สธ. เผยเตียงผู้ป่วยโควิดสีแดงในกทม.ว่าง 10% ยารักษายังมีเพียงพอ


เพิ่มเพื่อน    

14 ก.ค.64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.กรกฤช ลิ้มสมมุติ ผู้อำนวยการกองบริหารการสาธารณสุข และ นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน แถลงข่าวในประเด็นการบริหารจัดการทรัพยากรด้านเวชภัณฑ์อุปกรณ์ทางการแพทยฺ ในสถานการณืโรคโควิด-19 นพ.กรกฤช กล่าวว่า ตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคโควิด-19 ระลอกแรก มีการตั้งศูนย์การบริหารจัดการยาและเวชภัณฑ์ โดยมี นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เป็นประธาน เพื่อบริหารจัดการ 2 เรื่องสำคัญ คือ 1.ยาที่มี 2 รายการหลัก คือ ฟาวิพิราเวียร์ และ เรมเด็บซิเวียร์ และ 2.อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อให้มีการจัดการให้เพียงพอต่อการใช้ในประเทศ

นพ.กรกฤช กล่าวว่า ข้อมูลเมื่อวันที่ 13 ก.ค. มียาเหลือในประเทศ แบ่งเป็น 1.ฟาวิพิราเวียร์ 4,017,781 เม็ด ซึ่งอยู่ในองค์การเภสัชกรรม (อภ.) 2,170,782 เม็ด สำนักงานปลัด สธ. ที่ดูแลภูมิภาค กระจายอยู่ในทุกจังหวัด 1,015,284 เม็ด กรมการแพทย์ ดูแลในกรุงเทพมหานคร 801,567 เม็ด และ กรมควบคุมโรค 30,148 เม็ด และ 2.ยาเรมเด็บซิเวียร์ มีอยู่ใน อภ. จำนวน 1,613 ซึ่งสามารถสนับสนุนให้กับพื้นที่ได้อย่างเพียงพอและยังมีการสนับสนุนผ่านเครือข่ายทุกวัน ซึ่งเป็นไปตามปริมาณใช้จริง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการกระจายทรัพยากรสูงสุด

นพ.กรกฤช กล่าวว่า แผนการจัดหาที่วางไว้เดือนก.ค.-ก.ย.จำนวน 21 ล้านเม็ด อย่างไรก็ตาม เดือนนี้เรามีผู้ป่วยจำนวนมาก จึงจะมีการจัดซื้อรวม 16 ล้านเม็ด เดือนสิงหาคม 2 ล้านเม็ด และ เดือนกันยายนอีก 2 ล้านเม็ด ทั้งนี้ หากมีสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป เราสามารถจัดหาได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการติดต่อไว้กับผู้ผลิตในหลายประเทศ

นพ.กรกฤช กล่าวว่า ในส่วนของอุปกรณ์ป้องกัน 10 รายการ มีการจัดซื้อมาอย่างเสมอภายใต้งบประมาณเงินกู้ โดยเฉพาะก้อนล่าสุดรวม 1,900 ล้านบาท ปัจจุบัน ข้อมูลคงคลังเวชภัณฑ์ เช่น หน้ากาก N95 จำนวน 1.9 ล้านชิ้น ชุดโคฟเวอร์ออล 4.2 ล้านชิ้น อย่างไรก็ตาม เรามีการจัดสรรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้โรงพยาบาลทุกแห่งมีอุปกรณ์ป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลน

ด้าน นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า การบริหารจัดการทรัพยากรเตียง ต้องทำให้ปริมาณเตียงในระดับต่างๆและการนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษามีความสัมพันธ์กัน สำหรับ กทม.พบว่า เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเขียวว่าง 20 ถึง 24%, เตียงสำหรับผู้ป่วยสีเหลืองในหอผู้ป่วยเฉพาะกิจ (Cohort Ward) ว่าง 6% ห้องแยกว่าง 13% และเตียงสำหรับผู้ป่วยสีแดงโดยรวมว่าง 10% ซึ่งการบริหารจัดการในเตียงสำหรับผู้ป่วยแต่ละระดับ คือ การเพิ่มสมรรถนะเตียงสำหรับผู้ป่วยสีเขียวให้สูงขึ้นเพื่อดูแลผู้ป่วยสีเหลืองได้เพิ่มมากขึ้น โดยทดแทนเตียงสำหรับกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว โดยจะมีระบบให้กลุ่มผู้ป่วยสีเขียวสามารถดูแลรักษาที่บ้านหรือที่ชุมชนแทนภายใต้การติดตามอย่างใกล้ชิดและปรับเพิ่มเตียงสีแดงมากขึ้นเท่าที่จะดำเนินการได้ การลดจำนวนผู้ป่วยที่จะกลายเป็นสีแดงเป็นเป้าหมายหลักในการบริหารจัดการ  การจะลดจำนวนผู้ป่วยสีแดงจากการศึกษาข้อมูลพบว่า กลุ่มเสี่ยงได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ และ กลุ่มที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค การระดมฉีดวัคซีนทั้ง 2 กลุ่มนี้ให้ได้มากที่สุดครอบคลุม 80% ของประชากรในกรุงเทพมหานคร จะช่วยให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ มีภูมิต้านทานที่จะลดระดับของความรุนแรงของโรคลงได้

นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า สถานการณ์เตียงในกรุงเทพฯ และทั่วประเทศยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยในพื้นที่กรุงเทพฯเตียงผู้ป่วยสีเขียว รพ.สนามทั้งหมด 2,470 เตียง ว่าง 500 เตียง คิดเป็นเตียงว่างร้อยละ 20 ฮอสปิเทล ทั้งหมด 17,823 เตียง ว่าง 4,201 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 24 ยังมีเตียงว่างสำหรับผู้ป่วยสีเขียว ตอนนี้พยายามปรับให้ฮอสปิเทลให้สามารถดูแลผู้ป่วยสีเหลืองมากขึ้น เพื่อรองรับผู้ป่วยสีเหลืองได้มากขึ้น เพราะฉะนั้นผู้ป่วยสีเขียวจะทดแทนเตียงที่หายไปด้วยการใช้แนวทางโฮม ไอโซเลชั่น (Home Isolation) และ คอมมูนิตี้ ไอโซเลชั่น (Communication Isolation)เตียงผู้ป่วยสีเหลือง COHORT รพ.ทั้งหมด 6,834 เตียง ว่าง 415 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 6 ห้องแยก ทั้งหมด 3,526 เตียง ว่าง 449 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 13 และเตียงผู้ป่วยสีแดง AIIR ทั้งหมด 217 เตียง ว่าง 31 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 14 Modified AIIR ทั้งหมด 538 เตียง ว่าง 49 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 9 Cohort ICU ทั้งหมด 323 เตียง ว่าง 37 เตียงคิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 11

“การที่จะดูแลเตียงสีแดงให้เพียงพอ พยายามจำกัดหรือลดการเจ็บป่วยที่จะกลายเป็นสีแดง เพราะฉะนั้น กลุ่มผู้ป่วยเป็นสีแดงเร็วคือผู้สูงอายุ และ 7 กลุ่มโรค จึงอยากให้มารับวัคซีน เพราะลดความรุนแรงของการเจ็บป่วยได้ในกรณีที่เป็นกลุ่มเสี่ยงนี้ โดย สธ.ปรับยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนในกทม.เพื่อระดมฉีดให้ 2 กลุ่มนี้ ให้ครอบคลุม ร้อยละ 80 ของประชากร 2 กลุ่มนี้ ในกรุงเทพฯ รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ด้วย” นพ.วิฑูรย์ กล่าว

นพ.วิฑูรย์ กล่าวว่า ส่วนทั่วประเทศไม่รวมกรุงเทพฯ จากที่มีคนที่กลับภูมิลำเนา พบว่าภาพรวมประเทศทรัพยากรที่ดูแลผู้ป่วยสีเหลืองลดลงเร็วมาก หมายความคนที่กลับจากกรุงเทพฯ ไปยังภูมิภาคส่วนใหญ่เป็นสีเขียวแก่ถึงสีเหลือง เพราะฉะนั้นจะพยายามดูแลอย่างดีที่สุด เพราะฉะนั้นหลักการเคลื่อนย้ายต้องถูกต้องตามวิธีการและมีหลายภาคส่วนเข้ามาช่วยดูแล หากต้องการเดินทางกลับสามารถติดต่อ สายด่วน 1330 ในการขอกลับภูมิลำเนา จะมีการจัดหารถ การส่งตัวกลับอย่างปลอดภัย กรณีกลับเองจะมีคำแนะนำและไปยังจุดที่กำหนดในแต่ละจังหวัด

นพ.วิฑูรย์ กล่าวอีกว่า ทรัพยากรเตียงและทรัพยากรที่ใช้ดูแลผู้ป่วยสีแดงในภูมิภาคสัดส่วนยังเพียงพอ ยังสามารถดูแลได้เป็นอย่างดี ในส่วนของการดูแลผู้ป่วยสีแดงแต่ละส่วนยังมีเหลือ ร้อยละ 30 ซึ่งสามารถเพิ่มขยายได้ในศักยภาพที่ สธ.ดูแลอยู่ และมีการติดตามให้ทรัพยากรเพียงพอ ในส่วนเตียงผู้ป่วยสีเขียว รพ.สนามทั้งหมด 27,111เตียง ว่าง 11,423 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 42 ฮอสปิเทล ทั้งหมด 13,625 เตียง ว่าง 5,116 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 38 เตียงผู้ป่วยสีเหลือง COHORT รพ. ทั้งหมด 29,795 เตียง ว่าง 5,449 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 18 ห้องแยก ทั้งหมด 15,257 เตียง ว่าง 3,752 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 25 และเตียงผู้ป่วยสีแดง AIIR ทั้งหมด 483 เตียง ว่าง 140 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 29 Modified AIIR ทั้งหมด2,201 เตียง 645 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 29 Cohort ICU ทั้งหมด 868 เตียง ว่าง 267 เตียง คิดเป็นเตียงว่าง ร้อยละ 31

โดบภาพรวม 12 เขตสุขภาพทั่วประเทศ ทั้งหมด 89,337 เตียง ว่าง 26,792 เตียง แยกรายเขต ดังนี้ เขต 1 ทั้งหมด 4,036 เตียง ว่าง 3,067 เตียง เขต 2 ทั้งหมด 4,393 เตียง ว่าง 1,749 เตียง เขต 3 ทั้งหมด 2,115 เตียง ว่าง 387 เตียง เขต 4 ทั้งหมด 14,284 เตียง ว่าง 2,668เตียง เขต 5 ทั้งหมด 11,480 เตียง ว่าง 1,548 เตียง เขต 6 ทั้งหมด 22,947 เตียง ว่าง 7,118 เตียง เขต 7 ทั้งหมด 2,723 เตียง ว่าง 647 เตียง เขต 8 ทั้งหมด 3,609 เตียง ว่าง 1,250 เตียง เขต 9 ทั้งหมด 4,885 เตียง ว่าง 1,385 เตียง เขต 10 ทั้งหมด 3,174 เตียง ว่าง 1,146 เตียง เขต 11 ทั้งหมด 3,901 เตียง ว่าง 2,437 เตียง เขต 12 ทั้งหมด 11,790 เตียง ว่าง 3,390 เตียง

“พบว่าเขตสุขภาพหลายแห่งใช้ทรัพยากรเกิน ร้อยละ 80 ต้องเป็นแผนวางล่วงหน้าในการป้องกันการขาดแคลนทรัพยากรในส่วนของเตียง ส่วนทรัพยากรอื่นๆได้เตรียมไว้อย่างเพียงพอ เพราะฉะนั้นการขาดแคลนทรัพยากจะพยายามไม่ให้เกิดขึ้น ส่วนการบริหารจัดการเตียง ในเขตจะบริหารเตียงอย่างดีที่สุด เพื่อให้เจ้าหน้าที่รพ.สามารถดูแลประชาชนที่มีการติดเชื้อช่วงนี้ และถ้าปฏิบัติตามข้อแนะนำและการควบคุมการเคลื่อนย้ายตามแนวทางที่รัฐบาลได้สั่งการไป เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น” นพ.วิฑูรย์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"