ฉลอง69ปีหอจม.เหตุฯชวนบันทึก’วัดวัง-วิถี’น่าจดจำ


เพิ่มเพื่อน    

ภูเขาทอง วัดสระเกศ บันทึกประวัติศาสตร์ผ่านภาพ

 

 

 

      ในการสืบค้นเอกสารโบราณ หอจดหมายเหตุแห่งชาติเป็นสถานที่แรกที่ทุกคนนึกถึง เพราะให้บริการค้นคว้าภาพเก่าและเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่มีคุณค่า ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทย ถือเป็นองค์กรหลักในการบริหารเอกสารสำคัญของชาติให้ได้รับการจัดเก็บอย่างครบถ้วนยั่งยืน และเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต

       เอกสารและภาพเก่าเป็นการบันทึกเรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตและปัจจุบัน ซึ่งบางอย่างสูญหายไปตามกาลเวลาไม่อาจเรียกคืนกลับมาได้ เหลือไว้เพียงเอกสารหลักฐานซึ่งช่วยในการเรียนรู้และทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีต และเป็นบทเรียนสำคัญ ยุคปัจจุบันเราเลือกเก็บความทรงจำผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ย้อนเวลากลับไปดูเรื่องเก่าๆ รูปเก่าๆ ในแต่ละวันได้แบบไม่หาย เหมือนไดอารี่เล่มหนึ่ง

ภาพเก่าวัดสุทัศนเทพวราราม วัดสำคัญในกรุงเทพฯ      ภาพ:หอจดหมายเหตุฯ 

 

       ส่วนสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในการบันทึกและเก็บรักษาเอกสารและภาพต่างๆ ที่เป็นเป็นส่วนหนึ่งของหน้าประวัติศาสตร์ไทย วันที่ 18 สิงหาคม 2564 นี้ จะครบรอบ 69 ปี วันสถาปนาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ตามข้อทรงสันนิษฐานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ งานจดหมายเหตุของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาสืบย้อนขึ้นไปได้ถึงสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นอย่างน้อย มหาดเล็กมีหน้าที่จดบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ เก็บไว้ในหอศาสตราคม และงานจดหมายเหตุในราชสำนักยังเป็นประเพณีสืบต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการเและมีพระราชกระแสให้นำเอกสารสำคัญไปเก็บรักษาไว้ในหอจดหมายเหตุ

         การดำเนินงานจดหมายเหตุในระยะแรกมีขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2459 เป็นแผนกจดหมายเหตุอยู่ในหอพระสมุดวชิรญาณ นอกจากนั้น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พระบิดาแห่งประวัติศาสตร์ไทย ทรงเล็งเห็นความสำคัญของหนังสือราชการว่า จะเป็นเอกสารข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ทรงห่วงใยว่าจะสูญหาย ทรงดำริจัดตั้งหอจดหมายเหตุและหอรูปขึ้นเพื่อเก็บรักษาเอกสารที่มีอายุเกิน 25 ปี และรูปถ่ายไว้ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้า ก่อนมีประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกรมศิลปากร ในวันที่ 18 ส.ค. พ.ศ. 2495 ตั้งกองจดหมายเหตุแห่งชาติขึ้น พัฒนาองค์กรมาจนถึงปัจจุบัน นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้สนับสนุนการดำเนินงานตามกระบวนงานจดหมายเหตุให้เข้มแข็งเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการประชาชนเพิ่มขึ้น

  ฟื้นความทรงจำวิถีชีวิตที่ผูกพันกับแม่น้ำเจ้าพระยา 

 

   ครบรอบ 69 ปี จึงจัดกิจกรรม Then and Now Around Bangkok  โดยการคัดเลือกภาพที่เก็บรักษาในสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ จํานวน 69 ภาพ และเชิญชวนผู้ที่สนใจร่วมโพสต์ภาพที่เคยถ่ายในมุมเดียวกันหรือใกล้เคียง ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงจากอดีตสู่ปัจจุบัน ตามหัวข้อ “พินิจวัด ทัศนาอาราม ตามรอยโรงเรียน - มหาวิทยาลัย เที่ยวไปในสถลชลวิถี ตระเวนอาคารสถานที่สําคัญ” ทางเฟสบุ๊กสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ตลอดเดือนสิงหาคม ทั้งนี้ ภาพทั้งหมดที่เข้าร่วมกิจกรรมจะเป็นส่วนหนึ่งใน collection  “ภาพกิจกรรมสํานักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ” เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และบริการต่อไป

ชวนมาโพสต์ภาพมุมเดียวกันหรือใกล้เคียง ภาพนี้วิทยาลัยเพาะช่าง

 

       ผู้สนใจร่วมกิจกรรม Then and Now Around Bangkok ได้ ตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 ส.ค. ประกาศผลรางวัล  ในวันที่  1 ก.ย. โดยกด Like กด Share โพสต์ ตั้งค่า เป็นสาธารณะ พร้อมติดแฮชแท็ก #69ปีหอจดหมายเหตุแห่งชาติ #thenandnowaroundBKK โพสต์ภาพในมุมเดียวกันหรือใกล้เคียง ลงในช่อง comment ของแต่ละภาพ พร้อมระบุชื่อผู้ถ่าย วัน/เดือน/ปี และคําบรรยาย โดยไม่จํากัดจํานวนภาพที่โพสต์ กิจกรรมสงวนสิทธิ์การได้รับรางวัล 1 คน/1  รางวัล เท่านั้น ภาพที่ได้รับการกด Like สูงสุด 10 ภาพ จะได้รับหนังสือฟิล์มกระจก หนึ่งพันภาพประวัติศาสตร์ จำนวน 1  เล่ม เป็นของที่ระลึก และผู้ที่โพสต์ภาพเป็นคนแรกของแต่ละภาพ  ซึ่งต้องถูกต้องตามกติกาในข้อ  และข้อ 2  จะได้รับภาพจากสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ เป็นที่ระลึก

        ทั้งนี้ ภาพที่ร่วมกิจกรรมต้องเป็นผลงานต้นฉบับของผู้โพสต์โดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ์ และสิทธิส่วนบุคคลของบุคคลอื่น ไม่มีข้อผูกมัดในเรื่องลิขสิทธิ์จากหน่วยงานต่างๆ รวมถึงต้องไม่ใช่ภาพที่ส่งขายตาม Stock Photo ทุกแห่ง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"