ไทยเตรียมจัดงานนิทรรศการการบิน"Thailand International Air Show "ใหญ่ที่สุดในSEA 


เพิ่มเพื่อน    

อุตสาหกรรมอวกาศ

 

สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ TCEB (สสปน.) ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยประมูลสิทธิ์จัดงานแสดงสินค้านานาชาติจากต่างประเทศ ในช่วงวิฤตโควิด-19 และวางกลยุทธ์ขับเคลื่อนงานแสดงสินค้านานาชาติ ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม ต่างๆอาทิ อุตสาหกรรมอวกาศและการบิน อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ ฯลฯ  และเป็นการประชาสัมพันธ์ ความพร้อมของประเทศไทยภายใต้แผนแม่บทอุตสาหกรรม “ไทยแลนด์ล็อก-อินอีเวนท์” (Thailand LOG-IN Events)

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือทีเส็บ ให้ข้อมูลว่า  แม้ว่าเรายังต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด-19 แต่เราก็ต้องวางแผนในอนาคต โดยใช้ไมซ์เป็นเครื่องมือ ซึ่งเป้าหมายหลักของแผนแม่บทของทีเส็บ แบ่งเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้ารการส่งเสริมงานแสดงสินค้านานาชาติทุกรูปแบบที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมอวกาศและการบิน รวมไปถึงอุตสาหกรรมก้าวหน้าของประเทศและในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และด้านการผลักดันให้เกิดงานแสดงสินค้านานาชาติกลุ่มดังกล่าวในประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ EEC เพื่อเร่งพัฒนาการของอุตสาหกรรมเป้าหมาย

 ผอ.ทีเส็บ กล่าวต่อว่า ทีเส็บ พร้อมที่จะสนับสนุนทางด้านการเงิน การอำนวยความสะดวก และการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันของภาคเอกชน สร้างความมั่นใจแก่ธุรกิจและนักลงทุนทั่วโลกให้เลือกเดินทางมาประกอบธุรกิจ ผ่านแพลตฟอร์มงานแสดงสินค้านานาชาติภายใต้แผนแม่บทนี้ สู่การค้าการลงทุนในพื้นที่ EEC โดยมีเมืองพัทยาเป็นศูนย์กลางต่อไปในอนาคต ที่จะการจัดงาน Thailand International Air Show ซึ่งจะเป็นงานจัดแสดงสินค้าของกลุ่มอุตสาหกรรมอวกาศและการบินที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตอกย้ำศักยภาพของประเทศไทย ในฐานะผู้นำการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมแสดงสินค้านานาชาติของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และปูทางพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์แบบก้าวกระโดดขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยสู่สถานะประเทศรายได้สูงทัดเทียมกับนานาประเทศ


นายจิรุตม์ กล่าวอีกว่า งานไทยแลนด์ล็อก-อินอีเวนท์ จะอยู่ในแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง 3 ปี เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมล็อก-อิน และอุตสาหกรรมเป้าหมายด้วยงานแสดงสินค้านานาชาติ ที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างรัฐและเอกชน สร้างการค้าต่อยอดการลงทุนส่งเสริมธุรกิจ ตั้งแต่ขนาดย่อมจนถึงขนาดใหญ่ เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และทักษะในแต่ละอุตสาหกรรม เหนี่ยวนำนวัตกรรมใหม่ ๆ เข้าสู่ประเทศไทย เพื่อไม่ให้เกิดการกระจุกตัวเพียงศูนย์กลาง แต่ขยายงานลงสู่พื้นที่พันธมิตรหลัก อย่างสำนักงาน อีอีซี ในฐานะจุดหมายปลายทางใหม่   สำหรับนักลงทุนทั่วโลก 


"และเมืองพัทยาในฐานะไมซ์ซิตี้แห่งแรกของประเทศไทย ไม่ต่ำกว่า 15 งาน เสริมสร้างความเข้มแข็งให้อุตสาหกรรมงานแสดงสินค้านานาชาติรองรับการจัด Thailand International Air Show เต็มรูปแบบในปี 2568 ณ พื้นที่ Aerotropolis ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา"ผอ.ทีเส็บกล่าว

พื้นที่่อีอีซี ศูนย์กลางอุตสาหกรรม

 

ด้านนายรัตนชัย สุทธิเดชานัย ที่ปรึกษาเมืองพัทยาด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม กล่าวว่า เมืองพัทยามีนักเดินทางกลุ่มไมซ์เดินทางสูงสุดเป็นอันดับ 3 ของประเทศ และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประสบการณ์การรองรับการจัดงานประชุมงานแสดงสินค้านานาชาติและเมกะอีเวนท์มากมาย ทำให้พัทยาเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญที่พร้อมรองรับงานไมซ์ได้อย่างครบวงจร ซึ่งแม้ว่าในช่วงโควิด-19 ที่ผ่านจะได้รับผลกระทบจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่หายไปหมด และได้ฟื้นขึ้นมาจากคนไทยไปเที่ยว ทำให้เราต้องวางแผนดำเนินเรื่องส่งเสริมการท่องเที่ยวที่สู่ชุมชนให้มากขึ้น รวมไปถึงผู้ประกอบการร้านค้า โรงแรมต่างๆ ที่พร้อมรองรับการจัดการประชุม สัมมนา และพร้อมเข้าสู่การเป็นเมือง EEC ในอนาคตด้วย


ด้าน ดร.คเณศ วังส์ไพจิตร ผู้ช่วยเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC กล่าวว่า เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้ครอบคลุมพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ป็นจุดศูนย์กลางที่น่าลงทุนให้ความสนใจ และเป็นหนึ่งในแผนที่อยู่ภายใต้ยุทธศาสตร์ 20 ปี จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเขตส่งเสริมรองรับกิจการพิเศษ เช่น ด้านโครงสร้างพื้นฐาน และโลจิสติกส์ ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและกิจการอุตสาหกรรมอย่างน้อย 10 อุตสาหกรรม และต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจ ที่สำคัญของประเทศไทย โดยเข้าเชื่อมโยงเป็นส่วนขยายของกรุงเทพฯ และปริมณฑลไปทางตะวันออก สามารถเชื่อมโยงกันได้สะดวกทั้ง ทางน้ำ (เรือและท่าเรือ) ทางบก (ทางด่วน รถไฟ และ รถไฟความเร็วสูง) และทางอากาศ (สนามบิน)  เป้าหมายปัจจุบันมีการพัฒนาสู่เฟสที่ 3 คือมุ่งเน้นอุตสาหกรรม กลุ่มเป้าหมายในด้านเทคโนโลยีองค์ความรู้ และทรัพยากรมนุษย์ ผลักดันให้เกิดการลงทุนในพื้นที่ประตูสู่พื้นที่การลงทุนในเอเชีย 

 

“ในส่วนความคืบหน้าด้านโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา โดยจะมี สถานีรถไฟ 5 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา อู่ตะเภา  การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Aerotropolis) ดังนั้นหากรวม 3 สนามบินที่กล่าวมาจะสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 100 ล้านคน/ปี ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดระยะที่ 3 และท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 ที่จะมีกำหนดจะแล้วเสร็จพร้อมรองรับกิจการอย่างเต็มศักยภาพภายในปี 2569  ในส่วนของผลกระทบจากสถานการณ์ โควิด-19 ที่อาจจะยืดเยื้อไปถึงช่วงปลายปี 2563 หรือครึ่งปีแรกของปี 2564 จะไม่ส่งผลกระทบต่อการให้บริการสนามบินอู่ตะเภาที่จะคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568  นอกจากนี้การพัฒนาพื้นที่อีอีซีในระยะยาวให้เป็นมหานครการบินภาคตะวันออก ที่ต้องการให้เกิดเป็นเมืองท่าและเมืองธุรกิจสำคัญของประเทศไทย จะยังคงเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์สำคัญของ ประเทศที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้เติบโตแบบก้าวกระโดด”  ผู้ช่วยเลขาธิการ  กล่าว  

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"