องค์กรชุมชนอำนาจเจริญ เสนอ ‘จุรินทร์’ หนุนอำนาจเจริญเมืองธรรมเกษตร พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน


เพิ่มเพื่อน    

 

อำนาจเจริญ / 10 กรกฎาคม 2564 เวลา 14.00 – 15.30 น. รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และคณะ จัดกิจกรรมออนทัวร์อีสานใต้ ลงพื้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ ร่วมงาน “อำนาจเจริญเมืองธรรมเกษตร พัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างเศรษฐกิจชุมชน” ณ อาคารศูนย์เรียนรู้ข้าวหอมมะลิอำนาจเจริญ สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ เพื่อให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบบ้านพอเพียง 172 หลังคาเรือน พร้อมมอบงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน 43 กองทุน และมอบงบประมาณตำบลต้นแบบและตำบลเศรษฐกิจชุมชน 4 ตำบล โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ ปลัดกระทรวงวพาณิชย์ นายอำเภอเมืองอำนาจเจริญ ทีม One Home จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานเกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ พาณิชย์จังหวัดอํานาจเจริญ สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอํานาจเจริญ หอการค้าจังหวัดอำนาจเจริญ สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์จังหวัดอำนาจเจริญ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หน่วยงานราชการ ภาคี และเครือข่ายขบวนสํานักงานสหกรณ์จังหวัดอํานาจเจริญ องค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ เข้าร่วมงาน
 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (สวมเสื้อสีเหลือง)

 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า โครงการบ้านมั่นคง บ้านพอเพียง สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เริ่มต้นจากปี 2543 เริ่มขึ้นในสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ที่เห็นชอบให้มีการจัดตั้งหน่วยงานสำคัญหน่วยงานหนึ่งที่ดูแลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ไม่มีบ้าน ไม่มีที่ดินสร้างบ้าน ให้มีโอกาสมีบ้านที่มั่นคง แข็งแรงขึ้น จึงเกิด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ขึ้นจนถึงปัจจุบัน

 

ผ่านมา 20 ปี การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยเราทำได้ 2 แสน ครัวเรือน เดินหน้าได้ช้าทำได้ไม่ทันต่อความต้องการ แต่ถัดจากนี้เป็นต้นไปเราจะเดินให้เร็วขึ้น ใน 15 ปี ถัดจากนี้ รัฐบาลจะเดินหน้าให้ได้ 1.2 ล้านครัวเรือน ในส่วนชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างระบบรถไฟ 397 ชุมชน จะไร้ที่อยู่อาศัย ตนเองเห็นด้วยที่จะให้มีกลไกในระดับชาติและงบประมาณมาแก้ปัญหา
 

มาวันนี้ มามอบงบประมาณ 10 ล้าน ก้อนแรกงบประมาณบ้านพอเพียง 172 หลังคาเรือน งบประมาณ 3,440,000 บาท มอบงบประมาณสมทบกองทุนสวัสดิการชุมชน 43 กองทุน งบประมาณ 7,164,004 บาท และมอบงบประมาณตำบลต้นแบบและตำบลเศรษฐกิจชุมชน 4 ตำบล งบประมาณ 154,000 บาท

 

ในส่วนของสินค้าและผลิตภัณฑ์ชุมชนที่ชาวบ้านพัฒนาการผลิต แปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพื่อจำหน่าย แต่จะไปจบตรงที่การตลาด ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่รู้จะขายที่ไหน หรือขายได้น้อย เพราะเรายังขาดความรู้ใหม่ๆ ต่อจากนี้กระทรวงพาณิชย์จะเข้ามาช่วยสนับสนุน ในระดับจังหวัดก็มอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัด สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนสำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หอการค้า สภาอุตสาหกรรม นักธุรกิจรุ่นใหม่ มาร่วมพัฒนาศักยภาพการตลาด อบรมให้ความรู้การค้าออนไลน์กับชาวบ้าน เพื่อให้เข้าถึงช่องทางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคโดยตรง และจะมีผลกำไรที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ต่อไปชาวบ้านต้องเรียนรู้การค้าออนไลน์ อย่างจริงจัง ถึงแก่นต่อไป นายจุรินทร์ กล่าวในตอนท้าย

 


ด้านนายปฏิภาณ จุมผา รองผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ของรองนายกฯ ที่จังหวัดขอนแก่นเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และได้เป็นแม่สื่อพ่อชัก มอบหมายให้พาณิชย์จังหวัดขอนแก่นร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมมือกันหนุนเสริมสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้เป็นรูปธรรม ซึ่งก็อยากให้เกิดขึ้นที่จังหวัดอำนาจเจริญ และขยายไปทั่วทั้งประเทศด้วยเช่นกัน 

 

และเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งคือ จากนโยบายการพัฒนาระบบรถไฟ จะมีชุมชน 397 ชุมชน 39,848 ครัวเรือน ได้รับผลกระทบ กำลังถูกไล่รื้อเพื่อก่อสร้างรถไฟ ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีการยกระดับเป็นนโยบายของรัฐบาล ตนเองเสนอให้ครม.นำไปเป็นนโยบาย โดยอนุมัติแผนงานแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยบูรณาการประสานความร่วมมือกับกระทรวงคมนาคม สำนักนายกรัฐมนตรี บริษัทที่ชนะการประมูล สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน บูรณาการให้เกิดรูปธรรมกลไกการแก้ปัญหาในระดับชาติ โดยเสนอให้รัฐบาลมีนโยบายดังนี้

 

1.การเสนอครม.เพื่อเป็นนโยบายโครงการสำคัญของรัฐ และเสนอขออนุมัติแผนงาน

2.การประสานกระทรวงคมนาคม การรถไฟฯ สำนักนายกฯ สำนักงบประมาณ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

3.การสนับสนุนให้เกิดกลไกระดับชาติเพื่อความร่วมมือในการดำเนินการ

4.การประสานเพื่อการสนับสนุนจากผู้ได้รับสัมปทาน/ ภาคเอกชน / ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐอื่นๆ



อย่างไรก็ตาม ในการจัดงานจะมีการจัดนิทรรศการร้านค้าเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญ และในภาคเช้า ขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญได้เปิดเวทีสรุปข้อเสนอเชิงนโยบาย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนสู่เมืองธรรมเกษตร โดยจัดทำ “แนวทางความร่วมมือเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน สู่อำนาจเจริญเมืองธรรมเกษตร โดยเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจังหวัดอำนาจเจริญร่วมกับหน่วยงานภาคี” เพื่อให้การขับเคลื่อนงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามที่กำหนด จังหวัดอำนาจเจริญจึงมีแนวทางการทำงานร่วมกับองค์กร หน่วยงานภาคี ดังนี้

 

1) เครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับภาคีการพัฒนา หน่วยงานในจังหวัดอำนาจเจริญออกแบบและพัฒนาระบบการบริหาร จัดการน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค ที่เพียงพอภายใต้แนวทางเมืองธรรมเกษตร
2) สนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อพัฒนาระบบการเกษตรอินทรีย์ให้มีคุณภาพสู่สากล
3) ร่วมกันกำหนดและสนับสนุนแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการจัดตั้ง “กองทุนเมืองธรรมเกษตร” เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจชุมชนฐานรากตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
4) เครือข่ายองค์กรชุมชนร่วมกับภาคีการพัฒนา และ กระทรวงพาณิชย์ พาณิชย์จังหวัด ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก และการส่งเสริมสนับสนุนผลิตผล ผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชน การแปรรูป และการตลาด ของชุมชน ตั้งแต่ระดับตำบลจนถึงระดับจังหวัด โดยใช้ “สภาองค์กรชุมชนตำบล” และ “แผนธุรกิจโดยชุมชน” เป็นแกนกลางสำคัญในการขับเคลื่อนโดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
5) ร่วมพัฒนาและสนับสนุนยกระดับระบบสวัสดิการชุมชนเป็นสวัสดิการสังคมก้าวหน้า
6) สนับสนุนการสร้างความมั่นคงด้านที่ดินและที่อยู่อาศัยเพื่อให้คนอำนาจเจริญมีความอยู่ดี มีสุข
7) สนับสนุนการกระจายอำนาจ สร้างการมีส่วนร่วมกับท้องถิ่นและภาคีการพัฒนา สามารถออกแบบการบริหารจัดการตนเองได้ ภายใต้ธรรมนูญประชาชนฅนอำนาจเจริญ
8) สนับสนุนการประกันราคาพืชผลทางการเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"