วิกฤติ 'ตำรวจฆ่าตัวตาย'  แรงกดดัน 'งาน-นาย'


เพิ่มเพื่อน    

           

ปัญหา "ตำรวจฆ่าตัวตาย" กำลังกลายเป็นวิกฤติใหญ่ ท้าทายผู้นำสีกากี "บิ๊กแป๊ะ" พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ต้องเร่งรีบหาวิธีแก้ไข ป้องกันอย่างเร่งด่วน

            เพราะเพียงแค่ไม่ถึง 10 วัน ที่ "สำนักงานตำรวจแห่งชาติ" โดยโรงพยาบาลตำรวจ เปิดตัวเฟซบุ๊กแฟนเพจ "Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ" เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารกับข้าราชการตำรวจและครอบครัวเพื่อช่วยเหลือและให้คำปรึกษาปัญหาโรคซึมเศร้า พร้อมเปิดตัวทีมแพทย์จิตเวชและสายด่วนที่พร้อมจะให้คำปรึกษารวมถึงวิธีการสังเกตตัวเองและคนรอบข้างที่มีแนวโน้มจะเป็นโรคซึมเศร้า แก้ปัญหาการฆ่าตัวตายของตำรวจ

          ก็มี "ตำรวจ" ฆ่าตัวตายไปแล้วถึง 2 ราย!!!!

            ต้องยอมรับว่า "ตำรวจ" ถือเป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงในการฆ่าตัวตายสำเร็จมากกว่าอาชีพอื่น เนื่องจากตำรวจมีอาวุธปืนอยู่ในมือ เข้าถึงอาวุธ โอกาสฆ่าตัวตายสำเร็จ จึงสูงกว่าประชาชนทั่วไป โดยพบว่าแต่ละปีมีข้าราชการตำรวจยิงตัวตายเพิ่มมากขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง

           จากสถิติตั้งแต่ปี 2551-2559 พบมีข้าราชการตำรวจทั้งชั้นประทวนและสัญญาบัตรก่อเหตุฆ่าตัวตายจำนวน 299 คน!!!!

            ยิ่งตามภาระหน้าที่ "ตำรวจ" มีความเสี่ยงสูง ต้องเผชิญเหตุการณ์ปราบปรามอาชญากรรมโจรผู้ร้าย แรงกดดันอย่างตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ล้วนมีภาวะความเครียดสูง รวมทั้งปัญหาครอบครัว การเงิน หรือแม้กระทั่งถูกผู้บังคับบัญชากดดันในเรื่องงาน สำนวนค้าง การแต่งตั้งโยกย้าย ล้วนแต่เป็นสาเหตุให้ตำรวจคิดฆ่าตัวตายเพื่อหนีปัญหาเมื่อถึงทางตันทั้งสิ้น

            เมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ารักษาตัวที่คาดว่าเข้าข่ายจะเป็นโรคซึมเศร้าถึง 511 นาย และผลการตรวจพบเป็นโรคซึมเศร้าที่ต้องรักษาจำนวน 171 นาย

            แม้สำนักงานตำรวจแห่งชาติจะเปิดเฟซบุ๊กแฟนเพจ “Depress We Care ซึมเศร้าเราใส่ใจ” เพื่อแก้ไขปัญหาความเครียด อันจะนำไปสู่การฆ่าตัวตายของตำรวจ แต่ก็ดูเหมือนว่าสถานการณ์ต่างๆ ยังไม่มีดีขึ้น เพราะเพียงแค่ไม่ถึง 10 วัน ก็เกิดเหตุแล้วถึง 2 ราย

            รายแรก .ต.ท.บรรหาร กองพิมพ์ ผบ.ร้อย กก.4 บก.กฝ.บช.ตชด. นั่งอยู่โต๊ะทำงานภายในบริเวณกองร้อยที่ 3 กก.4 บก. กฝ.บช.ตชด. ค่ายเสนีย์รณยุทธ ถนนอุดร-สกล ต.หนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี ใช้อาวุธปืนขนาด 9 มม.ของตนเองยิงศีรษะเสียชีวิต ล่าสุด ดาบศุภวัฒน์ ผบ.หมู่(ป) สภ.เมืองเพชรบูรณ์ ทำหน้าที่สายตรวจจักรยานยนต์ ป่วยด้วยโรคเครียด ใช้อาวุธปืนยิงศีรษะตัวเองเสียชีวิต

            จน "ผบ.แป๊ะ" มีคำสั่งไปยังผู้บังคับชาทุกหน่วย ให้คอยสอดส่อง ดูแลพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ใต้บังคับบัญชา หมั่นให้ความใส่ใจ ซักถาม ทำความเข้าใจ และดูแลช่วยเหลือกับปัญหาของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างใกล้ชิด

            นอกจากนี้ พล.ต.ท.นพ.วิฑูรย์ นิติวรางกูร นายแพทย์ใหญ่โรงพยาบาลตำรวจ แนะนำให้ข้าราชการตำรวจที่รู้ว่าตัวเองอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าหรือตกอยู่ในภาวะเครียดที่ไม่สามารถหาทางออก ให้ติดต่อมาที่เพจ จะมีเจ้าหน้าที่จิตเวชคอยให้คำปรึกษา หรือถ้าใครต้องการให้โทรกลับก็สามารถฝากเบอร์ไว้ที่อินบ็อก เจ้าหน้าที่จะโทรกลับไปหาให้คำปรึกษาเข้าถึงโดยตรงอย่างเป็นความลับ ผู้บังคับบัญชาหรือสังคมภายนอกหรือแม้แต่ญาติจะไม่ทราบ

            ที่สำคัณคุณหมอใหญ่ยืนยัน...ทานยา 6 เดือน สามารถหายเป็นปกติเหมือนโรคทั่วไป!!!

            ดังนั้น การแก้ปัญหาตำรวจฆ่าตัวตายจากนี้ไป ดูท่า "บิ๊กแป๊ะ" คงต้องเร่งมาตรการเชิงรุกเพิ่มมากขึ้น โดยอาจต้องให้ทีมแพทย์โรงพยาบาลตำรวจลงพื้นที่ไปตามแต่ละกองบัญชาการ เพื่อแนะนำและแก้ปัญหาความเครียดให้กับตำรวจ มากกว่าที่จะตั้งรับรอให้ตำรวจที่มีปัญหาติดตามมา น่าจะช่วยแก้ปัญหาให้ตำรวจได้มากขึ้น

            ที่สำคัญเหนืออื่นใด สิ่งที่ผู้บังคับบัญชาจะแก้วิกฤติ "ตำรวจฆ่าตัวตาย" ก็คือ ต้องไม่ไปสร้างปัญหาให้กับลูกน้อง โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้ายแบบผิดฝาผิดตัว แบบค่าของคนอยู่ที่คนของข้า ก็น่าจะช่วยให้วิกฤติตำรวจฆ่าตัวตายลดน้อยลงได้.                                   

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"