กทม.เปิดแนวทางผู้ป่วยแยกกักตัวที่บ้าน-มีอาหารไปส่งให้ 3 มื้อทุกวัน


เพิ่มเพื่อน    

แฟ้มภาพ

15 ก.ค. 64 - พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า เพื่อเป็นการควบคุม ป้องกันและแก้ไขสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ในพื้นที่กทม.ในปัจจุบัน กทม.จึงได้ร่วมกับเครือข่ายด้านสาธารณสุข และภาคีเครือข่ายอื่นๆ เร่งเพิ่มศักยภาพสถานพยาบาลในสังกัด เพิ่มจำนวนศูนย์พักคอย (Community Isolation) ให้กระจายครอบคลุมทุกพื้นที่ เพื่อนำส่งผู้ติดเชื้อให้เข้าสู่ระบบการรักษาพยาบาลเบื้องต้นให้เร็วที่สุด แก้ปัญหาผู้ป่วยตกค้าง และบรรเทาปัญหาการแพร่กระจายเชื้อให้แก่คนในครอบครัวและคนในชุมชน

นอกจากนี้ กทม.ยังได้กำหนดแนวทางดูแลแยกกัก รักษาตัวที่บ้าน (Home Isolation) เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งให้กับประชาชนที่มีความพร้อม โดยผู้ป่วยที่จะแยกกัก รักษาตัวที่บ้าน ให้โทรแจ้งสายด่วนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 1330 กด 14 หรือแจ้งเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าไปสอบสวนโรค หรือประเมินอาการเบื้องต้น

ทั้งนี้ ผู้ป่วยต้องมีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ ดังนี้ เป็นผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย (เคสสีเขียว) มีอายุน้อยกว่า 60 ปี มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไม่มีภาวะอ้วน (น้ำหนักน้อยกว่า 90 กก.) ผู้ป่วยและคนที่พักอาศัยอยู่ด้วยกันไม่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง (ระยะ 3,4,5) โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้ และโรคอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์ และที่พักอาศัยโดยรวมต้องมีพื้นที่สำหรับผู้ป่วยแยกกักตัวโดยเฉพาะ

โดยในขณะที่แยกกักตัว จะมีอาหารไปส่งให้ 3 มื้อ ทุกวัน เจ้าหน้าที่จะนำอุปกรณ์ติดตามอาการ เทอร์โมมิเตอร์ เครื่องวัดออกซิเจน ยาฟ้าทะลายโจร ยาฟาวิพิราเวียร์ (ตามดุลยพินิจของแพทย์) ไปส่งให้ ณ ที่พัก มีแพทย์ พยาบาล บุคลากรสาธารณสุข ติดตามอาการอย่างใกล้ชิด ผ่านทางวีดีโอคอล หรือโทรศัพท์ วันละ 2 ครั้ง เป็นประจำทุกวัน จนครบระยะเวลา 14 วัน สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมากขึ้น (เปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีแดง) ให้รีบติดต่อเจ้าหน้าที่ตามช่องทางที่กำหนด หรือโทร 1330 เพื่อให้ทีมแพทย์ประเมินแนวทางการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

นอกจากผู้ป่วยรายใหม่ที่เป็นเคสสีเขียวจะสามารถแยกกักรักษาตัวแบบ Home Isolation ได้แล้ว ผู้ป่วยที่เข้าพัก ณ โรงพยาลสนาม Hospitel และโรงพยาบาลที่เข้ารับการรักษามาแล้ว 7-10 วัน สามารถกลับบ้าน แล้วแยกกักรักษาตัวตามแนวทางของ Home Isolation ได้เช่นกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ในส่วนของกทม. โดยสำนักอนามัย ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้จัดทำระบบการดูแลแยกกักรักษาตัวที่บ้าน Home Isolation ผ่านการแพทย์ทางไกล (AMED Telehealth for Home Isolation) ที่ชื่อว่า BKKHICare ทำให้การสื่อสาร และดูแลผู้ป่วยผ่านการแพทย์ทางไกล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ผู้ป่วยมีความมั่นใจเมื่อต้องรักษาตัวอยู่ที่บ้าน
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"