10 เมืองแม่เหล็กท่องเที่ยวขยับตัว เตรียมรับ'เปิดประเทศ' ผ่านโครงการ'ทีเส็บรวมใจเมืองไมซ์ซิตี้'


เพิ่มเพื่อน    


 

1ก.ย.64-นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาและนวัตกรรมสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่าอุตสาหกรรมไมซ์โดยรวมก่อนการระบาดของโรคโควิด 19 ก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจปีละกว่า 500,000ล้านบาท โดยเฉพาะไมซ์ในประเทศคิดเป็นมูลค่าเกือบ 300,000 ล้านบาท  จะเห็นได้ว่าตลาดในประเทศยังคงเป็นฐานสำคัญทางเศรษฐกิจดังนั้นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของทีเส็บในช่วงนี้ จะยังคงมุ่งเน้นตลาดในประเทศเป็นหลักซึ่งดำเนินการร่วมกับพื้นที่โดยเฉพาะเมืองไมซ์ซิตี้เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปิดประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจกระจายสู่ภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล


“การพัฒนาเมืองไมซ์ซิตี้ เป็นยุทธศาสตร์สำคัญของทีเส็บในการขยายการพัฒนาอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศ มุ่งกระจายการจัดงานสู่ภูมิภาค ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอีกทั้งยังช่วยส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่อีกด้วย”


ทีเส็บ เตรียมผลักดันการจัดงานไมซ์ในประเทศผ่านแคมเปญ “เปิดเมืองไมซ์ ร่วมใจช่วยชาติ”โดยมีโครงการ “เปิดเมืองปลอดภัย จัดงานไมซ์มั่นใจ ด้วยมาตรฐาน” มุ่งกระตุ้นการจัดงานไมซ์ในเมืองไมซ์ซิตี้ทั้ง10 แห่ง พร้อมจัดแคมเปญสนับสนุนเพื่อฟื้นฟูตลาด ได้แก่ แคมเปญ Regional Best Showสำหรับงานแสดงสินค้าที่เป็นเป้าหมายหลักของภูมิภาค และแคมเปญ Gear Up Exhibitionสำหรับงานแสดงสินค้าทั่วไป "


ขณะที่ตลาดการประชุมจะดำเนินการผ่าน 2 GO CAMPAIGNจัดงานประชุมทั่วไทยพร้อมก้าวไกลสู่สากล และโครงการประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า  ซึ่งปีนี้ได้มีการปรับเงื่อนไขการสนับสนุนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ สามารถจัดงานภายในจังหวัดได้โดยไม่ต้องเดินทางข้ามจังหวัดหรือภูมิภาค เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดงานภายในจังหวัดมากขึ้นผู้ที่สนใจสมัครขอรับการสนับสนุนโครงการประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า ได้ถึงวันที่ 15 กันยายน 2564โดยลงทะเบียนและยื่นเอกสารได้ที่ www.thaimiceconnect.com     

นางศุภวรรณกล่าวอีกว่า นอกจากนี้  ทีเส็บให้ความสำคัญกับการสนับสนุนผู้ประกอบการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดงานรองรับการทำธุรกิจในยุควิถีใหม่ ซี่งเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นสำหรับการจัดงานในประเทศและภูมิภาคต่าง ๆช่วยสร้างการรับรู้ในภาคอุตสาหกรรมไมซ์ให้เกิดขึ้นได้อย่างกว้างขวาง เช่น การจัดงาน “ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ”ในรูปแบบออนไลน์ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมชมงานผ่านระบบออนไลน์ (Live Streaming) ทั่วประเทศทั้งสิ้น 22,384 คนและสร้างการรับรู้การจัดงานผ่านสื่อออนไลน์อีกถึง 55,367 คน

ด้าน นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า สถานการณ์โควิด 19เป็นทั้งอุปสรรคและโอกาสในการพัฒนาเมืองโดยขอนแก่นเป็นเมืองไมซ์ซิตี้ที่เน้นการจัดประชุมสัมมนาในประเทศเป็นหลักและได้รับอานิสงส์อย่างมากจากโครงการ “ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า”ที่มีหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเข้ามาจัดประชุมในจังหวัดมากกว่า 55 โครงการ และยังมีมาอย่างต่อเนื่องซึ่งยังจัดกิจกรรมต่างๆ ภายในจังหวัดได้ค่อนข้างมาก“ในช่วงโควิด 19 จึงเป็นโอกาสในการจัดระเบียบ สร้างความเชื่อมั่น และเตรียมพัฒนาสิ่งดีๆ ที่มีอยู่เพื่อเพิ่มศักยภาพเมือง 


"ขอนแก่นมุ่งมั่นที่จะพัฒนาความเป็นไมซ์ซิตี้ควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์เมืองในการเป็น Smart City และ Creative City โดยจะเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคและเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ต่างๆ รวมถึงความร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาเมือง สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ที่จะเดินทางเข้ามาโดยเฉพาะความร่วมมือกับทีเส็บที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดการประชุมระดับนานาชาติในจังหวัด เช่นการประชุมนานาชาติไหมไมซ์, การจัด Business Forum ร่วมกับกลุ่มประเทศทางยุโรป และการขับเคลื่อนขอนแก่นเป็นเมืองหัตถกรรมโลกแห่งผ้ามัดหมี่สู่สากลภายใต้ชื่องาน มัดหมี่เบียนนาเล่ 2021ถักทอเส้นใยอีสาน สู่สายใยโลก ซึ่งเป็นงานใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในปลายปีนี้ เป็นต้น”

นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี กล่าวว่าไมซ์เป็นภาคธุรกิจสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยเมืองพัทยามีความพร้อมทั้งในด้านการท่องเที่ยวและไมซ์ จึงได้เตรียมแผนการเปิดเมืองภายใต้โครงการ Pattaya  Move on โดยใช้ “เกาะล้านแซนด์บ๊อกซ์” ซึ่งเป็นพื้นที่เกาะในการเป็นโมเดลนำร่องตามแบบแผนภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และจัดทำ Sealed Route ครอบคลุมพื้นที่เมืองพัทยา บางละมุง และสัตหีบ โดยเตรียมเปิดเมืองพัทยาวันที่ 1กันยายนนี้


“การเปิดเมืองและการจัดกิจกรรมด้านไมซ์ในเมืองพัทยามีความเกี่ยวข้องกัน 3 เรื่อง คือ 1.วัคซีนซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เมืองพัทยาขับเคลื่อนไปข้างหน้าได้ 2.สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความพร้อมในทุกด้านทั้งโครงสร้างพื้นฐาน ศูนย์ประชุมขนาดใหญ่ ห้องประชุมขนาดต่างๆ ในโรงแรม รวมถึงความร่วมมือกับทีเส็บในการส่งเสริมไมซ์เพื่อช่วยสร้างรายได้และเสริมความเข้มแข็งให้กับชุมชน และ3.โอกาสทางธุรกิจที่จะเป็นเมืองหลักของพื้นที่พิเศษ EECนอกจากนี้ยังได้วางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองภายใต้แนวคิด NEO Pattaya ที่ครอบคลุมทั้งเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม รวมถึงการพัฒนาต้นแบบ 5Gให้ชายหาดมีระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารเมืองพัทยาอีกด้วย

 


นายสนธยา กล่าวอีกว่า การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของเมืองพัทยาจะดำเนินการร่วมกับภาครัฐเอกชนในการดึงงานระดับWorld Event และงานประชุมนานาชาติเข้ามาจัดอย่างต่อเนื่อง อาทิ Family Planning ของมูลนิธิบิลเกตส์,งานประชุมสัมมนาของไลอ้อนส์โลก, งาน Air Show ที่ดำเนินการร่วมกับทีเส็บและยังเตรียมพร้อมทั้งแผนงานกิจกรรมและงบประมาณในการจัดงานเทศกาลต่างๆ ในปลายปีนี้ด้วย เช่น งานPattaya Festival, งาน Pattaya International Fireworks, งาน Pattaya Countdown และงาน CoffeeFestival เป็นต้น

 

นายอนุชา มีเกียรติชัยกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่าขณะนี้เชียงใหม่ได้วางแผนพัฒนาจังหวัดระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570)มีเป้าหมายเพื่อให้เชียงใหม่เป็นเมืองแห่งชีวิตและความมั่งคั่ง เศรษฐกิจดี ประชากรอยู่ดีกินดี และสิ่งแวดล้อมดี   โดยมองยุทธศาสตร์การพัฒนาใน 3 ประเด็น คือ การท่องเที่ยวที่เพิ่มมูลค่าสามารถปรับเข้ากับสถานการณ์ได้การเกษตรที่แม่นยำใช้ระบบดิจิทัลบนพื้นฐาน BCG และการค้าการลงทุนบนพื้นฐานของนวัตกรรมและความยั่งยืนซึ่งในทุกส่วนของแผนนี้จะมีกิจกรรมไมซ์เข้าไปผนวกอยู่ด้วยทุกระดับ   เพราะไมซ์จะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมเป้าหมายหลักของจังหวัดพัฒนาไปด้วยกันได้  อีกทั้ง ทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือได้เตรียมจัดงานใหญ่ FTI Expo 2022 วันที่ 2-6 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเชียงใหม่ขานรับการเปิดประเทศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของรัฐบาล 


ภายในงานจะมีทั้งการจัดประชุมนานาชาติการประชุมองค์กรของสภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศที่มีสมาชิกมากกว่า 12,000 คน การเยี่ยมชมโรงงานสถานประกอบการ และการสัมมนาวิชาการในหลากหลายหัวข้อที่น่าสนใจ นอกจากนี้ 43 กลุ่มอุตสาหกรรม 11คลัสเตอร์ รวมถึงธุรกิจ SME และผู้ประกอบการในภูมิภาค 17 จังหวัดภาคเหนือร่วมกันเตรียมจัดงานแสดงสินค้าเพื่อแสดงพลังของภาคธุรกิจและการผลิตที่ทำให้ประเทศยังคงเดินหน้าต่อไปได้  โดยจังหวัดเชียงใหม่เตรียมพร้อมในการเปิดเมืองด้วยโครงการ Charming Chiang Mai ในวันที่ 1 ตุลาคมนี้


นายภูมิกิตติ์ รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่าที่ผ่านมาภูเก็ตพึ่งพาเศรษฐกิจเพียงขาเดียวคือการท่องเที่ยว พอได้รับผลกระทบจากโควิด 19จึงไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะทำให้การท่องเที่ยวกลับมาอีกครั้งเพื่อกอบกู้เศรษฐกิจและในที่สุดได้นำไปสู่ยุทธศาสตร์ภูเก็ตแซนด์บ๊อกซ์ ซึ่งเป็นความร่วมมือที่เกิดขึ้นจริงระหว่างภาครัฐ ประชาชนและภาคธุรกิจ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการทำงาน ที่ทั้งสามฝ่ายได้มาประสานทำงานร่วมกันทำให้อุปสรรคที่เกิดขึ้นมีแนวทางสามารถเดินต่อไปได้ 


"ภูเก็ตได้เรียนรู้ประสบการณ์ว่าไมซ์สามารถที่จะผนวกเข้าไปไว้กับทุกเรื่องได้ จึงได้จัดทำยุทธศาสตร์ใหม่เรียกว่า “GEMMSS Strategy” คือ G- Gastronomy, E- Education, M- Marina, M- Medical, S-Sport City, S-Smart City เพื่อต่อยอดเศรษฐกิจของภูเก็ตจากเดิมที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียวและทุกสาขาธุรกิจที่แตกออกมาจะมีกิจกรรมไมซ์เข้าไปผนวกเข้าอยู่ด้วยจังหวัดภูเก็ตแม้จะไม่มีศูนย์ประชุมขนาดใหญ่แต่ภูเก็ตทั้งเกาะสามารถจะเป็นศูนย์ประชุมที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศได้ ด้วยความพร้อมและศักยภาพของโรงแรมบุคลากร รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทั้งท้องทะเล ชายหาด สวนเกษตร สนามกีฬาที่มีความหลากหลายตลอดจนบริการที่เพียบพร้อมสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นจุดแข็งในการสร้างสรรค์การประชุมที่มีเสน่ห์ในแบบเฉพาะสามารถขับเคลื่อนให้ภูเก็ตไมซ์ซิตี้ก้าวสู่การเป็นเมืองไมซ์เวิลด์คลาสได้”


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"