วงเสวนาหวั่นคดี'โจ้ถุงคลุมหัว'เป็นมวยล้มต้มคนดู ซัด’ประยุทธ์’ไร้ภาวะผู้นำ สิ้นหวังปฏิรูปตำรวจ


เพิ่มเพื่อน    


29 ส.ค.64 - สถาบันปฏิรูปประเทศไทย วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  (สป.ยธ.) และคณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย(ครป.) จัดเสวนาออนไลน์ หัวข้อ “ผ่าคดีผู้กำกับโจ้…กับอนาคตปฏิรูปตำรวจไทย”  โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษวิชา มหาคุณ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา อ.สุนี ไชยรส อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.) พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตรเลขาธิการสถาบันเพื่อการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม  ดร.น้ำแท้ มีบุญสล้าง ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาการสอบสวนฯ สำนักงานอัยการสูงสุด   นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ ประธานครป. ร่วมเสวนา  ดำเนินรายการโดย ผศ.พิมพ์ณัฐชยา สัจจาศิลป์ วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ ม.รังสิต

อ.วิชา มหาคุณ กล่าวว่า คดีนี้เกิดจากการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จทั้งการจับกุมและการสอบสวนเอง  เหมือนสมัยโบราณเช่น ตอกเล็บ เพื่อให้ผู้ต้องหาสารภาพ แต่กระบวนการที่ล้มเหลวจากการใช้อำนาจการตรวจสอบ วัฒนธรรมของตำรวจใช้วิธีการปกปิด ซ่อนเร้น กินเอง ชงเอง ผู้ต่อสู้คดีจะไม่มีโอกาสรับรู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับตนเอง ต่ออาจจะต้องไปถึงศาลในการไต่สวน ดังนั้น การสอบสวน สืบสวนต้องแยกกับการจับกุม ต้องแยกเป็นอิสระไม่เชื่อมโยงกับสายการบังคับบัญชา แต่ตำรวจมักจะบอกว่าถ้าแยกออกจะทำให้สูญเสียกำลังไป แต่เราต้องยอมรับ เพื่อให้กระบวนการสอบสวนคดีอาญาที่ชอบธรรมตามกฎหมาย การสอบสวนคดีอาญาไม่ใช้การเอาผิด ต้องตั้ง MIND SET ในการให้ความยุติธรรมกับทุกฝ่าย และให้พนักงานอัยการเข้ามาร่วมการสอบสวนคดีสำคัญบ้าง  สุดท้าย เราต้ององช่วยกันผลักดัน พรบ.สอบสวนคดีอาญา เข้าสู่สภา เพราะเราต้องสร้างความเชื่อมั่นศรัทธาให้คนทั่วโลก

นายคำนูณ สิทธิสมาน กล่าวว่า  เรื่องร่างกฎหมายพ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติที่อยู่ในรัฐสภาเน้นในเรื่ององค์กรและการให้ความเป็นธรรมในเรื่องการแต่งตั้งโยกย้าย ซึ่งหนึ่งในปัญหาสำคัญของตำรวจเลยว่ามีข้อกล่าวหาว่าการแต่งตั้งโยกย้ายไม่เป็นธรรม ทั้งเรื่องหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาและการซื้อขายตำแหน่ง เรามักจะได้ยินคำว่า “ตั๋วช้าง”  แสดงถึงชาวบ้านไม่พอใจการแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจ จากนี้ไปจะใช้ระบบคะแนนประจำตัวคือความสามารถและความพึงพอใจของประชาชนเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น ร่างกฎหมายฉบับ อ.มีชัย โดยคณะรัฐมนตรีรับหลักการ และส่งกลับไปสำนักงานตำรวจแห่งชาติปรับแก้มา เสร็จแล้วเสนอต่อรัฐสภาปัจจุบันจึงเป็นฉบับที่ปรับแก้จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติแล้ว ขณะนี้ทำไปแล้วถึง 13 มาตรา นายกรัฐมนตรี มีการใช้อำนาจประกาศ คสช. มาแล้ว  6 ครั้ง  

พ.ต.อ.วิรุตม์ ศิริสวัสดิบุตร กล่าวว่า กล่าวว่า หัวใจการปฏิรูปตำรวจที่แท้จริง คือ  การกระจายอำนาจตำรวจให้สังกัดจังหวัด  ผวจ.ต้องมีอำนาจตรวจสอบควบคุม สั่งเลื่อนเงินเดือนและแต่งตั้งโยกย้ายตำรวจในจังหวัดทุกระดับได้ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตำรวจจังหวัดให้ทุกคนเจริญเติบโตในจังหวัด สร้างขวัญกำลังใจให้ตำรวจได้อยู่กับครอบครัวและมีความสัมพันธ์อันดีกับประชาชนในอำเภอและจังหวัด หน่วยตำรวจเฉพาะทางต้องโอนไปให้กระทรวงทบวงกรมที่รับผิดชอบตามกฎหมาย  ให้มีอำนาจสอบสวนความผิดตามอำนาจหน้าที่อีกทางหนึ่งคู่ไปกับตำรวจท้องที่ โดยการสอบสวนคดีสำคัญ หรือที่มีการร้องเรียนของทุกหน่วย  อัยการต้องเข้าตรวจสอบหรือควบคุมสั่งการตั้งแต่เกิดเหตุได้ นอกจากนั้น  ก็ต้องทำตำรวจให้มีความเป็นพลเรือนมากขึ้น  แทนการฝึกและการปกครองบังคับบัญชารวมทั้งวินัยแบบทหารที่มีไว้เพื่อการรบกับข้าศึก  โดยเฉพาะพนักงานสอบสวนเจ้าพนักงานกระบวนการยุติธรรม จะอยู่ในระบบการปกครองแบบทหารผู้บังคับบัญชาสั่ง 'ซ้ายหันขวาหัน' ไม่ได้

พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าวว่า ประเทศไทยมีนายพลตำรวจทุกตำแหน่งถึง 500 คน มากที่สุดในโลก  มีกองบัญชาการที่ไม่จำเป็นมากมาย  เช่น บช.ตำรวจภาค  เหล่านี้ต้องยุบให้หมดเมื่อตำรวจสังกัดจังหวัด  จะประหยัดงบประมาณปีละเกือบหมื่นล้าน  ซ้ำงานรักษากฎหมายของประเทศก็จะดีขึ้นด้วย  เพราะลดขั้นตอนและการรายงานรวมทั้งการสั่งการต่างๆ ที่ไม่สอดคล้องกับปัญหาของแต่ละจังหวัดออกไปปัจจุบันตำรวจเลวร้ายกว่าอดีตมาก  มีปัญหาการวิ่งเต้นไปจนซื้อขายตำแหน่ง  ก่ออาชญากรรมสารพัด  และ พรบ.ตำรวจ รวมทั้ง พรบ.สอบสวน ก็ไม่ได้เป็นการปฏิรูปที่เป็นโล้เป็นพายอะไรเลย  เพราะส่งไปให้ตำรวจผู้ใหญ่ปรับแก้ตามใจตลอดเวลา

“นายกรัฐมนตรีไม่มีภาวะผู้นำเพียงต่อการปฏิรูปตำรวจตามที่ประกาศไว้หลังยึดอำนาจเป็นการ พูดเรื่อยเปื่อยไปอย่างนั้นเพื่อไม่ให้ประชาชนเคลื่อนไหวต่อต้านเป็นสำคัญ สิ่งที่กำลังทำพยายามเสนอร่างกฎหมายหลังเกิดเหตุอื้อฉาว  ผกก.ตำรวจ เอา 'ถุงคลุมหัวผู้ต้องหาตาย'  ไม่ใช่การปฏิรูปที่แท้จริงอะไร  ประชาชนอย่าไปสนใจร่างกฎหมายทั้งสองฉบับ  ปล่อยให้เขาว่าไปต้องรอให้มีการ ร่างรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลใหม่  ค่อยเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการปฏิรูปตำรวจที่แท้จริงตามแนวทางที่กล่าวไว้อีกครั้ง”พ.ต.อ.วิรุตม์ กล่าว

ดร.น้ำแท้  มีบุญสล้าง กล่าวว่า คนไทยเรามีความหวังสังคมไทยในการปฎิรูป อุปสรรคไม่ใช่เรื่องความยาก แต่อยู่ที่ไม่ทำ เพราะเงินและอำนาจเป็นอุปสรรคในการปฏิรูป เพราะถ้าปฏิรูปก็เกิดความโปร่งใส ตำรวจก็หากินไม่ได้ ฉะนั้นระบอบแบบนี้มันอยู่ที่ผลประโยชน์ เราควรมาสร้างกระบวนการยุติธรรมที่โปร่งใสไว้ให้คนรุ่นหลัง  คือ กระบวนการยุติธรรมที่ความจริงปรากฏ อัยการต้องมาทบทวนบทบาทตัวเองในการค้นหาความจริง ในการเปลี่ยนวิธีคิดตัวเองให้มีประสิทธิภาพปรับบทบาทตัวเอง มองเป้าหมายในการผดุงความยุติธรรม การตรวจสอบถ่วงดุลต้องไปทำตั้งแต่ตรวจสอบที่เกิดเหตุ

อ.สุณี ไชยรส กล่าวว่า รธน. 40 ได้เขียนไว้ในเรื่องกระบวนการยุติธรรมไว้ หลักง่ายคือ 1.สิทธิในร่างกายของเรา 2.ผู้ต้องหายังเป็นผู้บริสุทธิ์ 3.เวลาสอบสวนต้องมีทนายหรือผู้ต้องหาไว้วางใจรับฟังด้วย แต่กรณีผู้กำกับโจ้ไม่มีการคุ้มครองพยาน บทเรียนของการทรมานคือ ไม่มีใครกล้าสู้หรือเอาผิดตำรวจได้ กลไกของตำรวจและกระบวนการยุติธรรมยังอ่อนมากสุดท้ายจะหลุดคดี เราจึงต้องจัดการเอาผิดและจะเป็นการท้าทายกระบวนการยุติธรรม กฎหมายตำรวจแห่งชาติถูกหมกเม็ดแปลงสารอย่างที่หลายคนพูดกัน ซึ่งรัฐบาลใช้กระบวนการร่างกฎหมายที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ รธน.คือไม่มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชน รัฐบาลยังทำในสิ่งที่ขัดแย้งกันเองจาร่างกฎหมายช้ายากและยืดเยื้อ ดังนั้น ทุกกระบวนการต้องกล้าหาญที่ต้องทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนและโปร่งใส

นายบุญแทน ตันสุเทพวีรวงศ์ กล่าวว่า คดีโจ้จะเป็นมวยล้มต้มคนดู ผู้กระทำผิดลอยนวล เราเห็นเค้าลางความไม่ชอบมาพากลหลายเรื่อง ตั้งแต่การแถลงข่าว ถ้าไม่มีการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมคดีนี้ก็จะเลือนหายไปอย่างที่เคยเกิดขึ้นในอดีต กลายเป็นคดีที่ไม่มีความผิด การโอนคดีให้กองปราบไปดำเนินการประชาชนก็ยังสงสัยในกระบวนการยุติธรรม เพราะประชาชนทุกคนก็เสี่ยงที่จะตกเป็นผู้ต้องหาและถูกคลุมถุงดำได้ทุกคน

ช่วงท้าย อ.วิชา กล่าวว่า  ควรจะต้องผลักดันในการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ปฎิรูปคือ ทำอย่างไรให้ตำรวจรับผิดชอบ ยอมรับการตรวจสอบ มีธรรมาภิบาล ยอมรับสิทธิมนุษยชน ถ้าเรายังปล่อยทิ้งเอาไว้ในยามที่บ้านเมืองทุกข์ยากมหาศาล ว่าเราต้องยุติปัญหา ว่ากระบวนการนี้ต้องมีการสอบสวนเอาความจริงให้ปรากฎและให้ความเป็นธรรมในเรื่องการสู้คดี  นอกจากนี้ต้องพัฒนาระบบการสร้างคน เปลี่ยนทัศนคติจากใช้อำนาจมาใช้หลักเหตุผล และหลักสิทธิมนุษยชน

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"