สสวท. พัฒนา Project 14 แก้ปัญหาเรียนออนไลน์พลิกวิกฤตเป็นโอกาส 


เพิ่มเพื่อน    

 
4ส.ค.64- คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้จัดการเสวนาหัวข้อ “เรียนวิทย์-คณิต บนฐานสมรรถนะด้วยสื่อดิจิทัล Project 14” ออนไลน์ผ่านโปรแกรม zoom และซึ่งมีผู้ร่วมรับฟังกว่า 1,000 คน โดยมีศึกษานิเทศก์และครูร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ว่า จากปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 กระทบกับการเรียนของนักเรียน สสวท. จึงได้จัดทำ Project 14 เป็นสื่อดิจิทัลเพื่อแก้ปัญหาการเรียนออนไลน์ โดย Project 14 ประกอบด้วยคลิปการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี 2,000 คลิปครบทุกช่วงชั้น ตรงตามหลักสูตร เชื่อมโยงกับชีวิตจริง มีตัวอย่างหรือแอนิเมชันช่วยอธิบายเนื้อหา ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย ครูจึงสามารถใช้สอนได้สะดวก นักเรียนเข้าใจง่าย ช่วยแบ่งเบาภาระครู สามารถเรียนได้ทุกที่ทุกเวลา จึงลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงความรู้ได้ และนับเป็นครั้งแรกที่ สสวท. เปลี่ยนตำราเรียนไปเป็นดิจิทัลซึ่งมีถึง 2,000 คลิป ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา สร้างประชากรคุณภาพ ได้เหมาะกับศตวรรษที่ 21 ทั้งนี้สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะได้แนะนำ Project 14 ให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครู บุคลาการทางการศึกษา และบุคคล ให้ได้รู้จัก ได้เห็นถึงประโยชน์ และสามารถนำเอาสื่อดิจิทัล Project 14 ที่ สสวท. ได้ตั้งใจจัดทำขึ้นไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมและ นำไปประยุกต์ใช้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนได้ในทุกสถานการณ์

ด้านนายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ปลัด ศธ.) กล่าวว่า ศึกษานิเทศก์มีบทบาทสำคัญต่อการขับเคลื่อนการเรียนการสอน เป็นเทรนเนอร์ให้คำแนะนำ เติมเทคนิคใหม่ ๆ ในกระบวนการทำงานการเรียนการสอน ซึ่งยุค นิวนอร์มัลนี้ เครื่องมือการจัดการเรียนการสอนทางไกลเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยดึงดูดสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ทั้งยังช่วยลดภาระให้ครู และยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรววงศึกษาธิการ และสพฐ. ที่ได้พยายามผลักดันและส่งเสริมแนวทางการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่มาโดยตลอด เพื่อพัฒนาประชากรในวัยเรียนรู้ให้เติบโตขึ้นอย่างมีสมรรถนะ และพร้อมปรับตัวกับทุกความท้าทายในโลกยุคนิวนอร์มัล ด้วย และที่ สสวท. ได้พัฒนา Project14 เป็นสื่อดิจิทัลที่มีการจัดการนำเข้าการเรียนการสอนใหม่และมีวิธีนำเสนอที่แตกต่าง รวมทั้งมีบทเรียนและยกตัวอย่างเฉพาะเรื่อง อีกด้วย

ด้านนายชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กล่าวว่า Project 14 เป็นการทำคลิปการสอนทุกเรื่องที่ สสวท.รับผิดชอบตั้งแต่ ป.1- ม.6 แต่ละคลิปยาวประมาณ 15 - 20 นาที เหมาะกับการรับรู้ของเด็ก ครูสามารถหยิบใช้ได้เลย ช่วยลดภาระให้ครูและเพิ่มความเข้าใจให้นักเรียน โดยเนื้อหาที่ยากต่อการจินตนาการเช่น เครื่องจักร หรือภายในเซล สสวท. ก็ใช้แอนิเมชั่น 3 มิติ ช่วยอธิบายให้เข้าใจง่ายขึ้น อย่างไรก็ตาม โควิด - 19 เป็นทั้งวิกฤติและโอกาส โดยสำหรับเด็กที่เข้าถึงคลิปจะเป็นโอกาสในการรับการเรียนการสอนฐานสมรรถนะเพราะคลิปจัดทำโดยผู้ออกแบบหลักสูตร เด็กได้เข้าใจเนื้อหาที่คนวางบทเรียนอยากให้เข้าใจ พัฒนาเป็นนักวิชาชีพฐานดี สร้างความเท่าเทียมในการเรียน เพราะอยู่ที่ไหน ก็เข้าถึงได้ เด็กได้เห็นตัวอย่างการเรียนการสอนที่เหมือนกัน มีโอกาสเข้าถึงคุณภาพการศึกษาได้

"นอกจากนี้ Project 14 ยังถูกออกแบบให้มีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการวัดผลและประเมินผลในยุคปัจจุบัน ตามแนวทาง PISA และข้อสอบประเมินผลทางการศึกษาต่าง ๆ ที่พัฒนาขึ้นโดย สสวท. ซึ่งมุ่งเน้นไปที่แนวทางการจัดการเรียนรู้ฐานสมรรถนะ ให้ผู้เรียนมีความฉลาดรู้ มีสมรรถนะในการดำรงชีวิตในโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาโดยวัดการเชื่อมโยงความรู้ การประยุกต์ใช้ข้อมูล การคิดวิเคราะห์ และกระบวนการแก้ปัญหา มากกว่าการท่องจำเพียงทฤษฎีเพื่อนำไปสอบโดยไม่สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ Project 14 จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกที่ช่วยกระตุ้นให้การศึกษาไทยเกิดการปรับรูปแบบไปสู่การเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการ เน้นการคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา"ผอ. สสวท. กล่าวและว่า สสวท. ได้ดำเนินการนำวีดิทัศน์ Project 14 เข้าสู่โครงการในพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจัดทำในรูปแบบ USB Drive ที่ใช้ต้นทุนน้อย แต่มีมูลค่าสูงทางการศึกษา ช่วยบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และนำพาประเทศไทยสู่ความปกติใหม่ทางการศึกษาอย่างเท่าเทียม


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"