บอร์ดวัคซีนฯ ให้จัดหาอีก 120 ล้านโดสในปี 65 เผย WHO เปิดกว้างแต่ละประเทศเลือกใช้วัคซีน


เพิ่มเพื่อน    

14 ก.ค.64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติ และนพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงภายหลังการประชุมคณะกรรมการวัคซีนแห่งชาติครั้งที่ 3/2564 โดยนพ.นคร กล่าวว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้มีวาระการพิจารณาที่สำคัญ 2 วาระ วาระแรก ที่ประชุมให้ความเห็นชอบกรอบในการจัดหาวัคซีนโควิด-19 สำหรับประชาชนในปี 2565 เป็นจำนวนอีก 120 ล้านโดส โดยให้มีการจัดหาวัคซีนในรูปแบบ mRNA วัคซีน รูปแบบเวกเตอร์ และรูปแบบอื่นๆที่เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดจำนวนซัพพลายของตัววัคซีน และให้คำนึงถึงวัคซีนที่ตอบสนองต่อการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่จะมีขึ้นต่อไปด้วย

โดยเป้าหมายในการจัดหาเพื่อให้วัคซีนมีเพียงพอสำหรับการฉีดให้กับประชากร ผู้ที่ยังเข้าไม่ถึงวัคซีน และฉีดเพิ่มเติมสำหรับกรณีที่ต้องได้รับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในปีถัดไป รวมทั้งเตรียมสำรองวัคซีนไว้สำหรับการใช้ในกรณีที่เกิดการระบาดด้วย นอกจากนี้ยังมีมติให้กรมควบคุมโรคและสถาบันวัคซีนแห่งชาติเร่งดำเนินการจัดหาวัคซีนสำหรับปี 2564 ให้ได้ตามเป้าหมาย 100 ล้านโดส

นพ.นคร กล่าวอีกว่า เรื่องที่สอง ในส่วนของการพิจารณาตัวร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข ภายใต้มาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ.2561 ในการกำหนดสัดส่วนการส่งออกวัคซีนไวรัสติดเชื้อโคโรนา 2019 ภายนอกราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ซึ่งที่ประชุมได้อภิปรายกันอย่างกว้างขวาง โดยพิจารณาถึงผลกระทบ และความไปได้รวมทั้งยังมีองค์ประกอบอื่นๆที่ต้องมีการพิจารณา ต่อไปข้างหน้าทำให้ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีการออกประกาศดังกล่าว

“โดยเวลานี้มอบให้ฝ่ายเลขานุการ คือสถาบันวัคซีนแห่งชาติ และกรมควบคุมโรค พิจารณาทบทวนในเนื้อหาของร่างประกาศดังกล่าว พิจารณาถึงผลกระทบ และผลประโยชน์ในด้านต่างๆที่จะมีต่อประเทศ และประชาชนเป็นหลัก และให้ดำเนินการเจรจาอย่างเต็มที่กับผู้ผลิตวัคซีน ให้ได้จำนวนวัคซีนที่เหมาะสมกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคภายในประเทศไว้ก่อน และเมื่อได้ผลประการใดก็ให้กลับมารายงานให้ที่ประชุมพิจารณา ทั้งในเรื่องผลการเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนเพื่อให้มีการส่งมอบให้กับประเทศไทย และเนื้อหาของประกาศนั้น เพื่อให้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบต่อไป” นพ.นคร กล่าว

เมื่อถามถึงกรณีนายกรัฐมนตรีให้มีการพิจารณาในเรื่องคำเตือนขององค์การอนามัยโลก ( WHO) ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ นพ.โอภาส กล่าวว่า ไม่ได้มีการพิจารณาในเรื่องนี้ แต่จะมีคณะกรรมการวิชาการตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อแห่งชาติ 2558 อย่างไรก็ตาม WHO เห็นว่าถ้าหน่วยงานสาธารณสุขแต่ละประเทศมีข้อมูลวิชาการสนับสนุน ในการเลือกใช้วัคซีนแบบใดแบบหนึ่งก็ถือว่าสามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ เหตุการณ์ของแต่ประเทศ ไม่ได้บอกว่าถือว่ามีความอันตรายหรือว่าห้ามทำ

เมื่อถามอีกว่าที่ผ่านมาได้มีการกำหนดหรือไม่ว่า วัคซีนแต่ละสัปดาห์ที่เขาจะส่งมาให้เรา หรือแต่ละเดือนจะต้องได้สัดส่วนอย่างน้อยเท่าใด สำหรับวัคซีนที่ผลิตภายในประเทศ นพ.นคร กล่าวว่า เราได้มีการเจรจา และเขาก็ได้บอกแนวทางของการจัดสรรว่าจะให้อยู่ 1 ใน  3 ของกำลังการผลิตที่เกิดขึ้นในประเทศ เพราะยอดการสั่งซื้อของเราอยู่ในประมาณสัดส่วน 1 ใน 3 ของยอดกำลังการผลิตโดยรวมทั้งหมด ซึ่งเขาจะจัดส่งวัคซีคให้ไม่น้อย 1 ใน 3 ของกำลังการผลิตในแต่ละช่วงเวลา เพราะว่าการผลิตวัคซีนไม่ได้มีจำนวนที่ตายตัวในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งขึ้นอยู่กับกำลังการผลิต


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"