หอการค้าฯแนะรัฐเร่งจัดวัคซีนให้แรงงานพื้นที่สีแดงด่วน


เพิ่มเพื่อน    


25 ส.ค.2564 นายพจน์  อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยถึงสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบัน ว่าสำหรับความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในกลุ่มแรงงาน แม้ว่าจะมีมาตรการเยียวยาดูแลประชาชน ผู้ประกันตน สถานประกอบการอย่างต่อเนื่องแล้ว หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ยังมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งกับสถานการณ์ปัจจุบัน ถึงการดูแลแรงงานทั้งคนไทยและแรงงานต่างด้าวกลุ่มคลัสเตอร์ผู้ประกอบการโรงงานทั่วประเทศที่ได้รับผลกระทบจาก  โควิด-19 ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ผู้ประกอบการโรงงาน

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าเป็นเครื่องจักรสำคัญของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ทั้งภาคการส่งออก ภาคการผลิต การแปรรูปสินค้าวัตถุดิบในประเทศซึ่งยังได้รับการจัดการที่ล่าช้าอยู่ซึ่งหอการค้าให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากและได้มีการประสานงานอย่างต่อเนื่องเพื่อสนุนสนุนเสนอแนะข้อมูลทั้งหมดไปยังกระทรวงแรงงาน แต่ขณะเดียวกันยังมีอีกหลายข้อที่ยังเป็นห่วงอยู่และความล่าช้าในบ้างเรื่อง จึงอยากให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งผลักดันหลังจากนี้จึงขอเสนอมาตรการด้านแรงงานในสถานการณ์โควิด-19 ในปัจจุบันเป็นการเร่งด่วน ดังนี้

1.มาตรการเร่งรัดการจัดสรรวัคซีนให้กับลูกจ้างผู้ประกันตนอย่างเร่งด่วนโดยเฉพาะพื้นที่สีแดง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดไปในจังหวัดใกล้เคียงและควบคุมตัวเลข  ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไม่ให้มีจำนวนสูงมากไปกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน2.สนับสนุนโครงการ Factory Sandbox อย่างต่อเนื่อง โดยต้องเร่งขับเคลื่อนจับคู่ระหว่างสถานประกอบกิจการ โรงพยาบาล และภาครัฐในพื้นที่ ภายใต้แนวคิด “ตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล 3.เร่งรัดการจัดหาเตียงสำหรับผู้ประกันตนและในกลุ่มแรงงานที่ติดเชื้อ โควิด-19 โดยเฉพาะเตียงสีเหลืองและเตียงสีแดง 4.จัดสรรวัคซีนให้เข้าถึงกลุ่มแรงงานทุกภาคส่วน ทั้งที่ไม่ใช่ผู้ประกันตนมาตรา 33

5.ตามมติคณะรัฐมนตรีที่ได้ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ กลุ่มมติ 20 ส.ค. 2562 กลุ่มมติ 4 สิงหาคม 2563 จำนวน 1.3 ล้านคน ให้สามารถทำงานต่อในราชอาณาจักรไทยได้นั้น จึงขอให้เร่งดำเนินการจัดสรรวัคซีนและจับคู่งานกับนายจ้าง (Matching) เพื่อให้เข้าสู่ระบบโดยเร็ว และ6จัดตั้ง Team Thailand เพื่อศึกษาแนวทางการนำเข้าและบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวใหม่ เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น จำนวน 500,000 คน  และศึกษาแนวทางการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU แบบบูรณาการตามมาตรการของสาธารณสุข

ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าประเทศไทยได้เผชิญกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 มาเป็นเวลานาน และมีสถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำวันเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 20,000 คน/วัน ซึ่งหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดว่าเศรษฐกิจของประเทศจากการล๊อคดาว์น รวมถึงผลจากการระลอกที่ 3 และระลอกที่ 4 จากเดือน มกราคมจนถึงเดือนสิงหาคม 2564 ความเสียหายทางเศรษฐกิจนั้น ประมาณ 8 แสน ถึง 1 ล้านล้านบาท ซึ่งหากประเทศไทยต้องมีการขยายการล๊อคดาว์นต่อไป อาจส่งผลกระทบเกิน   1 ล้านล้านบาทสำหรับปีนี้ ซึ่งจะทำให้ GDP Growth มีโอกาสติดลบ -1.5% ถึง 0 %

ด้านนายวิบูลย์  สุภัครพงษ์กุล รองประธานคณะกรรมการแรงงานและพัฒนาฝีมือแรงงาน กล่าวว่า สำหรับมาตรการในการดูแลสถานประกอบการและลูกจ้างร่วมกับกระทรวงแรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ได้แก่ 1.มาตรการเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้กับผู้ประกันตน 2.มาตรการตรวจคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เชิงรุกใน สถานประกอบการ 3.มาตรการเยียวยาผู้ประกันตนและสถานประกอบการ และ4มาตรการการบริหารจัดการช่วยเหลือสนับสนุนแรงงานต่างด้าว

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาโดยสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อเร่งรัดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงและได้รับวัคซีนอย่างครบถ้วน ซึ่งสามารถสรุปผลการฉีดวัคซีนตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย.-16 ส.ค. 2564 ใน 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี ระยอง ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา มีผู้ได้รับวัคซีนแล้ว จำนวน 1,321,286 เป็นคนไทย 1,197,463 คนต่างชาติ 123,823 คน แบ่งเป็นผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่หนึ่ง จำนวน 1,297,362 คน และได้รับวัคซีนครบสองเข็ม จำนวน 23,924 คน โดยได้ดำเนินการฉีดวัคซีนให้แก่ผู้ประกันตน

นายผณิศวร ชำนาญเวช รองประธานคณะกรรมการแรงงาน และพัฒนาฝีมือแรงงาน หอการค้าไทย และ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า จากผลกระทบของโควิด-19 ในพื้นที่ภาคอุตสาหกรรม เอกชนได้เร่งดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นและให้สามารถประกอบกิจการต่อไปได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับภาคการผลิตภายในประเทศ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปถึงการผลิตสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคในประเทศและการส่งออก โดยมาตรการที่ทำนั้นถือเป็นมาตรการที่เข้มข้นไม่ปล่อยให้เกิดการระบาดในพื้นที่ อาทิ มาตรการ Factory sandbox ควบคุมพื้นที่การผลิต และแรงงานให้อยู่ในวงจำกัด การใช้ Bubble and Seal แยกส่วนแรงงานอย่างชัดเจน ทำให้ปราศจากเชื้อโควิค-19 100% เป็นการการันตีความปลอดภัยในการผลิตสินค้าของประเทศ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"