ชมรมแพทย์ชนบทตรวจโควิดชุมชนในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลวันสุดท้าย ขณะที่ พอช.หนุนชุมชนจัดตั้งครัวกลาง-เตรียมสมุนไพรสู้โควิด


เพิ่มเพื่อน    

จุดตรวจที่โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา คลองเตย หนูน้อยกลัวสำลีแยงจมูก  ทีมแพทย์ต้องช่วยกันปล้ำ (ภาพจาก facebook  ชมรมแพทย์ชนบท)

 

ทีมแพทย์เชียงรายตรวจโควิดถึงบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่ออกมาจุดตรวจไม่ได้

 

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ชมรมแพทย์ชนบทปิดปฏิบัติการตรวจโควิดเชิงรุกในกรุงเทพฯ และปริมณฑลเป็นวันสุดท้าย ไม่เสร็จ  ไม่เลิก  ไม่หมด  ไม่กลับ  กู้ภัยโควิดกรุงเทพฯ”  โดยเปิดจุดตรวจวันนี้ 26 จุด  รองรับผู้ตรวจประมาณ 50,000 ราย  คาดพบผู้ติดเชื้อ 5,000 ราย  โดยจะแจกยาและให้การรักษาทันที  เพื่อลดภาวะเตียงล้น-บุคลากรรองรับไม่พอ  ขณะที่ พอช.เตรียมระดมความช่วยเหลือจากภาคเอกชน  ภาคีเครือข่าย  หนุนชุมชนจัดตั้งครัวกลาง  จัดเตรียมยาสมุนไพรสู้ภัยโควิด

          ตามที่ชมรมแพทย์ชนบทจากทั่วประเทศระดมกำลังประมาณ 400 คน  กว่า  40 ทีม  เข้ามาตรวจโควิดเชิงรุกครั้งที่ 3 ในชุมชนแออัดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  ระหว่างวันที่ 6-10 สิงหาคม  ตั้งเป้าเปิดจุดตรวจทั้งหมด 174 จุด  รองรับชุมชนได้ประมาณ 300 ชุมชน  ผู้เข้ารับการตรวจทั้งหมดประมาณ  250,000 คน 

 

เปิดจุดตรวจที่ พอช.รองรับประชาชน 1,500 คน

          โดยวันนี้ (10 สิงหาคมเป็นการตรวจวันสุดท้าย  facebook ชมรมแพทย์ชนบทโพสต์ข้อความว่า ปิดแผนปฏิบัติการวันนี้  วันสุดท้าย กู้ภัยโควิดกรุงเทพมหานคร  ปักหลัก 26 จุดตรวจ  กระจายทั่วกรุงเทพมหานคร  รวมปริมณฑล จังหวัดนครปฐมและสมุทรปราการอีก 2 จุดบริการ   เป้าหมายตรวจคัดกรอง 5 หมื่นราย  คาดหมายว่าจะพบผู้ติดเชื้อ 5 พันราย  เข้าสู่กระบวนการรักษาพยาบาล  แต่ละจุดตรวจวันนี้เปิดรับประชาชนในชุมชนโดยรอบ  รวมถึงประชาชนบริเวณใกล้เคียงที่ Walk-in เข้ามาขอตรวจ   เราจะตรวจให้กับทุกคน  เพราะเรามาเพื่อตรวจคัดแยกผู้ติดเชื้อ  ทุกทีมกำลังขนสัมภาระ  ล้อหมุนไปยังพื้นที่จุดหมาย  ตั้งแต่เวลา  6.30 .”  และ เปิดยุทธการ  ทิ้งทวน  วันสุดท้าย  ไม่เสร็จ  ไม่เลิก  ไม่หมด  ไม่กลับ  กู้ภัยโควิดกรุงเทพฯ

 

ประชาชนมาลงทะเบียนตรวจโควิดที่ พอช. ตั้งแต่เช้า

 

          โดยในวันนี้ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ พอช.ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ เป็นอีกแห่งหนึ่งที่ชมรมแพทย์ชนบทมาเปิดบริการจุดตรวจ  โดยทีมแพทย์จากสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) พิจิตรและนครสวรรค์  จำนวน  16 คนร่วมเป็นทีมตรวจ  มีอาสาสมัครจาก พอช. ประมาณ 30 คน  ร่วมสนับสนุนการตรวจของทีมแพทย์  เช่น  ลงทะเบียนผู้ตรวจ  จัดคิว  และอำนวยความสะดวกต่างๆ  โดยมีประชาชนทั่วไปเข้ารับการตรวจประมาณ 1,500 คน   และ นพ.ยงยศ  ธรรมวุฒิ  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข  อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทได้มาเยี่ยมจุดตรวจที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ด้วย

 

นพ.ยงยศ  ธรรมวุฒิ  รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ที่ 2 จากซ้าย) เยี่ยมจุดตรวจที่ พอชโดยมีผู้บริหาร พอช.ให้การต้อนรับ

 

ปฏิบัติการ ดับไฟที่ต้นทาง”  พบติดเชื้อแล้วร้อยละ 10.8

         นพ.เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  ซึ่งยกทีมจำนวน 36 คนมาตรวจโควิดเชิงรุกในกรุงเทพฯ  บอกว่า  ทีมแพทย์ทั้งหมดจะใช้ชุดตรวจ Rapid  Antigen Test  Kit  (ATK หรือชุดตรวจแบบเร็ว) สามารถรู้ผลตรวจแต่ละคนภายในเวลาไม่เกิน 30 นาที   โดยคนที่มีผลเป็นลบ  แพทย์จะให้กลับบ้านได้เลย   

          ส่วนผู้ที่มีผลบวกให้รอตรวจ RT-PCR อีกครั้ง  เพื่อยืนยันผลตรวจ  หากผลติดเชื้อแน่นอน  ทีมแพทย์จะนำรายชื่อเข้าสู่ระบบการรักษาแบบ Home Isolation ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และจ่ายยารักษาเบื้องต้นตามอาการที่พบก่อน   โดยผู้ที่มีผลตรวจเป็นบวก จะได้รับยาฟ้าทะลายโจร  หรือฟาวิพิราเวียร์ตามอาการที่พบมากน้อยจากการวินิจฉัย  และเชื้อจากการสวอปเพื่อตรวจ RT- PCR ของทุกทีมจะถูกรวบรวมส่งไปตรวจที่แล็ปของ รพ.มหาราชนครราชสีมาวันละ รอบ ซึ่งจะรู้ผลภายในวันเดียว  โดยผู้ติดเชื้อสามารถเข้าไปดูผลได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือในวันรุ่งขึ้น

 

บางชุมชนที่มีความคับแคบ  ทีมแพทย์ต้องนั่งมอเตอร์ไซค์เข้าไปตรวจให้แก่ผู้สูงอายุหรือเจ็บป่วย  (ภาพจาก facebook  ชมรมแพทย์ชนบท)

 

          ทั้งนี้จากการสรุปผลปฏิบัติการบุกกรุง 5  วัน  ระหว่างวันที่ 4-8  สิงหาคม 2564  ตรวจคัดกรองด้วย ATK ทั้งสิ้น  96,087  ราย  พบผลบวก 10,357 ราย   คิดเป็นร้อยละ  10.8   ผู้ที่มีผลบวกเก็บตัวอย่างส่ง RT-pcr 9,790 ราย  คิดเป็นร้อยละ  94.5  ผลตรวจ RT-pcr ยืนยันตรงกัน  มีผลบวกลวงเพียงร้อยละ  0.55  

          ประเมินระดับความรุนแรง  แดง   ร้อยละ 2.5  เหลือง  ร้อยละ  27.3  และ เขียว  ร้อยละ 70.2    ทีมแพทย์ให้การรักษาโดยจ่ายยาฟาวิพิราเวียร์  4,792 ราย (รวม 239, 600 เม็ด) คิดเป็นร้อยละ 46.3 ของผู้ที่ตรวจพบเชื้อให้ผลบวก  และให้การฉีดวัคซีนกลุ่มเสี่ยง  เข็มแรก  จำนวน 3,047 ราย

          ปฏิบัติการบุกกรุงครั้งที่ 3 ของชมรมแพทย์ชนบทครั้งนี้   ตั้งเป้าตรวจทั้งหมด 250,000 ราย  ประเมินว่าผลบวกจะอยู่ที่ประมาณ 10-15%   ดังนั้นจะพบผู้ที่มีเชื้อโควิดที่จะเข้าสู่ระบบการดูแลรักษาจำนวน 25,000-32,500 คน ซึ่งจะสามารถตัดตอนการระบาดไปได้พอสมควร  และสามารถช่วยลดภาระเตียงล้นของโรงพยาบาลใน กทม.ลงได้  เพราะทีมแพทย์จะพยายามจ่ายยาฟาร์วิพิราเวียร์ให้กับผู้ติดเชื้อตามเกณฑ์ที่ควรรับยาทุกคน  เพื่อลดโอกาสที่ผู้ติดเชื้อจะป่วยหนักจนต้องเข้าโรงพยาบาล

         นอกจากนี้ นพ.เกรียงศักดิ์  ยังเปรียบเทียบว่า  กรุงเทพฯ คือต้นเพลิงที่ไฟกำลังลุกลามไปถึงทุกจังหวัด  จึงต้องมาช่วยดับไฟโควิดที่กรุงเทพฯ  เพื่อปลุกเจ้าของพื้นที่ให้ลุกตื่นขึ้นมาจัดการดับไฟให้เร็วที่สุด

 

พอช.หนุนชุมชนจัดตั้งครัวกลาง-เตรียมสมุนไพรสู้โควิด

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล  โดยขณะนี้รัฐบาลได้ขยายพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (พื้นที่สีแดงเข้ม) จากเดิม 13 จังหวัด เพิ่มขึ้นเป็น 29 จังหวัด ขณะเดียวกันสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ หรือ พอช.ได้สนับสนุนให้ชุมชนต่างๆ จัดทำโครงการเพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด   โดย พอช.ได้จัดทำโครงการ การแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชุมชนผู้มีรายได้น้อยที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล งบประมาณเบื้องต้น 30 ล้านบาท 

          ขณะนี้ได้อนุมัติโครงการเพื่อสนับสนุนชุมชนแล้ว จำนวน  50  เครือข่ายเขต/เมือง   รวม  416  ชุมชน  ผู้รับผลประโยชน์  83,574ครัวเรือน   งบสนับสนุนรวม  18,650,000 บาท  แยกเป็น   โครงการระดับเครือข่ายเมือง/เขต  5 ล้านบาทโครงการระดับชุมชน 11.4 ล้านบาทเศษ ถุงยังชีพแจกจ่ายกลุ่มเปราะบางของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ  2 ล้านบาท

          และล่าสุดจากการประชุมผ่านระบบ Zoom ร่วมกันระหว่างผู้นำชุมชนต่างๆ กับผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ พอช. เมื่อวันที่ 8 สิงหาคมที่ผ่านมา  พบว่าสิ่งที่ชุมชนต้องการเร่งด่วนในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้  คือ 1.จัดตั้งครัวกลางหรือศูนย์อาหารชุมชน   เพื่อให้บริการทั้งแบบทำอาหารรายวัน  แจกจ่ายของแห้งกลับบ้าน  หรือตั้งคลังอาหารให้สมาชิกในชุมชนมาเบิกอาหารไปปรุงเอง  2. จัดหายาสมุนไพรรักษาโควิดให้ชุมชนให้ได้อย่างน้อย 1,000 ชุด (ประมาณเบื้องต้นชุดละ 500 บาท/คน  สำหรับยา  3  ตำรับ  กินยา  5วัน)

 

น้ำใจจากพี่น้องเครือข่ายชุมชนในต่างจังหวัด  ส่งสมุนไพรเพื่อใช้อบตัวหรือต้มสูดดมเพื่อช่วยให้ระบบหายใจดีขึ้น

 

          3.จัดหายาสมุนไพรสำหรับรักษาเด็กที่ติดเชื้อ  (หมอสมุนไพรแนะนำยาเขียวหอม แคปซูลละ 4 บาท) 4.ประสานงานกับสำนักงานเขต  กทมและ สปสช.  เพื่อสนับสนุนการจัดทำ Home isolation และ Community isolation  5.รณรงค์ให้มีการบริจาคยาและเงินช่วยเหลือการจัดการโควิดของชุมชน   6.จัดหาชุด ppe  เพื่อป้องกันการติดเชื้อให้ผู้นำชุมชน  ฯลฯ

          โดย พอช.จะมีบทบาทพอช. 1.การประสานหน่วยงาน   ภาคเอกชน   บุคคล   เพื่อระดมเงินและข้าวของช่วยเหลือครัวต่างๆ   2.ประสานเครือข่ายชุมชนในพื้นที่ชนบทเพื่อซื้อข้าวสาร   อาหาร  ผัก สมุนไพร  ฯลฯ  นำส่งครัวชุมชนต่างๆ

 

สช. ใช้ นครปฐมโมเดลปลุกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพรับมือโควิด

          นอกจากข้อเสนอจากผู้นำชุมชนต่างๆ ดังกล่าวแล้ว  สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ได้จัดประชุมเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และสภาองค์กรชุมชนทั่วประเทศ  ผ่านระบบ Zoom เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา   โดย มา   โดย นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ  เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า สถานการณ์ในขณะนี้ถือว่าประเทศอยู่ระหว่างวิกฤต  โดยตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ได้ทะลุ 2 หมื่นคน  เสียชีวิตมากกว่าวันละ 200 ราย  และจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมกำลังเดินหน้าสู่ 1 ล้านคนในระยะเวลาอันใกล้  ซึ่งคาดการณ์ว่าสถิติจะเพิ่มสูงขึ้นอีกในช่วงกลางเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้   ฉะนั้นทุกภาคส่วนจำเป็นต้องลุกขึ้นมาช่วยเหลือประชาชน

          นพ.ประทีป กล่าวต่อว่า หากพิจารณาสถานการณ์การระบาด  จะพบว่าเชื้อโควิด-19 ได้ขยายออกจากกรุงเทพฯ และปริมณฑล  กระจายตัวจนใกล้เป็น วิกฤตของระบบสาธารณสุขระดับพื้นที่ ทั่วประเทศไปแล้ว  และจากตัวเลขประชาชนที่ทยอยเดินทางออกจาก กทม. กลับไปรักษาตัวตามภูมิลำเนาที่เพิ่มขึ้นทุกวันตามนโยบายส่งกลับผู้ติดเชื้อเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระเตียงของโรงพยาบาลใน กทม. เชื่อว่าอีกไม่นานสถานการณ์การติดเชื้อของแต่ละจังหวัดจะไม่ต่างจาก กทม. ที่ผ่านมา

          สถานการณ์เช่นนี้ตอกย้ำว่า เป้าหมายและกลยุทธ์รับมือโควิด-19 ระลอก 4 จะอยู่ที่ตำบลและชุมชน  โดยมีการดูแลรักษาที่บ้าน หรือ Home Isolation และศูนย์พักรักษาที่ชุมชน หรือ Community Isolation  ที่จัดการโดยประชาชนในพื้นที่ จะเป็นระบบบริการหลัก  และมีจังหวัด  อำเภอเป็นฐานอำนวยการ  สนับสนุน  และรับรักษาพยาบาลผู้ป่วยที่มีอาการหนัก  รวมทั้งมีพระและวัดเป็นที่พึ่งด้านจิตใจของครอบครัวผู้เสียชีวิต เลขาธิการ คสช. กล่าว

 

การประชุมผ่านระบบ Zoom ของ สช.  และภาคีเครือข่ายเมื่อวันที่ 9 สิงหาคมที่ผ่านมา

 

          นพ.ประทีป กล่าวอีกว่า มีตัวอย่างพลังภาคีเครือข่ายภาควิชาการ ภาคธุรกิจ ภาคสังคม และจิตอาสาของจังหวัดนครปฐม ได้เข้าไปทำงานร่วมกับหน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายใต้การสนับสนุนของผู้ว่าราชการจังหวัด และนายก อบจ. เกิดมาตรการของชาวนครปฐม  จนเป็นต้นแบบการจัดระบบการจัดการโควิด-19 ระดับจังหวัด  เกิดเป็น นครปฐมโมเดล ที่มีรูปธรรมการจัดการ กิจกรรม และนวัตกรรมทางสังคมระดับพื้นที่ที่หลากหลาย โดยล่าสุด 4จังหวัดภาคอีสาน คือ นครราชสีมา ชัยภูมิ  บุรีรัมย์ และสุรินทร์ หรือ นครชัยบุรินทร์’  และ 5 จังหวัดของ กขป. เขต 10 คือ อุบลราชธานี  ศรีสะเกษ  ยโสธร  มุกดาหาร  และอำนาจเจริญ ได้นำโมเดลดังกล่าวไปต่อยอดแล้ว

          นพ.สำเริง แหยงกระโทก  อดีตผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข  และแกนนำสมัชชาสุขภาพเขตนครชัยบุรินทร์ กล่าวว่า  หากถอดบทเรียนเรื่องมาตรการของภาคประชาชนในการขับเคลื่อนงานระดับพื้นที่ จาก นครปฐมโมเดลจะพบว่ามีอยู่ 4 ประเด็นสำคัญที่แต่ละจังหวัดสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้  ได้แก่ 1.การตั้งศูนย์ประสานงานภาคประชาชนสู้ภัยโควิด-19 ประจำจังหวัด  ทำหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงานและทำงานร่วมกับภาครัฐ ซึ่ง จ.นครราชสีมา ได้ดำเนินการแล้ว  2. การจัดตั้งกองทุนเพื่อระดมปัจจัยสนับสนุน ซึ่งมีตัวอย่างจาก กองทุนลมหายใจของ จ.นครปฐม  3. การบริหารสิ่งสนับสนุนทั้งทางการแพทย์และทางสังคมเข้าไปสู่ HI และ CI ในชุมชนพื้นที่  และ 4.การสร้างและพัฒนาทักษะการจัดการ HI และ CI ของแกนนำ และอาสาสมัครในชุมชน ภายใต้การเป็นพี่เลี้ยงของระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่รับผิดชอบ

 

ใช้วัดเป็นสถานที่พักคอยผู้ป่วย

          นายปฏิภาณ  จุมผา  รองผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ กล่าวเสริมว่า  นอกจากมาตรการของภาคประชาชนแล้ว  บทบาทของพระสงฆ์และวัดที่มีอยู่ทุกพื้นที่มีความสำคัญมากในการเป็น ผู้นำชุมชน และสถานที่พักพิง รับมือกับวิกฤตครั้งนี้  ดังที่ สมเด็จพระมหาธีราจารย์  เจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร ได้แสดงพระธรรมเทศนา ไว้เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคมที่ผ่านมา  มีเนื้อตอนหนึ่งว่า

          “ในภาวะวิกฤตโควิด-19 ทุกภาคส่วนล้วนนำเอาความดีและความเชี่ยวชาญมารวมเป็นพลังสำคัญช่วยเหลือเกื้อกูลกัน  คณะสงฆ์ได้จัดตั้งโรงทานตามพระราชดำริของสมเด็จพระสังฆราชฯ สนับสนุนให้ใช้พื้นที่วัดเป็นศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อผู้ป่วยสีเขียว  คณะสงฆ์ทั่วสังฆมณฑล  ร่วมประสานหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จัดตั้งโรงพยาบาลสนามทั่วประเทศเพื่อรองรับและสงเคราะห์ผู้ประสบภัยโควิด-19”

          รอง ผอ.พอช.สรุปในตอนท้ายว่า  ในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19  มีหลายพื้นที่ที่วัดและพระสงฆ์มีบทบาทสำคัญ เช่น  1.การดูแลด้านสุขภาพกันเองของพระสงฆ์ และการร่วมดูแลชุมชน  2.การสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้ง CI ซึ่งเป็นได้ทั้ง CI ของพระด้วยกันเอง  หรือการใช้พื้นที่วัดเป็นฐานเพื่อจัดตั้ง CI ของชุมชน  3. การระดมปัจจัยและสิ่งสนับสนุนในพื้นที่  4. การช่วยเหลือญาติโยมในช่วงท้ายของชีวิต และการ ปลุก-ปลอบ เยียวยาจิตใจของครอบครัวผู้สูญเสีย และเป็น เสาหลักทางจิตวิญญาณ เพื่อให้ทุกคนก้าวผ่านความยากลำบากครั้งนี้ไปด้วยกัน

 

ส่วนหนึ่งของทีมแพทย์ชนบทจากทั้งหมดประมาณ 400 คนที่มาบุกกรุงครั้งที่ 3 (ภาพจาก facebook  ชมรมแพทย์ชนบท)

atk-หรือชุดตรวจแบบเร็ว home-isolation rapid- antigen-test- kit กระทรวงสาธารณสุข กรุงเทพฯ-ปริมณฑล จัดตั้งครัวกลาง ชมรมแพทย์ชนบท ดับไฟที่ต้นทาง ตรวจโควิดชุมชน ทีมแพทย์จากสาธารณสุขจังหวัด นครปฐมโมเดล นครสวรรค์ นพ.ประทีป-ธนกิจเจริญ นพ.ยงยศ- ธรรมวุฒิ นพ.สำเริง-แหยงกระโทก นพ.เกรียงศักดิ์- วัชรนุกูลเกียรติ นายปฏิภาณ- จุมผา บุคลากรรองรับไม่พอ พอช. พิจิตร ฟาวิพิราเวียร์ ยาฟ้าทะลายโจร ลดภาวะเตียงล้น วิกฤตของระบบสาธารณสุขระดับพื้นที่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ สมุนไพรสู้โควิด สสจ. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ไม่เสร็จ-ไม่เลิก-ไม่หมด-ไม่กลับ-กู้ภัยโควิดกรุงเทพฯ

เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"