ตั้งรร.นวัตกรผลิตนักเทคโนโลยี-ดิจิทัลป้อนระบบเศรษฐกิจ"อีอีซี"


เพิ่มเพื่อน    

ศธ.ตั้ง รร.จุฬาภรณ์ ชลบุรี เป็นโรงเรียนนวัตกร  สร้างนักเทคโน-ดิจิทัล ป้อน"อีอีซี"ดึง ผู้เชี่ยวชาญจาก ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยร พร้อมเตรียม ออกหลักเกณฑ์คัดเลือก ผู้รับทุนไจก้า คาดเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 62 

 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยนายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาฯ กอศ.) และคณะทำงานโคเซ็น ประเทศญี่ปุ่น เดินทางลงพื้นที่ระเบียงเศรฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อหารือถึงแนวทางการดำเนินการสร้างโรงเรียนนวัตกร  โดยนพ.ธีระเกียรติ กล่าวตอนหนึ่งว่า ศธ. วางแนวทางการสร้างนักนวัตกรไว้ 2 แนวทาง คือ แนวทางแรกรัฐบาลญี่ปุ่นโดยองค์การความร่วมระหว่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ ไจก้า จะสนับสนุนให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อเป็นทุนการศึกษา จำนวน 500 ทุน ปีละ 80 คน โดยเป็นการให้ทุนไปเรียนหลักสูตรโคเซ็นที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะการคัดเลือกผู้เข้ารับทุนดังกล่าวจะคล้ายกับการคัดเลือกการสอบเข้าโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และ โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย และมีตัวแทนจากสถาบันโคเซ็นประเทศญี่ปุ่น มาร่วมคัดเลือกด้วย ซึ่งเราจะทำให้เป็นมาตรฐานสากล ดังนั้นเด็กที่ได้รับทุนดังกล่าวต้องกลับมาใช้ทุนทำงานในภาครัฐหรือเอกชน โดยคาดว่าเร็วๆนี้จะร่างหลักเกณฑ์การให้ทุนดังกล่าวเสร็จ  เพื่อให้เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2562 ทันที 


นพ.ธีระเกียรติ กล่าวต่อว่า ส่วนแนวทางที่สอง คือการสร้างโรงเรียนนวัตกร ซึ่งจะดำเนินการใช้กับโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย จ.ชลบุรี  เนื่องจากมีความพร้อมทั้งด้านกายภาพและด้านวิชาการ ซึ่งแนวทางการสร้างโรงเรียนนวัตกรจะเน้นสร้างนักเทคโนโลยี และ ดิจิทัล โดยการออกแบบหลักสูตรของการเป็นโรงเรียนนวัตกรก็จะต้องเน้น 2 เรื่องหลัก คือ เทคโนโลยี และ ดิจิทัล รวมถึงการมีพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่เข้มข้นด้วย ซึ่งการสร้างโรงเรียนนวัตกรเราจะมีผู้เชี่ยวชาญจากประเทศญี่ปุ่นเข้ามาช่วยดำเนินการให้ ทั้งนี้จะเริ่มสร้างโรงเรียนนวัตกรได้เมื่อไหร่นั้นหากมีความพร้อมตนก็จะทำทันที แต่จะร่วมมือสร้างโรงเรียนนวัตกรแห่งไหนอยู่ระหว่างดำเนินการ โดยเบื่องต้นคิดว่าจะเริ่ม 1 แห่งในพื้นที่อีอีซี เพราะตนยังไม่อยากขยายจำนวนเยอะๆ ขอทำโรงเรียนหนึ่งแห่งให้ดีไปก่อน 


“เราต้องการสร้างโรงเรียนนวัตกรเพื่อผลิตนักเทคโนโลยี เหมือนกับการมีโรงเรียนเตรีมทหาร และแม้เราจะมีโรงเรียนเตรียมนักวิทยาศาสตร์อยู่แล้วแต่เด็กในกลุ่มนี้กลับมุ่งไปเป็นเป็นหมอ ไม่ได้เป็นนักนวัตกรรมนักเทคโนโลยีอย่างที่ประเทศต้องการ อีกทั้งแม้เราจะมีความร่วมมือกับสถาบันโคเซ็นก็ตามแต่หลายคนมักคิดว่าความร่วมมือจะต้องเกิดกับวิทยาลัยอาชีวะ จึงทำให้พบปัญหาว่า ความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาเทคโนโลยีฐานวิทยาศาตร์ ชลบุรี กับ วิทยาลัยฐานวิทย์ฯ จ.นครราชสีมา ผลิตเด็กเป็นช่างฝีมือที่ดีแต่ไม่ได้ผลิตให้เป็นนักนวัตกร และครูอาชีวะยังขาดความเข้มข้นในการสอนวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ด้วย” รมว.ศธ.กล่าว 


เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการโอนความร่วมมือของโคเซ็นให้อยู่กับ สพฐ.หรือไม่ นพ.ธีระเกียรติ กล่าวว่า ตนไม่อยากให้มองเช่นนั้นว่าจะโอนหรือไม่โอน เพราะทุกวันนี้การดำเนินการทั้งสองหน่วยงานก็บูรณาการการทำงานร่วมกันอยู่แล้ว ซึ่งเราต้องยึดหัวใจหลักสำคัญของเรื่องนี้คือการสร้างนวัตกรให้ตอบโจทย์ประเทศในอนาคต 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"