'หมอยง' ยันปลอดภัยฉีดวัคซีนสลับชนิด ภูมิต้านทานสายพันธุ์เดลต้าเทียบแอสตราฯ 2 เข็ม


เพิ่มเพื่อน    

13 ก.ค.64 - เวลา 13.30น. ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ​ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวถึงวัคซีนปป้องกันไวรัสโควิด-19 ว่า ประเทศไทยเริ่มฉีดวัคซีนมาตั้งแต่ 28 ก.พ.2564 หลังจากนั้นเราก็รณรงค์​การฉีดวัคซีนกันเรื่อยมา วันนี้เรายังฉีดวัคซีนไม่ถึง 13 ล้านโดส เนื่องจากปริมาณ​วัคซีน​มีจำกัด จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องบริหารวัคซีนให้ไเ้ประโยชน์​สูงสุด โดยการศึกษาวิจัยรูปแบบการให้วัคซีน​ในประเทศไทยจึงมีความจำเป็น ระยะแรกวัคซีนทุกบริษัท​ผลิตมาจากต้นแบบสายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่มีต้นกำเนิดมาจากอู่ฮั่น​ ซึ่งการผลิตออกมาได้ใช้​เวลาร่วม 1 ปี แต่ในระยะเวลา 1 ปีไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงตัวมันเอง มีการกลายพันธุ์​เพื่อหนีออกจากระบบภูมิต้านทานของเรา จึงเห็นว่าบริษัทไหนก็ตามแต่ที่ผลิตวัคซีนได้ก่อน การศึกษาในประสิทธิภาพ​วัคซีนด็จะได้สูง แต่ถ้าบริษัทไหนที่ใช้สายพันธุ์​เดิม แล้วมาศึกษาวิจัยในระยะหลังๆ ประสิทธิภาพ​วัคซีนจะเริ่มต่ำลง

ศ.นพ.ยง กล่าวว่า ในประเทศไทยเมื่อมีข้อจำกัดเรื่องวัคซีนที่ใช้ในขณะนี้ เราใช้วัคซีนรูปแบบเชื้อตาย กับรูปแบบไวรัสเวกเตอร์ โดยวัคซีนเชื้อตายเป็นของซิโนแวค ส่วนไวรัสเวกเตอร์ คือแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ซึ่งวัคซีนทั้ง 2 รูปแบบต่างกันโดยสิ้นเชิง โดยไวรัสเชื้อตายจะทำมาโดยวิธีโบราณ ที่ทำมากว่า 50 ปีแล้ว ซึ่งเพาะเลี้ยงไวรัสบนเซลล์เพาะเลี้ยง เช่นเดียวกับ โปลิโอ เชื้อพิษสุนัขบ้า​แล้วมาฆ่าทำลายด้วยสารเคมี หลังจากนั้นทำให้บริสุทธิ์​ แล้วจึงมาทำในรูปแบบวัคซีนโดยใส่ตัวเร่งภูมิต้านทานที่เรียกว่า เกลืออลูมิเนียม​ ส่วนไวรัสเวกเตอร์​เป็นเทคโนโลยี​ใหม่ที่ใช้ดีเอ็นเอที่มีรหัสพันธุกรรม​ แปลโค๊ด​เดียวกันกับพันธุกรรม​ส่วนของโปรตีนโคโรนาไวรัส ใส่เข้าไปในเอนเทอโรไวรัสของลิงชิมแปนซี​ โดยเหตุผลที่ใช้ลิงชิมแปนซี เพราะว่าไม่อยากใช้ Human Antino ไวรัส เนื่องจากถ้ามนุษย์เรามีภูมิต้านทานต่อ Human Antino ไวรัส เมื่อฉีดเข้าไป ภูมิต้านทานจะทำลายตัว Antino ไวรัสตัวนั้น ถ้าใช้ชิมแปนซี โอกาสที่จะถูกทำลายมีน้อย ซึ่งเมื่อเข้าไปแล้วไวรัสตัวดังกล่าวก็จะติดเชื้อในร่างกายเรา แต่แพร่ออกจำนวนไม่ได้ เรียกได้ว่าไวรัสถูกทำหมั้นไปแล้วเรียบร้อย

"เปรียบเสมือนว่า ถ้าเราฉีดไวรัสของชิมแปนซี เราก็เป็นไข้หวัดชิมแปนซี แน่นอนมีอาการปวดเมื่อย มีอาการไข้บ้าง แต่ไวรัสตัวนี้ไม่สามารถแพร่พันธุ์​ได้ เจริญเติบโตไม่ได้ ก่อโรครุนแรงไม่ได้ และไปแพร่สู่คนอื่นก็ไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกัน​ก็จะสร้างโปรตีนในส่วนที่เรียกว่าคล้ายกับโคโรนาไวรัสที่เราใส่เข้าไป กระตุ้นให้ร่างกายเราสร้างภูมิ​ต้านทาน ​ไวรัสเวกเตอร์นี้จะบอกว่าเป็นวัคซีนใหม่ก็ไม่​ใช่ ในกลุ่มวัคซีนเวกเตอร์​ที่มีการใช้ในมนุษย์​มาก่อนคือวัคซีน​อีโบลา​ที่ใช้มากว่า 5 ปี จึเห็นว่าตัวนี้ไม่ใช่ตัวแรก" ศ.นพ.ยง กล่าว

ศ.นพ.ยง กล่าวอีกว่า แต่เดิมจะเห็นได้ว่าวัคซีน​ชนิดเชื้อตาย การกระตุ้นภูมิต้านทาน​จริงๆได้น้อยกว่า การกระตุ้นภูมิต้านทาน​ของไวรัสเวกเตอร์ เพราะถึงแม้ไวรัสเวกเตอร์​จะไม่สามารถ​แพร่พันธุ์​ได้ แต่จะต้องมีการให้ติดเชื้อ​ในเซลล์​ก่อน จึงสามารถกระตุ้น​ภูมิต้านทาน​โดยก่อกำเนิดมาจากเซลล์​ของเรา สร้างโปรตีนที่เป็นแอนติเจนมากระตุ้นภูมิต้านทาน ซึ่งภูมิต้านทานที่ได้มาจากไวรัสเวกเตอร์ จึงสูงกว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากเชื้อตาย เดิมทีวัคซีนซิโนแวคต้องยอมรับว่าการกระตุ้นภูมิต้านทาน​สูงเท่าเทียม หรือสูงกว่าภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากคนที่หายป่วยแล้ว เพราะฉะนั้นภูมิต้านคนที่ป่วยสูงขนาดนี้ เมื่อฉีดวัคซีน​เชื้อตายเข้าไปจึงมีภูมิต้านทานสูงกว่าหรือเท่าเทียม จึงสามารถป้องกันโรคได้ แต่ตอนเริ่มต้นเมื่อใช้วัคซีน​ชนิดนี้ไป การป้องกันโรคก็จะสูง แต่อย่าลืมว่าไวรัสมีการกลายพันธุ์ตลอดเวลา จึงต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้น ทำให้สามารถหลบหลีกวัคซีนเชื้อตายที่ต่ำกว่าได้ง่ายกว่า

ศ.นพ.ยง กล่าวเพิ่มเติม​ว่า ปัจจุบันนี้การศึกษาของเราทำให้รู้ว่าเมื่อให้ครบ 2 เข็มของวัคซีนเชื้อตายนี้แล้วภูมิต้านทานได้เท่ากับคนที่หายจากโรคโดยเฉพาะหายจากการติดเชื้อโควิดสายพันธุ์อู่ฮั่นดั้งเดิม แต่เมื่อมาติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ไม่ว่า อัลฟ่าหรือเดลต้า มันต้องการภูมิต้านทานที่สูงขึ้นจึงทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีน ลดลงและลดลงทุกตัว ของวัคซีนที่ผลิตมาจากสายพันธุ์อู่ฮั่น แต่เนื่องจากวัคซีนบางตัวมีภูมิต้านทานที่สูงกว่า เมื่อลดลงแล้วก็ยังพอที่จะป้องกันได้ เพราฉะนั้นในทางปฏิบัติ​จึงต้องพิจารณา​ดูว่า ถ้าเราฉีดวัคซีนแอสต​ร้า​ฯ 2 เข็ม ห่างกัน 10 สัปดาห์​ เรารู้ว่าถ้าฉีดไวรัส​เวกเตอร์​ 2 เข็ม ห่างกันน้อยกว่า 6 สัปดาห์​ภูมิต้านทานที่กระตุ้นขึ้นสูงไม่ดี เท่ากับที่ห่างกันเกินกว่า 6 สัปดาห์​ ยิ่งห่างนานเท่าไหร่ยิ่งดี ซึ่งแต่เดิมคิดว่าไวรัสเวกเตอร์ หรือแอนตร้าฯเข็มเดียว ก็เพียงพอที่สามารถป้องกันไวรัสสายพัน​ธุ์อู่เดิมได้ แต่พอมาเจอไวรัสเดลต้าเข้า วัคซีนแอสตร้าฯเข็มเดียว ไม่สามารถป้องกันได้ แต่กว่าจะรอใช้เวลากว่า 10 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้น จึงสามารถป้องกันได้ จึงเป็นที่มาของการหาจุดสมดุลว่าจะทำอย่างไรให้คนไทยมีภูมิคุ้มกัน​เกิดขึ้นเร็วที่สุด ในขณะที่ไวรัสมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม​ไปมาก

"เรารู้ว่าถ้าใช้วัคซีนเชื้อตายซิโนแ​วค​ 2 เข็ม ภูมิต้านทานสูงไม่พอที่จะป้องกันไวรัสที่มีการกลายพันธุ์มาถึงเดลต้าแล้ว แต่ในขณะเดียวกันแอตร้าฯเข็มเดียวก็ไม่เพียงพอป้องกันไวรัสเดลต้า กว่าจะรอ 2 เข็มก็ช้าไป จีงเป็นที่มาของการทำการศึกษาว่า ถ้าเช่นนั้นเราจึงฉีดวัคซีนเชื้อตายก่อนค่อยตามด้วยไวรัสเวกเตอร์​ ซึ่งการฉีดไวรัสเชื้อตายก่อนเปรียบเสมือนทำให้ร่างกายเราติดเชื้อ แล้วไปสอนนักรบ หรือสอนหน่วยความจำของร่างกายไว้ หลังจากนั้น 3-4 สัปดาห์​ค่อยไปกระตุ้นด้วยวัคซีนที่เป็นไวรัสเวกเตอร์ที่มีอำนาจในการกระตุ้น​เซลล์​ของร่างกายมากกว่า ผลปรากฎ​ว่าผลกระตุ้นสูงกว่า และเร็วกว่าที่เราคาดคิดไว้ ถึงแม้จะกระตุ้นได้ไม่เท่า แอสตร้าฯ 2 เข็ม แต่ก็จะให้ภูมิต้านทานที่สูงในเวลาแค่ 6 สัปดาห์"ศ.นพ.ยง ระบุ

ศ.นพ.ยง ยังกล่าวอีกว่า ขณะนี้คนไข้เรามากกว่า 40 คนที่เราได้ติดตามมา จะเห็นได้ว่ากลุ่มก้อนแรกถ้าเราฉีดซิ​โน​แวค 2 เข็ม ภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจะสูงเท่ากับคนไข้ที่หายแล้ว แต่เนื่องจากปัจจุบันเป็นสายพันธุ์​เดลต้า จึงทำให้ภูมิในขณะนี้ป้องกันไม่ได้ แต่ถ้าเราฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็มแล้ววัดภูมิต้านทานอีก 1 เดือนหลังจากนั้น แสดงว่าห่างกัน 10 สัปดาห์​ แล้ววัดที่ 14 สัปดาห์​ ภูมิต้านทาน​จะสูงเพียงพอ หรือพอสมควรป้องกันไวรัสที่กลายพันธุ์​ได้ แต่เราต้องใช้เวลาถึง 14 สัปดาห์​จึงทำ​ให้​ภูมิสูงขนาดนั้น แต่ถ้าเรามาฉีดวัคซีน 2 เข็มที่สลับกัน โดยวัคซีนเข็มแรกเป็นซิโนแวค แล้วเข็มสอง เป็นแอสตร้าฯ จะเห็นได้ว่าภูมิต้านทานขึ้นมาใกล้เคียงกับการฉีดแอสตร้าฯ 2 เข็ม ถึงแม้จะน้อยกว่ากันนิดเดียวโดยฉีดแอสตร้า 2 เข็มภูมิต้านทานอยู่ที่ 900 แต่ถ้าฉีดสลับกันเหมือนที่กล่าวข้างต้นภูมิต้านทานอยู่ที่ 800 ซึ่งเปรียบเทียบกับการฉีดซิโนแวค 2 เข็มอยู่ที่ประมาณ 100 แต่ถ้าการติดเชื้อในธรรมชาติจะอยู่ระหว่าง 70-80 ถ้าเป็นแบบนี้ไวรัสที่กลายพันธุ์​ก็มีโอกาสป้องกันได้มีมากกว่า แล้วผลสัมฤทธิ์​ในระดับภูมิต้านของร่างกายให้สูงขึ้นใช้เวลาเพียง 6 สัปดาห์  เพราะฉะนั้นในสถานการณ์​ในการระบาดของโรคที่เป็นไปอย่างรุนแรง เรารอเวลา 12 สัปดาห์ไม่ได้ การที่ต้องการให้ภูมิสูงขึ้นเร็ว การฉีดวัคซีนสลับเข็มเรามีภูมิที่สูงใกล้เคียงกับวัคซีนที่ใช้เวลาถึง 12 สัปดาห์​ จึงน่าจะเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับประเทศไทย ณ เวลานี้

"แต่ในอนาคตถ้ามีวัคซีนอื่นที่ดีกว่า พัฒนาที่ดีกว่า เราค่อยหาวิธีการที่ดีกว่า หรือไวรัสกลายพันธุ์​ไปมากกว่านี้ก็อาจจะมีวัคซีนที่จำเพาะเจาะจงกับสายพันธุ์​นั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น ไข้หวัดใหญ่ที่ต้องมีการฉีดทุกปี เพราะฉะนั้นเวลาทุกวันของเรามีค่ามากในการต่อสู้กับโรคร้าย จึงขอ​สนับสนุนให้เห็นว่าข้อมูลทางวิชาการที่ศึกษามาจะเป็นประโยชน์ในการใช้จริง"ศ.นพ.ยง กล่าว

เมื่อถามว่า เชื้อกลายพันธุ์​ในขณะนี้มีความคืบหน้าอย่างไร และมีผลต่อการฉีดวัคซีนในไทยหรือไม่ ศ.นพ.ยง กล่าวว่า เราได้ทดสอบการ Blocking antibody จะเห็นได้ว่าการเปรียบเทียบซิโนแวค 2 เข็มกับซิโนแวคบวกกับแอตร้าฯที่สลับกันแล้ว เปอร์เซ็นต์​การขัดขวางตัวไวรัส ขึ้นไปได้ถึงสูงทีเดียว แต่ทั้งนี้ความปลอดภัยต้องมาก่อน

จากการศึกษาเรื่องความปลอดภัยเบื้องต้น มีการฉีดวัคซีน​สลับกันแบบนี้ในประเทศไทยมากกว่า 1,200 คนแล้ว ที่ฉีดมากที่สุดคือ รพ.จุฬาลงกรณ์​โดยที่ถูกลงบันทึกในแอพฯหมอพร้อม โดยให้บันทึกอาการข้างเคียงลงไป ปรากฏว่าไม่มีใครในจำนวนนี้มีอาการข้างเคียงรุนแรง เพราะฉะนั้นจึงยืนยันว่าการให้วัคซีนที่สลับกันมีความปลอดภัยในชีวิตจริง ส่วนการศึกษาของเราจะมีการนำออกมาอีกครั้งหนึ่ง ขอให้ผู้ปฏิบัติสบายใจว่า เราไม่ได้มีการฉีดสลับเป็นคนแรก


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"