ฟอร์ดสานต่อโครงการ “เปลี่ยนความรู้...สู่อาชีพ” รุ่นที่ 4


เพิ่มเพื่อน    

ฟอร์ดลงนามความร่วมมือกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ สานต่อโครงการ “เปลี่ยนความรู้...สู่อาชีพ” ประจำปี 2564 สนับสนุนการพัฒนาบุคลากรด้านเทคนิคสายงานช่างเมคคาทรอนิกส์ และช่างยนต์ ผ่านหลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือช่างที่ฟอร์ดออกแบบร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนได้สัมผัสประสบการณ์เรียนรู้จากการทำงานจริง ฟอร์ดมอบทุนการศึกษาและฝึกอบรม จำนวน 11 ทุน รวมมูลค่า 572,000 บาท พร้อมมอบรถกระบะ ฟอร์ด เรนเจอร์ 1 คัน ให้วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบใช้ประกอบการเรียนการสอนเป็นเวลา 3 ปี เพื่อพัฒนาศักยภาพ เสริมสร้างความรู้ ความสามารถ ทั้งในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยมีผู้ได้รับทุนโครงการ “เปลี่ยนความรู้...สู่อาชีพ” ในสายงานช่างเมคคาทรอนิกส์ จากโรงงานฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง (เอฟทีเอ็ม) 3 คน นักเรียนสาขาช่างเมคคาทรอนิกส์ จากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ 3 คน และนักเรียนจากสายงานช่างยนต์ วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ อีก 5 คน 

อรทัย โยธินรุ่งเรือง สุดสงวน ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เปิดเผยว่า เราเริ่มโครงการเปลี่ยนความรู้ สู่อาชีพ กับฟอร์ดมาตั้งแต่ปี 2560 ที่ผ่านมา มีนักเรียนสาขาเมคาทรอนิกส์จบออกไปทำงานแล้ว 28 คน ซึ่งเป็นเรื่องน่ายินดีที่นักเรียนบางส่วนได้ตัดสินใจเข้าร่วมงานกับฟอร์ดทันทีที่เรียนจบ การร่วมโครงการกับฟอร์ดอย่างต่อเนื่องเป็นแรงผลักดันที่ทำให้วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้รับการคัดเลือกเป็นศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ ประจำปีงบประมาณ 2564 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  

 

วินโค้ ซาริค ผู้จัดการโรงงาน ฟอร์ด ไทยแลนด์ แมนูแฟคเจอริ่ง เปดิดเผยว่า ฟอร์ดให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ในประเทศไทยด้วยการมอบความรู้และสร้างทักษะให้กับช่างเมคคาทรอนิกส์ โดยในปีนี้เป็นปีที่ 4 ที่เราจัดโครงการนี้ร่วมกับวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ เรายินดีที่ได้มีส่วนผลักดันให้พนักงานของเรา และนักเรียนจากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบได้เรียนรู้และปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เพื่อสัมผัสและเรียนรู้วัฒนธรรมการทำงานกับครอบครัวฟอร์ดที่โรงงานเอฟทีเอ็ม ซึ่งจะเป็นประสบการณ์ที่สำคัญในการทำงานร่วมกับผู้อื่นต่อไป นอกจากความร่วมมือในการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านเมคคาทรอนิกส์แล้ว ในปีนี้ ฟอร์ดยังได้นำเอาหลักสูตรการฝึกอบรมและพัฒนาช่างยนต์ของฟอร์ด มาออกแบบร่วมกับทางวิทยาลัย และมอบรถฟอร์ด เรนเจอร์ 1 คันให้แก่สถาบันเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอน ซึ่งจะทำให้นักเรียนได้มีโอกาสสัมผัสกับเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในรถยนต์ฟอร์ด 

 

ด้าน วิชิต ว่องวัฒนาการ กรรมการผู้จัดการ ฟอร์ด ประเทศไทย เปิดเผยว่า ปีนี้ยังเป็นปีแรกที่เราทำโครงการนำร่องร่วมกับศูนย์บริการฟอร์ดของผู้แทนจำหน่าย เนื่องจากเราเล็งเห็นโอกาสในการส่งเสริมความรู้และทักษะให้กับนักเรียนสาขาช่างยนต์ โดยนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถสอบเทียบรับรองทักษะช่างระดับ 1 ตามมาตรฐานของฟอร์ด ซึ่งเมื่อเรียนจบแล้วนักเรียนจะมีโอกาสเข้าทำงานที่ศูนย์บริการฟอร์ดของผู้แทนจำหน่ายได้ทันที ผู้ที่ได้รับทุนในสาขาช่างเมคคาทรอนิกส์ จะได้ฝึกฝนและพัฒนาทักษะการเป็นช่างเทคนิคในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเข้มข้นจากวิทยากรมืออาชีพ ทั้งในห้องเรียน และจากการปฏิบัติงานจริง ส่วนผู้ที่ได้รับทุนในสาขาช่างยนต์จะเรียนทฤษฏีเกี่ยวกับการซ่อมบำรุงรถยนต์ในห้องเรียน ฝึกการปฏิบัติงานกับรถยนต์ฟอร์ดที่ทางโรงงานมอบให้ และยังมีโอกาสได้ทดลองฝึกงานจริงที่ศูนย์บริการฟอร์ดที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง ภายใต้การแนะนำของช่างผู้เชี่ยวชาญ ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับทุนจะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาตามโครงสร้างหลักสูตรและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรม โดยผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมจะได้รับใบรับรองและประกาศนียบัตรจากฟอร์ด และได้รับวุฒิการศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง จากวิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 

 

แกลลอรี่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"