หายไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น และตามหลักของวิทยาศาสตร์ที่สามารถนำมาอธิบายเหตุผลได้
    

ต่อกรณีนี้ดังกล่าว คนรู้จริงมีคำอธิบายที่สังคมไทยควรจะนำไปพิจารณา นายณัฐธัญ ละอองทอง ผู้จัดการส่วนบริหารภาวะฉุกเฉิน บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด หรือ  NPC S&E   กล่าวว่า หลังจากควบคุมเพลิงได้แล้วก็คืนพื้นที่ให้กับเจ้าของพื้นที่ พร้อมทั้งได้แนะนำแนวทางการใช้อุปกรณ์กับท้องที่ ก่อนที่บริษัทจะถอยตัว
    

อย่างไรก็ตาม ในความเห็นส่วนตัวนั้น  จากกรณีที่เกิดขึ้น ทำให้เห็นว่างานบรรเทาสาธารณภัยในประเทศไทย ปัจจุบันยังมีปัญหาอยู่มาก โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่ยังเดิมๆ เก่าๆ ยกตัวอย่าง เช่น กรณีที่ไฟไหม้หมิงตี้เคมีคอลนั้น สายฉีดที่มีขนาด 2.5 นิ้วนั้นไม่พอดีกับงานต้องใช้ขนาด 6 นิ้วจึงเหมาะสม น้ำน้อยก็ต้องไฟน้อย ไฟเยอะก็ต้องน้ำเยอะ เราต้องปรับเปลี่ยนนวัตกรรมให้เกิดความสมดุล
  

 ส่วนกรณีที่มีการพูดถึงอันตรายที่เกิดขึ้นจากสารเคมีนั้น นายณัฐธัญ กล่าวว่า หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้มีนักวิชาการเยอะมากที่ออกมาให้ข้อมูลของสารเคมีต่างๆ แต่พบว่าข้อมูลที่ได้มาจากนักวิชาการเป็นข้อมูลที่ล่องลอย นักวิชาการส่วนใหญ่คาดการณ์ และการประมาณการโดยใช้อัลกอริทึม (Algorithm) ของโปรแกรมคอมพิวเตอร์มาคิด ปกติสิ่งเหล่านี้ต้องใช้ให้ถูกกรณี ไม่ใช่มาใช้กับกรณีฉุกเฉินเหมือนแบบนี้ เพราะใช้แล้วชาวบ้านตื่นตกใจ 
  

 "ในพื้นที่จริงนั้นมีเครื่องมือวัด อันนี้คือผู้เชี่ยวชาญต้องเชื่อเครืองมือวัด ไม่ใช่เชื่อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งกรมควบคุมเอาเครื่องมือมาตรวจวัดทุกอย่าง ทุกทิศทาง ชาวบ้านไม่มีผล เพราะในพื้นที่ขณะนี้มีความเข้มข้นของสไตรีน ณ จุดเกิดเหตุอยู่ที่ 4-8PPM ดังนั้นถ้าจุดเกิดเหตุมีแค่นี้ ไปใช้โปรแกรมกลายเป็นไกล หรือ 5กิโลเมตร 10 กิโลเมตร มีค่าเพิ่มเป็นพันเลย ไม่ได้แสดงว่าใช้ผิด" นายณัฐธัญ กล่าว
    

นายณัฐธัญ กล่าวว่า ส่วนกรณีที่มีการพูดว่าน้ำกินไม่ได้มีสารตกค้างนั้น ขอแนะนำว่า การรับข้อมูลข่าวสารกับการดำเนินชีวิตต้องแยกออกจากกัน ต้องยอมรับว่าโซเชียลนั้นเร็วมาก และคนก็เชื่อมากว่ามีความเสี่ยง และไม่รู้จะเชื่อข่าวจากแหล่งไหน เพราะเต็มไปหมด กลายเป็นความสับสน   
  

 ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องรับฟังข่าวสารข้อมูลจากผู้รับผิดชอบเท่านั้น   ซึ่งทางจังหวัดได้ตั้งศูนย์ข้อมูลสำหรับให้ความรู้กับประชาชนในด้านนี้โดยตรงเท่านั้น
  

 ทั้งนี้ ในส่วนที่มีการพูดกันเยอะว่าผลกระทบที่เกิดขึ้น ทั้งทางดิน ทางน้ำ ทางอากาศ โดยเฉพาะทางอากาศ ที่บอกว่าผลกระทบตอนนี้ค่าความเข้มข้นของสไตรีนอันตรายเป็นสารก่อมะเร็ง เขาก็พูดกว้างๆ  ถ้าลงลึกจริงๆ คำว่าก่อมะเร็งมันมีปัจจัยอีกมากมาย ทั้งระยะเวลา ความถี่ แต่เมื่อนักวิชาการพูดกว้างๆ เขาต้องการเอาแค่ว่าพาดหัวข่าวอย่างเดียว  ประชาชนต้องมีความรู้ความเข้าใจในส่วนนี้ด้วย ถ้าตื่นตระหนกเกินไป จะส่งผลเสียมากกว่า ดังนั้นจึงแนะน้ำให้ฟังที่ศูนย์กลาง
  

 ส่วนกรณีที่บอกว่าจะทำให้กินน้ำไม่ได้นั้น ก็ต้องถามข้อมูลกับผู้เกี่ยวข้อง และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต้องลงพื้นที่วัดค่าน้ำ ค่าดิน และเอามากระจายข่าวสารให้ประชาชนรับทราบอย่างเปิดเผยและรวดเร็ว 
     

อย่างไรก็ตาม ถ้ามองปัญหาคือปัญหาภาครัฐ ที่ต้องเร่งควบคุมและประสานงานกระจายข่าวส่วนนี้ไปอย่างรวดเร็ว ไม่อย่างนั้นประชาชนจะตื่นตกใจ สู้โซเชียลไม่ได้ จริงๆ ไม่ได้มีผลกระทบขนาดนั้น หรือแม้แต่ว่าตอนนี้มีการพูดกันว่าเราได้รับ PM10 สูง คือฝุ่นสุมควัน ตอนนี้มันหมดไปแล้ว ซึ่งค่า PM10 กรมควบคุมมลพิษมีการวัดค่าแบบเรียลไทม์ติดตั้งไว้ 3 จุด บอกได้ว่าแต่ละพื้นที่มีค่าเท่าไหร่ ไม่เกี่ยวกับอะไรเกิดขึ้น เป็นข้อเท็จจริง ถ้าไปฟังคนที่ให้ข้อมูลที่ผิดพลาด ก็ทำให้ชาวบ้านตกใจ และเอามาเชื่อมโยงกับความเป็นพิษ ดังนั้นขอย้ำว่าต้องเชื่อฟังเครื่องมือวัดที่มีการติดตั้งในท้องถิ่นโดยตรง  
  

 "สารสไตรีนหนักกว่าอากาศ อยู่ในอากาศประมาณ 7-8 ชั่วโมงก็สลายตัว  แม้ว่าจะมีความอันตราย แต่ก็มีคุณสมบัติบางอย่างที่สามารถดูแลควบคุมได้ ดังนั้นการให้ข้อมูลทางวิชาการ และต้องยึดกับเครื่องมือวัด ปกติสสารทุกอย่างจะมีขีดจำกัดในการรับสารหรือสัมผัสได้ เรียกว่าค่าความปลอดภัยในการสัมผัสสาร เหมือนน้ำตาล ถ้ากินเยอะก็อันตราย แต่ถ้าไม่เยอะก็ไม่อันตราย สารทุกตัวจะมีเกณฑ์ของค่าความปลอดภัยที่สัมผัสได้ สำหรับสไตรีนนั้น มาตรฐานสากลมนุษย์จะรับได้ที่ 100 PPM แต่ที่วัดได้ในพื้นที่  8PPM ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตรฐาน ไม่ถึงค่าอันตราย และในจุดที่เกิดเหตุนั้น ถ้าสามารถควบคุมเพลิงได้ก็หมด หรือปะทุเล็กน้อยก็มีความเข้มข้นน้อย" นายณัฐธัญ กล่าว
  

 นายณัฐธัญ กล่าวย้ำว่า เวลาที่นักวิชาการจะให้ข้อมูล ควรบอกให้ชัดเจนว่าค่าการทดสอบตามมาตรฐานสากลให้ประชาชนรับทราบไปด้วย ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในส่วนนี้รับแต่ฝ่ายเดียวก็เกิดแพนิก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"