สธ. เผยแอสตราฯส่งวัคซีนอย่างน้อย 5 ล้านโดสต่อเดือน หากกำลังผลิตมากจะส่งเพิ่มขึ้น


เพิ่มเพื่อน    

20 ก.ค.64 - ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการแถลงข่าวมาตรการล็อกดาวน์เพื่อป้องกันควบคุมโรค โดย นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ได้เผยถึงแผนการฉีดวัคซีนในประเทศไทยว่า สำหรับการลงนามระหว่างกรมควบคุมโรคกับ บริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จํากัด และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ที่มีการลงนามเซ็นสัญญาอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2563 เป็นการทำสัญญาระหว่างภาครัฐกับเอกชน ในสัญญามีการระบุว่า ผู้ที่ลงนามในสัญญาจะต้องไม่เปิดเผยความลับในสัญญา แต่หากต้องเปิดเผยสัญญาจะต้องได้รับความยินยอมจากทั้ง 3 ฝ่าย มิเช่นนั้นจะเป็นการทำผิดสัญญา นำไปสู่การยกเลิกสัญญา โดยเบื้องต้นในสัญญาการส่งมอบ ซึ่งยังไม่มีวัคซีนจึงไม่มีการระบุจำนวนการส่งมอบที่ชัดเจนต่อเดือน แต่จะเป็นการเจรจากันเดือนต่อเดือน ในส่วนจำนวนวัคซีนที่จองตามในสัญญาคือ  61 ล้านโดส การส่งมอบก็มีเอกสารชัดเจนว่ากระทรวงสาธารณสุขต้องการวัคซีนที่จะฉีดในระยะต่อไปจำนวน 10 ล้านโดส ซึ่งขณะนี้ทางบริษัทแอสตร้าฯ ได้แจ้งว่าอย่างน้อยจะส่งให้เดือนละ 5 ล้านโดสเป็นอย่างต่ำ หากกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็อาจจะส่งให้เพิ่มขึ้นด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาในครั้งต่อไป

นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า ส่วนวัคซีนไฟเซอร์ที่ได้รับบริจาคจากสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส จะมาถึงประเทศไทยในปลายเดือนนี้ ที่คาดว่าจะเริ่มฉีดได้ในช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2564 ส่วนการจัดสรรกลุ่มเป้าหมายในการได้รับวัคซีน ขณะนี้ทางกระทรวงสาธารณสุข ความเห็นชอบของ ศบค.ได้กำหนดดังนี้ 1.กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด่านหน้าที่ฉีดวัคซีนไปแล้ว เพื่อฉีดบูสเตอร์โดส 2.กลุ่มผู้อายุและกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ระบาด 3.ชาวต่างชาติกลุ่มเสี่ยง ในพื้นที่ระบาด ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนจัดการมีการสอบถามข้อมูลแต่ละจังหวัดได้แจ้งยอดกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขด้านหน้าที่ใกล้ชิดดูแลผู้ป่วยโควิด19

นพ.โอภาส ย้ำว่า ตั้งเป้าในเดือนต่อไปต้องฉีดวัคซีน 10 ล้านโดสต่อเดือน ดังนั้นหลังจากที่มีการสั่งจองวัคซีนและมีการนำเข้า สิ่งสำคัญคือผลการใช้วัคซีน ตัวอย่างผลการศึกษาที่มีการใช้จริงสำหรับวัคซีนซิโนแวคในหลายพื้นที่ อาทิ ภูเก็ต สมุทรสาคร เชียงราย รวมทั้งกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง บุคลากรทางสาธารณสุข อย่างภูเก็ต ที่มีการฉีดวัคซีนในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2564 ประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถลดการติดเชื้อหลังจากที่ฉีดครบ 2 เข็มไปแล้ว 2 สัปดาห์ถึงร้อยละ 90 เป็นตัวยืนยันได้ว่าวัคซีนซิโนแวคตอนที่ได้นำเข้ามาใช้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคโควิด19 ได้ค่อนข้างดีจากการใช้จริง

อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ที่มีการแพร่ระบาดในขณะนั้นคือ สายพันธุ์อัลฟา ต่อมามีการระบาดของโควิด19 ในสมุทรสาครจากการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง พบว่า ประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอยู่ที่ประมาณร้อยละ 90 เช่นเดียวกัน จะเห็นวัคซีนซิโนแวคในช่วงต้นที่ได้นำเข้ามาใช้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อค่อนข้างดี แต่ในขณะนี้ไม่มีวัคซีนใดที่มีประสิทธิภาพป้องกันได้ 100% 

นพ.โอภาสกล่าวต่อว่า ในเดือนมิถุนายน 2564 เริ่มมีการระบาดในบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดเชียงราย ผลการติดตามบุคลากรที่ฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว พบว่าไม่ติดเชื้อร้อยละ 82 จะเห็นว่าประสิทธิภาพเริ่มลดน้อยลงหลังจากช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน แต่ก็อยู่ในระดับที่น่าพอใจ การวิจัยของกรมควบคุมโรคที่รวบรวมผลการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุขทั้งหมดในเดือนพฤษภาคม พบว่า ป้องกันการติดเชื้อได้ร้อยละ 70 ก็ยังถือว่ามีประสิทธิภาพได้ดีพอสมควร

แต่มีข้อสังเกตหนึ่งที่พบคือ ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อเริ่มลดน้อยลงเนื่องจากเชื้อมีการกลายพันธุ์ เพราะฉะนั้นต้องมีสาเหตุที่เราต้องวัคซีนหรือหาวิธีในการป้องกันการติดเชื้อโควิด19 ให้ดีขึ้น เป็นที่มาของการปรับสูตรฉีดวัคซีน ขณะนี้มีการศึกษาในหลายหน่วยงานทั้งจุฬาฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บ.ไบโอเทค ก็พบถ้าหากมีการนำวัคซีนซิโนแวค เป็นเข็มที่ 1 จากนั้น 3-4 สัปดาห์ ก็จะฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาเป็นเข็มที่ 2 จะทำให้ประสิทธิภาพของการป้องกันโรค เมื่อเทียบกับการฉีดวัคซีนแบบเดิมคือ ฉีดซิโนแวค 2 เข็มสูงขึ้นประมาณหลายเท่า หรือจากเดิมต้องฉีดแอสตราฯโดยต้องฉีดเข็ม 2 ห่างจากเข็มแรกประมาณ 12 สัปดาห์ ซึ่งการปรับสูตรนี้จะทำให้การป้องกันควบคุมโรคดีขึ้น และทำให้การฉีดวัคซีนครอบคลุม รวดเร็วมากยิ่งขึ้น


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"