เผยผลใช้Antigen Test Kit ตรวจในกทม.พลาดแค่  3%


เพิ่มเพื่อน    


22 ก.ค.64  ที่กระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวการตรวจหาเชื้อโควิด19 ด้วยชุดตรวจ  Antigen Test Kit ( ATK) โดยนพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) เผยว่า  ตั้งแต่วันที่ 12 กรกฎาคมเป็นต้นมา ทางกระทรวงสาธารณสุข ได้มีนโยบายที่จะใช้ชุดตรวจอย่างรวดเร็ว หรือ ATK มาตรวจคัดกรองกรณีผู้ป่วยสงสัยโควิด19 โดยในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ร่วมกับ กทม. และ สธ. ทดลองนำร่องในการตรวจในชุมชนกว่า 50,000 ราย พบว่าได้ผลบวกประมาณกว่า 10% โดยมีการนำไปเทียบกับการตรวจมาตรฐาน RT-PCR ก็พบว่ามีการตรวจผิดพลาดไปไม่เกิน 3% ทำให้ชุดตรวจ ATK ใช้ได้ผลดี และในสัปดาห์นี้มีมติในการขยายเพิ่มชุดตรวจ ATK ไปยังประชาชนในกลุ่มเสี่ยงบางส่วนให้ตรวจเอง ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดหา และทางกรมควบคุมโรคก็จะวางแผนในการกระจายชุดตรวจ ATK 

“ทั้งนี้หากประชาชนตรวจคัดกรองโควิด19 ด้วยชุดตรวจ ATK แล้วมีผลบวก ก็จะนำเข้าสู่ระบบ Home Isolation สำหรับสถานที่ในการนำชุดตรวจ ATK ไปใช้เบื้องต้นได้มีการนำร่องประสานกับคลินิกชุมชนอบอุ่นและสถานพยาบาลที่อยู่ในกทม. ประมาณกว่า 200 แห่ง และศูนย์บริการสาธารณสุขที่มี 69 แห่ง เพราะจุดเด่นของชุดตรวจ ATK คือ ไม่จำเป็นต้องตรวจโดยโรงพยาบาล สามารถตรวจได้โดยศูนย์หรือหน่วยบริการต่างๆ” นพ.จเด็จ  กล่าว   

ด้าน นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษากระทรวงสาธารณสุข และโฆษกกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ใน กทม.ระบบบริการสุขภาพขั้นปฐมภูมิ หรือคลินิกใกล้บ้าน นอกจากจะมีศูนย์บริการสาธารณสุข ส่วนใหญ่ก็จะเป็นภาคเอกชนร้อยละ 70  ขณะนี้ยังมีหน่วยบริการเชิงรุกลงพื้นที่ดูแลประชาชนในระดับชุมชน หรือ ทีม Comprehensive Covid-19 Response Team (CCRT) กว่า 200 ทีม รวมถึงพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย ในการตรวจเชิงรุกและดูแลประชาชนที่ป่วยรักษาอยู่บ้าน  ซึ่งชุดตรวจ ATK เป็นเครื่องมือสำคัญในการคัดกรองโควิด19 ในชุมชน เพราะทราบผลเร็วประมาณ 15 นาที และสามารถทำเองได้ โดยทางทีมจะมีการอธิบายว่าชุดตรวจมีข้อดีอย่างไร หรือสอนใช้ไม้ swab ในการเก็บตัวอย่างบริเวณโพรงจมูก และนำมาจุ่มลงในชุดตรวจ คลายกับที่ตรวจการตั้งครรภ์ โดยในชุดตรวจ ATK ก็จะมีฉลากคำอธิบายวิการใช้ประกอบอยู่ด้วย ซึ่งมีการกระจายถึงระดับคลิกนิกชุมชนอบอุ่น โรงพยาบาลต่างๆ ศูนบริการสาธารณสุข และทีมในการใช้ตรวจเชิงรุก 

นพ.รุ่งเรือง กล่าวต่อว่า  เมื่อใช้ชุดตรวจ ATK ในกรณีพบผลเป็นบวกจากการตรวจเอง ต้องประสานสายด่วน 1330 กด 15 อาการรุนแรงโทร 1669 เพื่อเข้าสู่ระบบการรักษา รวมไปถึงการดูแลตัวเองในเบื้องต้น หรือในกรณีที่มีทีมแพทย์เชิงรุกเข้าไปตรวจ ผลเป็นบวก ก็จะมีการประเมินอาการว่ามีความจำเป็นในการเร่งเข้าสู่สถานพยาบาลหรือไม่ เช่น ผู้ที่ตรวจผลเป็นบวก มีอาหารหอบเหนื่อย เป็นไข้ ก็จะนำส่งโรงพยาบาลเพื่อดูแลรักษาอย่างรวดเร็ว ส่วนในกรณีที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ ถ้าผลเป็นบวกก็จะมีการดูแลผ่านระบบ Home Isolation หรือโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วยที่มีอาการไม่มากนัก ก่อนจะเข้าสู่โรงพยาบาลเพื่อรักษาก็จะตรวจยืนยันด้วย RT-PCR อีกครั้ง ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK แล้วเป็นลบ ก็ยังต้องปฏิบัติตนและป้องกันตนเองอย่างเข้มงวดตามาตรการเช่นเดิม เพราะสถานการณ์การแพร่เชื้อก็ยังมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอยู่ และอาจจะตรวจซ้ำอีกโดยเว้นระยะเวลา 3-5 วัน 

นพ.รุ่งเรือง กล่าวอีกว่า จากเดิมที่ใช้การตรวจ RT-PCR ซึ่งต้องใช้เวลา ไม่ว่าจะเป็นการเก็บตัวอย่าง หรือต้องใช้บุคลากรที่เชี่ยวชาญในการตรวจ หรือมีการตรวจผลอีกในห้องปฏิบัติการ อาจจะใช้เวลา 1-2 วัน จึงไม่รวดเร็วพอในการดูแลผู้ป่วย ปัจจุบันและอนาคตอันใกล้ ชุดตรวจATK ในขณะนี้มีการกระจายไปยังร้านขายยาต่างๆ ทั่วพื้นที่ หรือมีขายในออนไลน์ ทาง สธ. จึงแนะนำว่าอยากให้ไปซื้อที่ร้านขายยามากกว่าหรือแหล่งที่เชื้อถือได้ เพราะมีการนำชุดตรวจจากแหล่งอื่นเข้ามาอาจจะไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีมาตรฐาน หรือไม่สามารถใช้ได้ เพราะผลตรวจจะมีความถูกต้องมากที่สุดนั้น ขึ้นอยู่กับว่าเป็น 1.กลุ่มเสี่ยงหรือไม่ 2.เป็นกลุ่มเสี่ยงแล้วมีอาการ  

“อย่างไรก็ตามชุดตรวจดังกล่าวก็มีข้อจำกัด เช่น อาจจะเป็นผลบวกปลอม หมายความว่าไม่ได้ติดเชื้อ แต่ผลการตรวจมาตรฐานบอกเป็นบวก ซึ่งยังพบในจำนวนไม่มาก จากการใช้ชุดตรวจ ATK ที่ไม่ได้มาตรฐาน  หรือผลลบปลอม เพราะในระยะแรกปริมาณเชื้อไวรัสยังน้อยมาก แต่เมื่อพิจารณาแล้วตัวเองมีประวัติเสี่ยง ก็อาจจะต้องเว้นระยะเวลาตรวจซ้ำอีกครั้ง และสิ่งสำคัญในการตรวจ ไม่ใช่ว่าทุกคนมีความจำเป็นต้องตรวจ ตัวอย่าง ในชุมชนที่มี 200 คน ไม่จำเป็นต้องตรวจครบทุกคน แต่จะประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนใกล้ชิดติดเชื้อโควิด19 มีการสัมผัสใกล้ชิดกัน อยู่ในพื้นที่เสี่ยงแล้วมีอาการจาม ไข้ ไอ เป็นหวัด เป็นต้น” นพ.รุ่งเรือง ย้ำ 

นพ.รุ่งเรือง กล่าวเสิรมอีกว่า สำหรับยาที่ต้องใช้ดูแลผู้ป่วยในระบบ Home Isolation ได้มีการเตรียมยาและเครื่องมือ 1 ชุด ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ฟ้าทะลายโจร เครื่องวัดออกซิเจน ปรอทวัดไข้ ที่จะมีการดูแลบริหารจัดการครอบคลุมทุกพื้นที่และเพียงพอ ส่วนในสถานการณ์เตียงดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด19 ทั้งสีแดง คือ ผู้ป่วยอาการรุนแรง สีเหลือง คือ ผู็ป่วยที่ใช้เครื่องออกซิเจน ใน 2 ระดับดังกล่าว อัตราคลองเตียงมากกว่า 95% ซึ่งในการรับผู้ป่วยเพิ่มจึงมีจำกัดมากๆที่เหลือเตียงรองรับได้เพียง 5%  และเตียงสีเขียว คือ ผู้ป่วยที่ไม่อาการไม่รุนแรง ก็จะปรับเปลี่ยนมาเป็นเตียงสีแดงและสีเหลือง จึงแก้ไขปัญหาด้วย  Home Isolation ซึ่งการดูแลลักษณะนี้จะทำให้ในระยะต่อไป ผู้ป่วยอาการรุนแรงก็จะมีอัตราเตียงว่างมากขึ้น และจากที่มีข่าวเผยแพร่ว่าโรงพยาบาลเอกชนบางแห่ง เรียกรับเงินล่วงหน้าเพื่อแลกกับเตียงรักษาในโรงพยาบาลนั้นๆ ซึ่งทาง สธ.รับทราบโดยจะดำเนินการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด และภาคเอกชนที่ทำตามเหตุการณ์นั้นขอให้ยุติ เพราะสถานการณ์ภาพรวมของเตียงในพื้นที่ กทม. ร้อยละ 70 อยู่ในภาคเอกชน และร้อยละ 30 อยู่ในภาครัฐ ดังนั้นในส่วนเตียง ร้อยละ 70 จะไม่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้น หากเกิดขึ้นกับประชาชนขอให้ร้องเรียนเข้ามาที่สายด่วย สธ. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"