'เรืองไกร'ตามจองเวรพท. ร้องกกต.สอบ3ส.ส.ฝ่าฝืนรธน.


เพิ่มเพื่อน    

16 ส.ค. 64 - นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ.2565 เปิดเผยว่า ตามที่สภาฯ ได้มีหนังสือนัดประชุมเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณพ.ศ. 2565 วาระที่ 2-3 ระหว่างวันที่ 18 - 20 ส.ค.นั้น เรื่องงบประมาณกรรมาธิการฯมีความระมัดระวังกันมาโดยตลอด ผู้อำนายการสำนักงบประมาณก็เตือนให้ระวัง โดยเฉพาะรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสอง และ ม.185 แต่ในที่สุดก็พบประเด็นที่อาจฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา144 วรรคสอง เนื่องจากปรากฏหลักฐานในเอกสารประกอบการประชุม ที่มีการเสนอข้อสังเกตไว้ในลักษณะที่ทำให้เห็นว่ากรรมาธิการ หรือ ส.ส. ได้มีการกระทำด้วยประการใดๆ ที่มีผลให้ กมธ. หรือ ส.ส. นั้น มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งจะกระทำมิได้ ตามความในรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสอง
      
เมื่อวันที่ 6 ส.ค. ที่ผ่านมา กรรมาธิการฯของพรรคเพื่อไทยได้เสนอให้แก้ไขข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบกลาง โควิด 16,362 ล้านบาทว่า ต้องให้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ตรวจสอบงบกลางด้วย และขอให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณต้องออกระเบียบเกี่ยวกับงบกลางโควิด หลังจากที่ พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2565 มีผลใช้บังคับ หลังจากเสนอในห้อง กมธ. แล้ว ส.ส. พรรคเพื่อไทย ที่เป็น กมธ.จำนวน 3 คน คือ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร และ น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า กมธ.เพื่อไทย เป็นผู้เสนอให้ สตง. และ สนักงบประมาณ กระทำการดังกล่าว
       
นายเรืองไกร กล่าวว่า เรื่องนี้มาจากการแก้ไขข้อสังเกตเดิม ให้เป็นไปตามที่ กมธ.พรรคเพื่อไทยเสนอ ต่อมาก็ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในเอกสารการประชุมสภา ที่จะมีขึ้นในวันที่ 18 - 20 ส.ค. ซึ่งตนจะขอใช้สิทธิในฐานะ กมธ. อภิปรายทักท้วงข้อสังเกตดังกล่าว ไว้เป็นหลักฐานในที่ประชุมสภาว่า เรื่องนี้ตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง จากพยานหลักฐานดังกล่าว ซึ่งมีการกระทำเกี่ยวกับการใช้งบประมาณนั้น จึงอาจเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 วรรคสอง ประกอบกับ มาตรา 185 (1) และ (2) ตามมาได้ เพราะการขอให้ สตง. ตรวจสอบรายกลางงบกลางโควิดนั้น อาจเข้าข่ายการใช้สถานะหรือตำแหน่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในการปฏิบัติราชการหรือการดำเนินการในหน้าที่ประจำของ สตง. ตามความในมาตรา185 (1)
      
สำหรับประเด็นที่ขอให้ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ต้องไปแก้ไขระเบียบการใช้งบกลางโควิด ภายหลังจากที่ พ.ร.บ.งบประมาณฯ ปี 2565 มีผลใช้บังคับแล้วนั้น อาจเข้าข่ายการใช้สถานะหรือตำแหน่งกระทำการใดๆ อันมีลักษณะที่เป็นการก้าวก่ายหรือแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเอง ของผู้อื่น หรือของพรรคการเมือง ไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม ในลักษณะที่ทำให้ตนมีส่วนร่วมในการใช้จ่ายเงินงบประมาณหรือให้ความเห็นชอบในการจัดทำโครงการใดๆ ของสำนักงานงบประมาณ ตามความในมาตรา 185 (2)

"การที่ ส.ส. เพื่อไทย คือนายประเสริฐกับพวก เข้าข่ายกระทำอันต้องห้ามตามมาตรา 185 (1) , (2) หรือไม่ นั้น อาจมีผลทำให้สมาชิกภาพของ ส.ส. สิ้นสุดลง ตามความใน ม. 101 (7) ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการได้ ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าว จึงมีมูลเหตุที่ต้องร้องให้ กกต. ส่งเรื่องให้ศาลวินิจฉัยตีความเกี่ยวกับ มาตรา 144 วรรคสอง ไว้เป็นบรรทัดฐานก่อนด้วย แล้วจึงวินิจฉัยตามมาตรา 185 (1) , (2) ตามมา ดังนั้น ในวันที่ 16 ส.ค. จึงได้ส่งคำร้องให้ กกต. ดำเนินการต่อไป โดยส่งทางไปรษณีย์ EMS แล้ว" นายเรืองไกร ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"