สธ. เผยผู้ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็ม ได้บูสเตอร์​โดสในเดือน ต.ค. ตั้งเป้าฉีดครบ 50% ทุกจังหวัด


เพิ่มเพื่อน    

11 ก.ย.64 - เวลา 13.30น. ที่กระทรวง​สาธารณสุข​ นพ.โอภาส​ การ​ย์​กวิน​พงศ์ ​อธิบดี​กรมควบคุม​โรค​ แถลง​ข่าวสถานการณ์​การแพร่ระบาด​ของ​โรค​โค​วิด​-19 ว่าผูัติดเชื้อทั่วโลกวันนี้เพิ่มขึ้น 595,081 ราย ทำให้ทั่วโลกมียอดติดเชื้อสะสม 224,647,087 ราย โดยประเทศสหรัฐอเมริกา​เป็นประเทศที่มีการระบาดมากที่สุดโดยมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 171,125 ราย สะสม 41,741,693 ราย รองลงมาเป็นอินเดียติดเชื้อ​เพิ่มขึ้น 37,873 ราย สะสม 33,200,877 ราย สังเกตเห็นสถานการณ์​ยังขึ้นๆลงๆ แต่ในภาพรวมยังคงรุนแรง สำหรับผู้เสียชีวิตทั่วโลกเพิ่มขึ้น 9,080 ราย สะสม 4,630,843 ราย ส่วนสถานการณ์ประเทศ​ไท​ยเพิ่มขึ้น 15,191 ราย ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น​ 253 ราย

อย่างไรก็ตามเราจะลดจำนวนผู้เสียชีวิตลงเรื่อย ซึ่งเป็นสิ่งที้เราต้องร่วมมือกัน เห็นว่าในขณะนี้สถานการณ์การระบาดจะดูเหมือนลดลง จึงขอบคุณความร่วมมือของประชาชน ในการดำเนินมาตรการต่างๆ โดยในระยะต่อไปก็คงจะต้องมีการดำเนินการต่างๆมากขึ้น เช่นเรื่องของการป้องกันส่วนบุคคล การฉีดวัคซีน การตรวจคัดกรองต่างๆ ซึ่งต่อไปจะเป็นสิ่งที่เราจะต้องทำมากขึ้นแล้วก็บ่อยขึ้นก็คือเรื่องของมาตรการองค์กรถ้าสถานการณ์ดีขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มเปิดการทำกิจกรรมต่างๆ ก็จะต้องมีมาตรการที่ทำให้การระบาดไม่กลับไปมากขึ้นเหมือนเดิม ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของหน่วยงานต่างๆองค์กรต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน

นพ.โอภาส กล่าวว่า การดำเนิน​ก​ารฉีดวัคซีนตอนนี้เพิ่มขึ้น 753,503 โดส สะสม 39,631,862 โดส แบ่งเป็นเข็มแรก 26,954,546 ราย และเข็มสอง 12,063,642 ราย ในระยะต่อไปเราจะมีวัคซีน​เพิ่มขึ้น ทั้งนี้วัคซีน​แต่ละยี่ห้อ​ที่ประเทศนำมาฉีดทั้งหมดผ่านห้อง​ปฏิบัติการ​ และทุกชนิดมีประสิทธิภาพ​ในการป้องกันโรค โดยซิโนแวคเรามีการวัดประสิทธิภาพ​ลดป่วยหนักหรือเสียชีวิต​ ซึ่งการระบาดที่สมุทรสาคร​มีประสิทธิอยู่ 90.5% แต่พอเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลงไปประสิทธิภาพในช่วงหลังๆลดลง เนื่องจากเชื้อมีการกลายพันธุ์​ แต่ถ้าเราต้องการป้องกัน​โรค​ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราจะต้องมีกระบวนการ​การในการบริหารจัดการวัคซีน ซึ่งประเทศไทยใช้คือการเปลี่ยนสูตรวัคซีน เดิมวัคซีนแต่ละยี่ห้อเราจะฉีดยี่ห้อนั้นๆครบสองเข็ม แต่พอพบเหตุการณ์​แบบนี้เราได้ปรับวัคซีนที่ใช้ในประเทศไทยมาปรับสูตรหลักสูตร ปัจจุบันใช้เป็นซิโนแวค แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ข้อดีก็คือภูมิคุ้มกันในวันขึ้นพอๆกับฉีดแอสต​ร้า​เซน​เน​ก้า​ 2 ต่อสู้กับสายพันธุ์เดลต้า (อินเดีย)​ ได้ดีขึ้น

นพ.โอภาส​ กล่าวเพิ่มเติ่ม​ว่า ในระยะต่อไปกระทรวง​สาธารณสุข​จะรีบดำเนินการเพื่อให้ประชาชนได้รับวัคซีนครบสองเข็มได้เร็วขึ้น เพื่อลดอาการรุนแรง ทั้งนี้วัคซีนไม่ใช่วิธีการป้องกันโรคเพียงอย่างเดียวมาตรส่วนบุคคล ก็ยังต้องเข้มงวด นอกจากนี้กลุ่มผู้เสียชีวิตกว่า 90% เป็นกลุ่ม 608 ซึ่งเราต้องเร่งรัดการฉีดวัคซีนต่อไปครอบคลุม อย่างไรก็ตามจากนี้ไปปลายเดือน ก.ย. เราจะฉีดวัคซีนได้ทั้งหมด 45 ล้านโดส ทั้งนี้เรามีวัคซีนหลักอยู่ 4 บริษัทคือ ซิโ​นแ​วค​ แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ไฟเซอร์ ​และซิโน​ฟาร์ม​ ผลข้างเคียงทุกยี่ห้อส่วนใหญ่จะคล้ายกันมีไข้ ปวดศรีษะ​ ถ้าทานยา ลดไข้ ทานยาแก้วิงเวียน อาการก็จะดีขึ้น แต่ผลข้างเคียงที่เราติดตาม คืออาการแพ้รุนแรง ของซิโนแวคอาการที่รุนแรงคืออาการแพ้วัคซีนพบทั้งหมด 24 ราย คิดเป็น 0.1 % ต่อแสนรายส่วนแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ มีทั้งหมด 6 ราย 0.04 ต่อแสนราย

โดยทั้งหมดที่กล่าวรักษาหายกลับเป็นปกติ ส่วนภาวะลิ่ม​เลือด​อุดตัน​หลังจากได้แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ที่ประเทศสหรัฐ​อเมริกา​ และยุโรปพบค่อนข้างมาก ส่วนในเอเชียพบค่อนข้างน้อย พบเพียง 5 รายคิดเป็น 0.03 %ต่อประชากรแสนคน เพราะฉะนั้นวัคซีนหลัก 2 ตัวนี้มีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อย ถือว่ามีมาตรฐาน​ความปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ส่วนไฟเซอร์​ ที่สหรัฐอเมริกา​พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตอนนี้ในไทยพบ 1 ราย หลังจากฉีดไปประมาณ 1 ล้านโดส คิดเป็น 0.1% ต่อแสนประชากร โดยรายนี้ไม่รุนแรงและหายเป็นปกติ อย่างไร​ก็ตาม​อาการไม่พึงประสงค์​และอาการข้างเคียงเป็นสิ่งสพคัญทางกระทรวง​สาธารณสุข​ ก็มีการติดตามข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าวัคซีนมีความปลอดภัยมากแค่ไหน

"รายที่เสียชีวิต​ภายหลังการฉีดวัคซีน เวลาที่ฉีดวัคซีนเรามีการติดตามคนๆนั้นไปประมาณ 4 สัปดาห์​ หากเกิดอาการผิดปกติ ต้องเข้าโรงพยาบาล​หรือเสียชีวิต เราจะต้องมีการพิสูจน์​ว่าเกิดจากวัคซีน​หรือเปล่า ถ้าเป็นไปได้ในรายที่เสียชีวิต​เราจะต้องขอชันสูตร​ศพว่าเกิดจากอะไร และเอาผลชันสูตร​ให้คณะผู้เชี่ยวชาญ​พิจารณา​ว่าเกี่ยวข้อง​กับ​วัคซีน​หรือไม่" นพ.โอภาส กล่าว

นพ.โอภาส ยังกล่าวอีกว่า ข้อมูลฉีดวัคซีนทั้งหมดพบว่า ผู้เสียชีวิตภายหลังการฉีดวัคซีนที่รับรายงานจำนวน 628 ราย คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณา เสร็จแล้ว 416 ราย เพราะว่าส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ทั้งหมด 249 ราย พบ มีสาเหตุต่างๆกัน ทั้งนี้ติดเชื้อในระบบประสาท เลือดออกในสมอง เส้นเลือดสมองอุดตัน ปอดอักเสบรุนแรง ลิ่มเลือดอุดตันในปอด รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด และมะเร็ง เป็นต้น ส่วนอีก 32 รายไม่สามารถสรุปได้ เพราะฉะนั้นที่เราฉีดวัคซีน​ไปเกือบ 40 ล้าน​โดส​มีอยู่รายเดียวที่เสียชีวิตที่เกี่ยวข้อง​กับ​วัคซีน

นพ.โอภาส กล่าวเพิ่มเติม​ว่า​ ภาวะลิ่มเลือด​อุดตันที่ร่วมกับเกล็ดเลือด​ต่อ Vaccin-induce immune thrombotic thrombocytopenia (VITT) หลังได้รับการฉีดวัคซีนเกิดได้จากการฉีดวัคซีน​แอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ ถ้าในต่างประเทศพบค่อนข้าง​มากที่ 0.7% ต่อแสนราย ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในคนผิวขาว​ ส่วนคนเอเชีย​เกิดค่อนข้างน้อย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญ ก็ได้รับคำแนะนำภาวะนี้เกิดได้แต่น้อยมาก และสามารถรักษาให้หายถ้ามีการวินิจฉัยอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นหลังฉีดวัคซีน ถ้าเกิดอาการผิด อย่างเช่นปวดศีรษะมากแขนขาอ่อนแรง ก็ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยต่อ เพราะฉะนั้นประโยชน์ในการฉีดวัคซีนยังมีอยู่ค่อนข้างสูง จึงขอให้ประชาชนรับวัคซีนต่อไป แต่สิ่งที่เราจะต้อง เร่งรัดให้บุคลากรทางการแพทย์ให้ทราบเรื่องภาวะ VITT เพื่อให้วินิจฉัยอย่างรวดเร็ว และเพิ่มการพัฒนาการตรวจในห้องปฏิบัติการ

ส่วนกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังได้รับการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีน mRNA โดยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่นการติดเชื้อไม่ว่าจะเป็นไวรัสหรือแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อโควิค 19 โดยส่วนใหญ่เกิดใน 10 รายต่อแสน ราย สำหรับในไทยพบไม่ค่อยมาก ประมาณ 2 คนต่อประชากรแสนคน ส่วนใหญ่จะพบในวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอร์นา ส่วนวัคซีนอื่นๆพบได้แต่ไม่บ่อย ในไทยฉีดวัคซีนไฟเซอร์ 8 แสนคน พบรายงานเพียง 1 คน เป็นเพศชายอายุ 13 ปี มีอาการเจ็บหน้าอก 2 วันภายหลังได้รับการฉีดวัคซีนตรวจไม่พบการติดเชื้อที่เป็นสาเหตุของโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ขณะนี้ผู้ป่วยได้รับการรักษาและอาการดีขึ้นแล้ว

สำหรับแผนการฉีดวัคซีน​เมื่อที่ประชุมศบค.โดยนายกรัฐมนตรี​เป็น​ประธาน​ ได้เห็นชอบ แผนการจัดหาวัคซีน รวมถึงแผนการฉีดวัคซีนในเดือน ต.ค. โดยจะมีวัคซีนจากซิโ​นแ​วค​ เข้ามา 6 ล้านโดสแอสตร้า​เซน​เน​ก้า​ 10 ล้านโดส และไฟเซอร์ 8 ล้านโดส รวม 24 ล้านโดส นอกจากนี้ยังมีวัคซีนจากสิโนฟาร์ม เข้ามาอีก 6 ล้านโดส โดยตั้งแต่เดือนต.ค.เป็นต้นไปจะมีวัคซีนเข้ามาค่อนข้างมาก ซึ่งจะมีการเร่งฉีดให้กับประชาชนเพื่อลดอาการป่วยหนัก หรือเสียชีวิต และลดการแพร่ระบาด

สำหรับแผนการฉีด ที่ศบค.เห็นชอบในเดือนต.ค. เป้าหมายฉีดให้กับประชาชนอย่างน้อยร้อยละ 50  ของทุกจังหวัด โดยที่จะพยายามอย่างน้อย 1 จังหวัดมีความครอบคลุม 70% และมีต้นแบบCOVID Free Area อย่างน้อย 1 พื้นที่ซึ่งมีความครอบคลุมร้อยละ 80 นอกจากนี้ยังคงเพิ่มความควบคุมในกลุ่ม 608 ให้มากที่สุด นอกจากนั้นในจังหวัดนั้นๆหาก มีกลุ่มประชากรเป้าหมายอื่นที่สำคัญให้คณะกรรมการ​จังหวัด​จัดสรรได้ อย่างน้อยให้ครอบคลุมประชากรร้อยละ 50

นอกจากนี้ในเดือนต.ค. จะมีประชากรที่ฉีดวัคซีนเข็ม 2 ค่อนข้างมาก โดยจะฉีดให้ครอบคลุมมากที่สุด อีกประการหนึ่งในเด็กอายุ 12 ปี ที่เรามีวัคซีนไฟเซอร์เข้ามา เราจะเร่งฉีดเพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปิดภาคเรียนโดยกระทรวงสาธารณสุขจะร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการดำเนินการ ส่วนคนที่ฉีดซิโนแวคไปแล้ว 2 เข็ม มีการเห็นชอบฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในเดือนต.ค. หากมีความพร้อมอาจจะเริ่มได้ก่อน

"ภาพรวมเราจะฉีดให้กับประชาชนทั่วไป 16.8 ล้านโดส เด็กนักเรียน 4.8 ล้านโดส แรงงานในระบบประกันสังคม 0.8 ล้านโดส หน่วยงานอื่นๆเช่นองค์กรภาครัฐราชทัณฑ์ 1.1 ล้านโดส และผู้ได้รับวัคซีนซิโนแวคครบ2 เข็มและต้องการเข็มกระตุ้นเข็มที่ 0.5 ล้านโดส รวม 24 ล้าน โดยสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์" นพ.โอภาส​ ระบุ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"