'เฉลิมชัย'แฉกลับยางพาราในสต๊อก1แสนตันรัฐบาลก่อนหน้าทำเสื่อม ลั่นเข้ามาเพื่อคลายล็อก


เพิ่มเพื่อน    

 

03ก.ย.64- ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมการอภิปรายไม่ไว้วางใจช่วงบ่าย เป็นช่วงที่รัฐมนตรีทะยอยลุกขึ้นชี้แจง โดยนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงกรณีความไม่ชอบมาพากลในการระบายยางพาราในสต๊อก และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ กรณีโรคลัมปีสกิน โรคระบาดในวัว

 โดยนายเฉลิมชัย กล่าวว่า ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี เมื่อเดือนก.ค. 2562 และรัฐบาล แถลงนโยบายประกันรายได้ราคาพืชผลการเกษตร 5 ชนิด ยางพาราเป็น 1 ในสินค้า 5 ชนิด ที่รัฐบาลดำเนินโครงการประกันรายได้ เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้รับการประกันว่าจะมีการรายได้ขั้นต่ำที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ และไม่ใช่ว่าเมื่อประกันรายได้แล้วจะไม่ทำอะไรเลย ปล่อยให้ราคายางเป็นไปตามยถากรรม เราทำทุกวิถีทางเพราะเราเข้าใจว่าเกษตรกรไทยคือหัวใจของชาติ จนราคายางพารารัฐบาลไม่ต้องจ่ายชดเชยส่วนต่าง จนเรามาประสบวิกฤติโควิดซึ่งภาวะวิกฤตนี้มีผลกระทบไปทั่วโลก ทุกประเทศ ทุกสาขาอาชีพ ภาคการเกษตรก็ไม่เว้น แต่เรามีการบูรณาการการทำงานในทุกภาคส่วน ทั้งกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงต่างประเทศ บูรณาการร่วมกัน

นายเฉลิมชัย กล่าวอีกว่า เรื่องของยางพารา 104,000 ตัน มียางพาราอยู่ในสต๊อก 104,000 ตันเศษ การยางแห่งประเทศไทยทำสัญญาเช่าเริ่มตั้งแต่ปี 2555 โครงการพัฒนาศักยภาพเกษตรกรเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง โดยการซื้อยางเข้าสู่สต๊อก เพื่อให้ยางในตลาดมีปริมาณน้อยลง เพื่อรักษาเสถียรภาพ เพราะขณะนั้นราคายางตกมาก จาก กิโลกรัมละ 180 บาทเหลือ 90 บาท เมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2555 จึงรับซื้อยางเข้ามา ปริมาณทั้งหมด 213,492 ตันในราคาเฉลี่ย 98.96 บาทต่อกิโลกรัม งบประมาณ 22,782 ล้านบาท และในปี 2557 มีโครงการมูลพันธ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายางพาราเพื่อให้ยางในตลาดขณะนั้นมีราคาไม่ต่ำจนเกษตรกรไม่มีจะกิน  ที่ซื้อยางเข้าสต๊อกทั้ง 2 ครั้ง ปี 2555 กับ ปี2557 เพื่อตัดปริมาณยางในตลาดรักษาสถานภาพราคายาง เมื่อมีการนำยางเข้ามาในสต๊อก มีการระบายยางโดยครั้งแรกในปี 2557 โดยลงนามสัญญา 278,000 ตัน เมื่อทำสัญญาแล้วราคายางตกลงอย่างมากบริษัทรับซื้อยางเพียง 37,602 ตัน เนื่องจากราคาตกมากจึงไม่ได้รับซื้อครบ จึงเป็นไปสู่การกำหนด TOR ในการประมูล

นายเฉลิมชัย กล่าวต่อว่า การประมูลครั้งที่ 2 ประมูลในรอบปี 2559-2560 ซึ่งเป็นการประมูลแบบคละเหมาคุณภาพแยกโกดัง ให้พ่อค้าเข้าไปตรวจสอบคุณภาพหากพอใจโกดังไหนที่ประมูลโกดังนั้น พ่อค้าก็เลือกยางดีดีไปหมด การประมูลครั้งที่ 2 เหลือยางในสต๊อกจนถึงปัจจุบัน 104,000 ตันเศษ   9 ปีเต็ม เป็นยางที่ถูกคัดเลือกของดีไปเรียบร้อยแล้ว ยางในสต๊อกนี้คือฝันร้ายของพี่น้องเกษตรกร ตนมาช่วยคลายล็อกให้พี่น้องเกษตรกรไม่ต้องฝันร้ายต่อไปอีก จะได้ไม่ถูกยางในสต๊อกเป็นข้ออ้างของพ่อค้าบางกลุ่มกดราคา อ้างว่ายางไม่ขาดมีในสต๊อก ทั้งที่ยางในสต๊อกไม่มีสภาพที่พร้อมใช้แล้ว ยางแผ่นดิบปกติเก็บ 6 เดือนสีก็เปลี่ยน

 “ระหว่างปี 2555-2559 ค่าใช้จ่ายในการซื้อยางเข้ามาในสต๊อก ค่าเช่าโกดัง ค่าประกันภัยยางพาราใช้เงินทั้งสิ้น 2,317 ล้านบาท และปี 2559 ถึงปี 2564 ยาง ค่าใช้จ่ายรวมกัน 925 ล้านบาท โดยเป็นเงินงบรายจ่ายการยางแห่งประเทศไทยจากเงินกองทุนพัฒนายางพาราซึ่งใช้ดูแลพี่น้องชาวเกษตรกร จึงเป็นฝันร้ายที่ 2 ของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง คณะกรรมการการยางธรรมชาติจึงได้มีมติเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2563 ให้ระบายยางในสต๊อกนี้ให้หมดโดยเร็ว และนำเข้า ครม.วันที่ 3 พ.ย. 2563 การระบายต้องดูจังหวะที่เหมาะสมและไม่กระทบกับราคายางในตลาดมากนัก” นายเฉลิมชัย กล่าว

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"