'ปิยบุตร'หลับตาเห็น!ถ้า'ประยุทธ์'ไป เกิดทวิอำนาจ ก่อนจบดังที่'เลนิน-ทรอตสกี้'ก่อปฏิวัติรอบสอง


เพิ่มเพื่อน    

3 ก.ย.64-นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า ถ้าประยุทธ์ไปจริง แล้วอย่างไรต่อ?

สองวันที่ผ่านมา มีกระแสข่าวว่า ประยุทธ์ จันทร์โอชา อาจต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เพราะ ความขัดแย้งกันภายในของพรรคพลังประชารัฐ จนทำให้ประชาชนลุ้นกันเต็มที่ว่า การลงมติในวันเสาร์ที่ 4 กันยายนนี้ อาจมี ส.ส.ซีกรัฐบาล “แตกแถว” ไม่ลงมติไว้วางใจประยุทธ์มากกว่า 30 เสียง จนทำให้ประยุทธ์ต้องพ้นจากตำแหน่งไป 

เมื่อเกิดกระแสข่าวนี้ขึ้นมา ก็มีการวิเคราะห์กันไปต่างๆนานาว่า หากประยุทธ์พ้นจากตำแหน่งจริง ต้องมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น พรรคการเมืองใดจะไปร่วมบ้าง บางฝ่ายเสนอว่า ระบบรัฐธรรมนูญถูกออกแบบมาให้ถึงทางตัน เราไม่มีวัน “ปลดล็อค” ได้ หากไม่ไล่ประยุทธ์ไปก่อน ดังนั้น พรรคการเมืองทุกพรรคควรยอมร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลไปก่อน แม้แต่ละพรรคอาจจะขัดแย้งหรือต่อสู้กันมาก็ตาม 

เมื่อคืนวาน ผมเข้าไปฟังห้องใน Clubhouse มีการอภิปรายเรื่องนี้ ผู้ดำเนินรายการได้มีน้ำใจเชิญผมร่วมแสดงความเห็น แต่ผมมีนัด จึงไม่สามารถร่วมพูดคุยได้ ต้องออกจากห้องไปก่อน

ส่วนตัวผมเอง ถูกคนเจ็ดคนใส่ชุดครุยนั่งบนบัลลังก์กระทำการในนามศาลรัฐธรรมนูญ ตัดสิทธิทางการเมืองของผม 10 ปี ไม่สามารถเป็นสมาชิกพรรคใดได้ ไม่สามารถครอบงำพรรคใดได้ ไม่สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้ ผมจึงไม่อาจไปรู้หรือตัดสินใจได้ว่าแต่ละพรรคการเมืองจะดำเนินการอย่างไร แต่จะขอร่วมวิเคราะห์และเสนอแนะต่อสาธารณะ ดังนี้ 

ประการแรก ต้องแยกการไล่ประยุทธ์ออกไปกับการตั้งรัฐบาลใหม่ออกจากกัน 

การร่วมมือกันล้มประยุทธ์ คือเรื่องหนึ่ง การเลือกบุคคลมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาล ก็อีกเรื่องหนึ่ง 

ไม่จำเป็นว่า ล้มประยุทธฺได้แล้ว ต้องเข้าไปร่วมรัฐบาลที่กำลังก่อตั้งขึ้นใหม่ โดยอัตโนมัติ 

ณ วันนี้ ต้องผนึกกำลังล้มประยุทธ์ให้ได้ก่อน ตราบใดที่คนคนนี้ยังเป็นนายกรัฐมนตรีอยู่ การเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยไม่มีทางเกิด การทำรัฐธรรมนูญใหม่ไม่มีทางเกิด การปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไม่มีทางเกิด 

จนถึงเวลานี้ เรายังไม่อาจทราบแน่ชัดว่า พรรคพลังประชารัฐจะแตกแถวจริงหรือไม่ การประลองกำลังกันภายในพรรคของพวกเขาในยกสุดท้าย ประยุทธ์อาจมีเวทมนตร์ของวิเศษ จนทำให้เขาพลิกกลับมาก็เป็นได้ ดังนั้น ควรผนึกกำลังในสภา นอกสภา เพื่อเอาคนคนนี้ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีให้ได้เสียก่อน 

ประการที่สอง การจัดตั้งรัฐบาลจำต้องพิจารณาถึงอุดมการณ์ความคิดแนวทางของพรรคการเมืองด้วย 

ในอดีตที่ผ่านมา มักจะพูดกันว่า การเมืองไทย “ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร” ด่ากันในสภาแบบ “ผีไม่เผา เงาไม่เหยียบ” ถึงเวลาก็เจรจากันได้ ร่วมรัฐบาลกันได้ 

แต่ ณ วันนี้ การเมืองไทยได้เดินหน้าไปมากกว่าเดิม ภูมิทัศน์ทางการเมืองไทยเปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว การร่วมรัฐบาลไม่สามารถทำได้ด้วยวิธีเพียง แกนนำนั่งคุยกัน ตกลงกัน แบ่งเก้าอี้รัฐมนตรีกัน แล้วจบ 

ตรงกันข้าม พรรคการเมืองใดจะร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองใด จำเป็นต้องพิจารณาอุดมการณ์แนวทางของพรรคประกอบด้วย ในกรณีที่ร่วมรัฐบาลกัน ก็ต้องทำสัญญาข้อตกลงร่วมกันว่าไปร่วมกันภายใต้เงื่อนไขใดและเปิดเผยต่อสาธารณะ เมื่อไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ก็ต้องถอนตัวจากรัฐบาลทันที 

หากเราต้องการให้พรรคการเมืองไทย เป็นพรรคอุดมการณ์จริง เป็นพรรคที่มีอัตลักษณ์ชัดเจนจริง เป็นพรรคที่จำแนกแยกแยะได้จริงว่า อ๋อ ถ้าพูดถึงพรรคนี้ ก็คือ ที่รวมตัวกันของคนที่คิดแบบนี้ เราก็ต้องเริ่มต้นตั้งแต่ตอนนี้ มิใช่ ปล่อยให้พรรคการเมืองกลายเป็น “ที่สุมหัวกันของคนอยากเป็น ส.ส.และรัฐมนตรี” ตั้งขึ้นมาเพื่อรวมคนที่ชำนิชำนาญในการชนะเลือกตั้งได้เป็น ส.ส. เสร็จแล้ว นับจำนวนไปแลกเปลี่ยนกลับมาเป็นเก้าอี้รัฐมนตรี 

ในประเทศที่การเมืองพัฒนาไปมากขึ้น คงไม่มีทางที่เราจะเห็นพรรคการเมืองซ้ายราดิคัล ไปร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองขวากลางได้ 

เช่นเดียวกัน ในประเทศไทย หากพรรคการเมืองพรรคหนึ่งตั้งขึ้นมาโดยประกาศตนชัดเจนว่า ต่อต้านการสืบทอดอำนาจ คสช. ต่อต้านรัฐประหาร ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ ปฏิรูปกองทัพ แต่กลับไปร่วมรัฐบาลกับอีกพรรคการเมืองหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาโดยเห็นชัดเจนว่า เป็นพรรคทหาร รับหน้าที่สืบทอดอำนาจ คสช. สนับสนุนรัฐธรรมนูญ ไม่ปฏิรูปกองทัพ ถ้าเป็นเช่นนี้ พรรคการเมืองนั้นจะไปมองหน้าสมาชิกพรรค จะไปมองหน้าผู้สนับสนุน จะไปมองหน้าคนที่ลงคะแนนให้ได้อย่างไร 

สุดท้าย “ประชาชน” อยู่ตรงไหน ในสมการเจรจาการเมืองแบบนี้? 

ดังนั้น ผมจึงเห็นว่า พรรคการเมืองใดที่ประกาศตนเป็นพรรคอุดมการณ์ หรือ based on ideology ก็ย่อมไม่มีทางไปร่วมจัดตั้งรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่เป็นขั้วตรงข้าม อย่างแน่นอน 

ประการที่สาม การเมืองในสภาจำเป็นต้องมีขุมกำลังที่สนับสนุนสอดรับกับการเมืองนอกสภา 

ในบรรดาข้อเสนอ 3 ข้อของ “ราษฎร” ได้แก่ ประยุทธ์ออกไป ทำรัฐธรรมนูญใหม่ ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ นั้น ดูเหมือนว่า ข้อแรก “ประยุทธ์ออกไป” อาจเกิดขึ้นได้เร็ว เห็นผลเป็นรูปธรรมได้ก่อน และดูเหมือนว่า ข้อสาม “ปฏิรูปสถาบันกษัตริย์” จะได้มายากที่สุด 

เพื่อมิให้การต่อสู้ของขบวนการประชาธิปไตยที่เสียสละชีวิต ร่างกาย เสรีภาพ จนผลักดันกระแสสูงได้ ต้องสูญเปล่าไปอีกครั้ง เราจำเป็นต้องมีสถาบันการเมืองในระบบและพรรคการเมืองในระบบ ที่ตรึงข้อเสนอเรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไว้ไม่ให้หายไป 

เมื่อประยุทธ์ออกไปได้ ต้องไม่นำไปสู่สถานการณ์ที่ทำให้ข้อเสนอเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ต้องหายไปด้วย 
เมื่อประยุทธ์ออกไปได้ ต้องไม่เป็นการเปิดพื้นที่ให้เฉพาะนักการเมืองได้แบ่งเค้กกันใหม่เท่านั้น แต่ต้องมีพื้นที่สำหรับการรณรงค์เรื่องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ด้วย

สิ่งเหล่านี้ จะเกิดขึ้นได้ จำเป็นต้องมีพรรคการเมืองในสภาที่ช่วยยืนยันเรื่องการปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ไว้ ต่อให้พรรคนั้นจะเป็น “แกะดำ” หรือไม่สามารถร่วมรัฐบาลกับใครได้ก็ตาม    
...
Lenin และ Trotsky อธิบายสภาวะ “ทวิอำนาจ” ไว้ว่า สถานการณ์ปฏิวัติอาจนำพาไปสู่ “ทวิอำนาจ” เมื่อการปฏิวัติก้าวรุดหน้าจนศูนย์อำนาจเก่าถูกโค่นล้มลงไป ในขณะเดียวกัน ศูนย์อำนาจใหม่ยังไม่ตั้งมั่นได้เบ็ดเสร็จ เกิดสภาวะสองขั้วแย่งชิงอำนาจกันอยู่ สองขั้วอำนาจนี้ ฝ่ายหนึ่ง อาจครองอำนาจรัฐ อีกฝ่ายหนึ่ง อาจครองใจคน ฝ่ายหนึ่ง แม้จะเข้ายึดอำนาจรัฐ ใช้กลไกรัฐแบบเดิม สถาบันการเมืองแบบเดิม แต่ก็อ่อนแอ ไม่อาจปกครองได้ อีกฝ่ายหนึ่ง ไม่มีอำนาจรัฐ แต่ก็ท้าทายได้ 

สองกลุ่มนี้ ไม่มีวันลงรอยกัน อาจรอมชอมกันได้บ้าง แต่นั่นเป็นเพียงสภาวะชั่วคราว ในท้ายที่สุด สภาวะแบบ “ทวิอำนาจ” ก็ไม่อาจปกครองได้ สถานการณ์ก็ต้องดำเนินการมาจนถึงจุดแตกหักเพื่อให้สภาวะทวิอำนาจหมดไป จนเหลืออำนาจเดียว ไม่ช้าก็เร็ว ขั้วใดขั้วหนึ่งก็จะต้องเข้ายึดแบบเบ็ดเสร็จ 

ในสภาวะหัวต่อหัวเลี้ยว-อิหลักอิเหลื่อ เช่นนี้ ไม่มีใครรู้หรอกว่า ขั้วไหนจะประสบชัยชนะ 

ถ้ากำลังไม่พอ ก็ต้องประคองสภาวะ “ทวิอำนาจ” ไว้ 

ถ้ากำลังถึงพร้อม ก็ต้องมุ่งเข้ายึด ยุติทวิอำนาจ  

ดังที่ Lenin และ Trotsky ตัดสินใจนำพลพรรคเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลชั่วคราว ก่อปฏิวัติรอบสองในเดือนพฤศจิกายน 1917.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"