'เข็มขัดดูดซับความชื้น ท่อนอ้อยระยะแรกปลูก' ผลงานเด็กไทย คว้ารางวัลสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมอนุรักษ์น้ำ Stockholm


เพิ่มเพื่อน    

 

25ส.ค.64- คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ แสดงความชื่นชมนักเรียน ม.4 โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ หลังคว้ารางวัล The Winner of Diploma of Excellence ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมการอนุรักษ์น้ำ Stockholm Junior water prize 2021 (SJWP 2021) สร้างเข็มขัดดูดซับความชื้น เพิ่มธาตุอาหารให้แก่ท่อนพันธุ์อ้อยระยะแรกปลูก และประหยัดน้ำในการเพาะปลูกแม้ในพื้นที่แห้งแล้ง สนับสนุน SDGs และโมเดล BCG Economy ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ประเทศสวีเดน

            คุณหญิงกัลยา ได้ร่วมแสดงความยินดีผ่านระบบ Zoom กับนักเรียนไทยทั้งสองคนทันทีที่ทราบผลการตัดสินในคืนวันที่ 24 สิงหาคม 2564 เวลาประมาณ 20.00 น ของประเทศไทย โดยมีผู้บริหารจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เข้าร่วมด้วยพร้อมด้วยทีมโฆษกกระทรวงศึกษาธิการ ฝ่ายการเมืองและตัวแทนคุณครูจากโรงเรียนดังกล่าว


                โดยคุณหญิงกัลยาเปิดเผยว่า จากการที่สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)  ได้คัดเลือกนักเรียนไทย  2 คน จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วม การประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม  ในการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ Stockholm Junior Water Prize 2021 (SJWP 2021) ในงาน World Water Week  ณ กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน ซึ่งจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ระหว่างวันที่ 23- 27 สิงหาคม 2564 และนักเรียนผู้แทนประเทศไทยทั้งสองคน คือ นายธนวิชญ์ น้ำใจดี และนายฟิวเจอร์ คงชู ได้คว้ารางวัล The Winner of Diploma of Excellence จาก ผลงานวิจัยชื่อ   “Bio-Moisture-Nutrient Absorbing Belt for Promoting the Sugarcane Seedlings Growth from the Local Waste” หรือ เข็มขัดดูดซับความชื้นและให้ธาตุอาหารจากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน เพื่อการดูแลท่อนพันธุ์อ้อยระยะแรกปลูก  ถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศ ตัวนักเรียน ครอบครัว ครูผู้สอน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพราะน้ำ และสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งยวด โดยเฉพาะเรื่องสิ่งแวดล้อมที่ถือเป็นเทรนด์สำคัญของโลก

               ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ  ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวยการ สสวท. กล่าวว่า สสวท. โดยฝ่ายโลกศึกษาเพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม (GLOBE) ในฐานะหน่วยงานหลักที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการวิจัยวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินการคัดเลือก นายธนวิชญ์ น้ำใจดี และนายฟิวเจอร์ คงชู นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ เข้าร่วมการประกวด SJWP2021 ภายใต้งานวิจัยเรื่อง Bio-Moisture-Nutrient Absorbing Belt for Promoting the Sugarcane Seedlings Growth from the Local Waste” หรือ เข็มขัดดูดซับความชื้นและให้ธาตุอาหารจากวัสดุเหลือทิ้งในชุมชน   เพื่อการดูแลท่อนพันธุ์อ้อยระยะแรกปลูก ซึ่งได้นำวัสดุเหลือใช้ ในท้องถิ่นมาสร้างนวัตกรรมในลักษณะเข็มขัดที่สามารถอุ้มน้ำไว้สำหรับการเพาะปลูกท่อนพันธุ์อ้อยในระยะแรกปลูกได้แม้จะปลูก ในพื้นที่แห้งแล้ง ช่วยลดการให้น้ำ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเปรียบเทียบจากการปลูกโดยใช้วิธีดั้งเดิม นอกจากนี้นวัตกรรมนี้ยังนำสารสกัดจากสะเดาช่วยไล่และกำจัดแมลงศัตรูอ้อย จึงเป็นการใช้สารธรรมชาติ ลดการใช้สารเคมี  ที่จะเป็นการเพิ่มมลพิษให้แหล่งน้ำและดินอีกด้วย

       การประกวด Stockholm Junior Water Prize เป็นการประกวดที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อส่งเสริม ให้เยาวชนทั่วโลก    อายุระหว่าง 15-20 ปี เกิดความตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ โดย H.R.H. Crown Princess Victoria ทรงให้ความสำคัญและเป็นองค์อุปถัมภ์มาตลอด 25 ปี ซึ่งการประกวดนี้จัดขึ้นร่วมกับการประชุม World Water Week ณ กรุงสตอกโฮล์ม ในปี 2021 นี้  มีเยาวชนเข้าร่วมประกวด จำนวน 44 คน จาก 32 ประเทศ เยาวชนเหล่านี้จะต้องผ่านการประกวดในแต่ละประเทศและได้รับคัดเลือกเป็นผู้แทนระดับประเทศ 


    การประกวดปีนี้ มีรางวัลทั้งสิ้น 3 รางวัล ได้แก่ รางวัล The Winner of Stockholm Junior Water Prize 2021 เป็นของเยาวชนจากประเทศสหรัฐอเมริกา รางวัล The Winner of Diploma of Excellence เป็นของเยาวชนจากประเทศไทย และรางวัลสุดท้ายเป็นรางวัลที่ให้ผู้สนใจร่วมโหวดคือ รางวัล The Winner of People Choice’s Award เป็นของเยาวชนจากประเทศบราซิล สนใจ       ดูรายละเอียดเพิ่มที่ : https://www.facebook.com/globethailand2015


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"