ตามรอยททท.สำนักงานสุรินทร์ ชวนอุดหนุนผ้าไหม-ผลไม้-หลากสินค้าดีจากอีสานใต้


เพิ่มเพื่อน    

สำนักงานททท.สุรินทร์ ชวนเที่ยวทิพย์ผ่านช่องทางออนไลน์และอุดหนุนสินค้าจากผู้ประกอบการในแหล่งท่องเที่ยวทั้งผ้าไหม ผลไม้ อาหารการกิน รวมทั้งชมงานประเพณี เรื่องราวทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ย้ำให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยววิถีใหม่ เน้นความปลอดภัยทางด้านสุขภาพ และมุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการให้ยกมาตรฐานสู่ Sha

 

นางสาวธมลวรรณ เจริญวงศ์พิสิฐ  ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานสุรินทร์ รับผิดชอบพื้นที่สุรินทร์ และศรีสะเกษ  กล่าวว่า ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ที่เกิดขึ้น ทางจังหวัดสุรินทร์ และ จังหวัดศรีสะเกษ  ได้ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัยทางด้านสุขภาพตามมาตรการของจังหวัด ขณะที่ในส่วนของททท.สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ก็ได้ประสานกับผู้ประกอบการท่องเที่ยวในพื้นที่ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นร้านค้า หรือสินค้าชุมชนที่ส่วนใหญ่มีอัตลักษณ์เฉพาะตัว

 

จังหวัดสุรินทร์ และศรีสะเกษ เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นทางด้านวัฒนธรรม โดยเฉพาะเรื่องการทอผ้าไหมซึ่งเริ่มจากการทอในครัวเรือนและสืบทอดกันมาเป็นมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีเอกลักษณ์ลวดลายเฉพาะถิ่นของตนเอง กว่าจะทำได้และชิ้น แต่ละผืนใช้เวลายาวนาน ซึ่งในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19 นั้น ก็ยังมีการทำงานออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นงานที่ต้องใช้คนมีฝีมือ มีทักษะเฉพาะทาง ที่มีอยู่ไม่มากนัก สภาพการทำงานไม่แออัด และบางขั้นตอนคนทำงานนำกลับไปทำที่บ้านได้

 

ผู้อำนวยการททท. สำนักงานสุรินทร์   กล่าวต่อว่า สำหรับสินค้าหัตถกรรมงานผ้าไหมจากพื้นที่ใน 2 จังหวัดของดินแดนอีสานใต้คือในจังหวัดสุรินทร์และศรีสะเกษ ที่ผ่านมาในช่วงภาวะปกติ เป็นแหล่งเรียนรู้ดูงานของนักท่องเที่ยวที่สนใจเข้ามาชมกระบวนการผลิตผ้าไหม ซึ่งมีชื่อเสียงและมีเรื่องราวความเป็นมาน่าสนใจอยู่ในหลายพื้นที่ อาทิ  

 

ผ้าไหมยกทองโบราณ บ้านท่าสว่าง จ.สุรินทร์

 

เริ่มต้นที่ "ผ้าไหมยกทองโบราณ บ้านท่าสว่าง"  จังหวัดสุรินทร์   เกิดจากการริเริ่มของกลุ่มทอผ้ายกทอง “จันทร์โสมา” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการอนุรักษ์และฟื้นฟูการทอผ้ายกทองชั้นสูงแบบราชสำนักไทยโบราณ โดยมี อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย เป็นแกนนำและเป็นผู้รวบรวมชาวบ้านท่าสว่างมารวมกลุ่มกันทำงานทอผ้ายามว่างจากงานไร่งานนา และมีโอกาสทอผ้ายกทองทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

 

เอกลักษณ์ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง บ้านท่าสว่าง เริ่มจากการออกแบบลวดลายที่สลับซับซ้อนงดงามและศักดิ์สิทธิ์ เป็นการผสมผสานกันระหว่างลวดลายการทอแบบราชสำนักกับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นบ้าน จนกลายเป็นผ้าทอที่มีความงดงามอย่างมหัศจรรย์และมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก ผลงานที่โดดเด่นของที่นี่ คือ ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้ทอผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำและผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรสผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจที่มาร่วมประชุมผู้นำเอเปกเมื่อปลายปี 2546 จนเป็นที่รู้จักกันอย่างดีในชื่อ “หมู่บ้านทอผ้าเอเปก” และได้เป็น OTOP ระดับ 5 ดาว ของประเทศ  ผู้สนใจสามารถสอบถามได้ที่ แหล่งผลิต กลุ่มทอผ้ายกทอง จันทร์โสมา บ้านท่าสว่าง อำเภอเมือง จังหวัด สุรินทร์ โทร. 08-9202 -7009, 0 4-4558-4899-0

 

ผ้าไหมสุรินทร์ บ้านท่าสวาย

 

 "ผ้าไหมสุรินทร์ บ้านท่าสวาย " โดดเด่นในการผลิตเส้นไหมน้อย และกรรมวิธีการทอที่ภาษาเขมร เรียก “โซกซัก” มาใช้ในการทอผ้า “ไหมน้อย”เป็นผ้าไหมเส้นเล็ก เรียบ นิ่ม เวลาสวมใส่รู้สึกเย็นสบาย   นอกจากนี้ยังมีกรรมวิธีการทอที่สลับซับซ้อนและเป็นกรรมวิธีที่ยาก ซึ่งต้องใช้ความสามารถและความชำนาญจริง เช่น การทอผ้ามัดหมี่พร้อมยกดอกไปในตัว ซึ่งทำให้ผ้าไหมที่ได้เป็นผ้าเนื้อแน่นมีคุณค่า เพราะมีการทอแบบนี้ที่เดียวในประเทศไทย ผู้สนใจสอบถามได้ที่  วิสาหกิจชุมชนตลาดไหมใต้ถุนเรือน  ที่ คุณสิริญชัย ใจติก โทร 08-7962-3472

 

ผ้าไหมเก็บ บ้านเมืองหลวง อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ

 

 "ผ้าไหมเก็บ บ้านเมืองหลวง " อำเภอห้วยทับทัน  จังหวัดศรีสะเกษ “ เป็นชุมชนที่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมควบคู่ไปกับการทอผ้า ผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงและโดดเด่น คือ ผ้าไหมเก็บ ซึ่งเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงทั้งด้านความสวยงามและความเป็นเอกลักษณ์ เนื่องจากผ้าไหมเก็บเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษสู่ลูกหลาน โดยมีการนำเอาประเพณีและวัฒนธรรมเข้ามาผสมผสานในการผลิต ผ้าไหมแต่ละผืนจึงมีคุณค่าและความหมายเป็นอย่างยิ่ง ผู้สนใจสอบถามได้ที่  กลุ่มผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมบ้านเมืองหลวงโทร 08-5763- 4261 (คุณฉลวย ชูศรีสัตยา)

 

 "ผ้าไหมมัดหมี บ้านหัวช้าง"   อำเภอ อุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ  สำหรับการทอผ้าไหมของที่นี่เริ่มต้นตั้งแต่ปีพุทธศักราชใดไม่แน่นชัด แต่โดยที่บ้านหัวช้าง ที่เป็นชุมชนเผ่าลาว จากประวัติบอกเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน เริ่มแรกเดิมทีจะทอผ้าไหมเป็นจำพวกผ้าไม่มีลาย เช่น ผ้าพื้น ผ้าหางกระรอก ผ้าซิ่นคั่น เป็นต้น

 

จากนั้นได้มีการพัฒนามาสู่ในระยะที่ 2 คือ การนำเอาเส้นไหมมาขึ้นเป็นลำเพื่อมัดหมี่ แต่จำนวนของลำไม่มาก เช่น 3 5 7 9 ลำ แล้วนำเอาวัสดุจากธรรมชาติ คือ ปอกล้วย หรือกาบของต้นกล้วยที่แห้ง มารีดตากแดด แล้วนำมามัดเป็นลาย สันนิษฐานว่า หมี่แรกเริ่มเดิมที คือ หมี่ข้าวสาร หมี่หมากจับ แล้วนำมาย้อมด้วยสีธรรมชาติ เช่น สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากเข สีฟ้าครามได้จากคราม เป็นต้น โดยทางกลุ่มเคยได้รับรางวัลชนะเลิศ จากการประกวดผ้าไหมสวยงาม ประเภทผ้าโสร่ง ในปี พ.ศ. 2527 จากนั้นจนถึงระยะปัจจุบัน ทางกลุ่มได้พัฒนาลวดลายให้มีลวดลาย สีสัน ที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งมีทั้งสีเคมี และสีธรรมชาติ เพื่อให้เป็นที่ต้องการของตลาด และดึงดูดลูกค้าได้หลายกลุ่ม  ผู้สนใจติดต่อ ได้ที่ กลุ่มทอผ้าไหมมัดหมี่ บ้านหัวช้าง   โทรศัพท์  08-4835-3696 (คุณสิทธิศักดิ์ ศรีแก้ว)

 

 "ผ้าไหม ชุมชนท่องเที่ยวบ้านตระกวน"  ต. พิงพวย อ. ศรีรัตนะ จ. ศรีสะเกษ  การทอผ้าของชุมชนแห่งนี้มีเล่าต่อกันมาว่า สมัยก่อนผู้เฒ่าผู้แก่ท่านเล่าว่าไม่มีเสื้อผ้าใส่ ต้องหาใบไม้มาปิดบังร่างกาย ต่อมาได้นำเอาผลฝ้ายมาปั่นจนเป็นเส้น แล้วนำมาทอใส่กันจนเป็นผ้า ภายหลังมาพบตัวไหมที่มีใยเหนียวทำเป็นรังและชอบกินใบหม่อน และมีความทนกว่าผ้าฝ้าย จึงนำมาทอตัดเป็นเสื้อหรือผ้า และทำลวดลายต่าง ๆ โดยย้อมสีธรรมชาติเช่น ย้อมจากแก่นขนุน เปลือกไม้ประดู่ มะเกลือ เป็นต้น

   

ต่อมาจึงมีการคิดค้นลวดลายต่าง ๆ ตามท้องถิ่นของชุมชนบ้านตระกวน ซึ่งเป็นชุมชนชาวเขมรอยู่ติดกับประเทศกัมพูชา ใช้ภาษาเขมรในการสื่อสาร มีโบราณสถาน เช่น เขาพระวิหาร การคิดค้นลวดลายผ้าจึงเป็นลวดลายโบราณโดยนำลักษณะภูมิศาสตร์มาดัดแปลง เป็นผ้าไหมมัดหมี่ตามสถานที่ตั้งของชุมชน  ผู้สนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ชุมชนบ้านตระกวน โทร. 09-1834- 1195

 

 

ผู้อำนวยการททท. สำนักงานสุรินทร์   กล่าวต่อว่า นอกจากเรื่องของการสนับสนุนสินค้าจากแหล่งท่องเที่ยวทางด้านงานหัตถกรรมแล้ว ททท.สำนักงานสุรินทร์ยังนำเสนอเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ  รวมทั้งประเพณีวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในช่วงนี้เช่นเทศกาลเข้าพรรษา   เพื่อให้ประชาชนหายคิดถึง และไม่ลืมเลือนแหล่งท่องเที่ยว อาหารการกิน ผลไม้ ต่างๆ อย่างเช่น ผลไม้ภูเขาไฟในพื้นที่อำเภอขุนหาญ อำเภอกันทรลักษณ์  ในจังหวัดศรีสะเกษ ไม่ว่าจะเป็นทุเรียนหรือผลไม้อื่นอย่างเช่นฝรั่งสด น้ำฝรั่งค้นสดแปรรูป  กล้วยน้ำว้า ซึ่งมีความหลากหลาย เผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ของททท.สำนักงานสุรินทร์  และ ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งผู้บริโภคจากทั่วประเทศ สามารถสั่งซื้อทางออนไลน์ได้เลย ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันสินค้าก็ส่งให้ถึงมือแบบสะดวก

 

หลากผลไม้จากสวนบุญส่ง อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ

 

ผลิตผลจากสวนทุเรียนโกมลแนวบุตร อ.กันทรลักษณ์ จ.ศรีสะเกษ

 

ผู้อำนวยการททท. สำนักงานสุรินทร์   กล่าวต่อว่า  ททท.ยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีใหม่ หรือ New Normal ที่เน้นความปลอดภัยด้านสุขภาพ  เน้นการท่องเที่ยวเป็นกลุ่มเล็กๆ  เว้นระยะห่าง   ย้ำให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยตลอดการเดินทางท่องเที่ยว พกพาอุปกรณ์ป้องกันและฆ่าเชื้อ หมั่นล้างมือให้สะอาด กินร้อนช้อนตัวเอง และปฏิบัติตามกฏระเบียบของแต่ละจังหวัดและสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆตามมาตรฐานสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด

 

รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ เข้าร่วมรับตราสัญลักษณ์ ตามมาตรฐาน โครงการ Amazing Thailand Safety & Health Administration -SHA   ภายใต้ความร่วมมือของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยททท. กับกรมควบคุมโรค กรมอนามัย กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ฯลฯ โดยนำมาตรการความปลอดภัยด้านสาธารณสุขผนวกกับมาตรฐานการให้บริการที่มีคุณภาพของสถานประกอบการ เพื่อสร้างความมั่นใจแก่นักท่องเที่ยวว่า  ทุกคนจะได้รับประสบการณ์ที่ดี มีความสุข และความปลอดภัยด้านสุขอนามัยจากสินค้าและบริการ

 

ทั้งนี้  ผู้สนใจเรื่องราวการท่องเที่ยวและสนใจอุดหนุนสินค้าของชุมชนต่างๆ ในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวสุรินทร์และศรีสะเกษ สามารถติดตามข้อมูลได้จาก Facebook : ททท.สำนักงานสุรินทร์ tat surin และ เว็บไซต์ www .เที่ยวอีสาน.com

สรณะ  รายงาน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"