ขับเคลื่อน"เกษตรอินทรีย์"แตกตัวทั่วไทย 


เพิ่มเพื่อน    

กิจกรรมเอามื้อสามัคคี ที่มีผู้สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 400คน

 

การดำเนินกิจกรรม"เอามื้อสามัคคี แตกตัวทั่วไทย"โดยสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ  บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และภาคีเครือข่าย ซึ่งในการดำเนินกิจกรรมโครงการ “พลังคนสร้างสรรค์โลก รวมพลังตามรอยพ่อของแผ่นดินปีที่ 6 ตั้งเป้าที่จะ"แตกตัวเอามื้อสามัคคี"ในแต่ละภาค ให้ครบทุกภาค โดยเริ่มเป็นครั้งที่สอง ที่ภาคตะวันออก โดยจัดกิจกรรม “เอามื้อสามัคคี” ที่บ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ให้ความรู้เรื่องเกษตรอินทรีย์เพื่อความปลอดภัยของทั้งผู้ปลูกและผู้บริโภค พร้อมถ่ายทอดตัวอย่างความสำเร็จ “คนต้นแบบ” สร้างแรงบันดาลใจให้คนทั่วประเทศร่วมสานต่อศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่น 

อ.ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

 

 ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หรืออาจารย์ยักษ์ อดีตประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เป็นประธานเปิดงานกล่าวว่า          จากการดำเนินงานต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 6 เราเห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมว่า คนที่นำแนวทางศาสตร์พระราชาไปปฏิบัตินั้นมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้ สอดคล้องกับแนวทางเกษตรกรรมยั่งยืน ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พระราชทานไว้เพื่อนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง ตามที่พระองค์ท่านทรงเน้นย้ำว่า ความยั่งยืน คือ ความเหมาะสม โดยเริ่มจากการพัฒนาคน นอกจากนี้ กิจกรรมเอามื้อสามัคคียังสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลที่จะเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนให้ได้ 5 ล้านไร่ ในปี 2564 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 หรือในช่วงปี 2560 - 2564  ขณะนี้ ทุกกระทรวง รวมทั้งรัฐธรรมนูญ ต่างระบุให้เราเดินตามรอย ในหลวงร.9 และร..10 ก็ทรงมาย้ำอีกว่า เราจะต้องเดินตามรอยพ่อของท่าน ทุกแห่งทุกระบบเกษตรกร จะต้องพึ่งตัวเองได้ ไม่ใช้สารเคมี ถ้าเรายังพึ่งสารเคมี ก็คือยังพึ่งตัวเองไม่ได้  โดยสนับสนุนเกษตรกรให้พัฒนาตนเอง ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตจากเดิมไปสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน เช่น เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรกรรมยั่งยืนรูปแบบอื่นๆ   เพราะถ้าเราพึ่งตนเองไม่ได้ เราก็จะสู้เวียดนามไม่ได้ เพราะเขาต้นทุนถูกกว่าเราถึงสองเท่า เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำให้ได้จริง 

 

"นอกจากนี้ ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เขียนไว้ขัด เราต้องทำการผลิตภาคเกษตรเป็น 2ระบบ คือ 1 ต้องทำให้เป็นเกษตรอินทรีย์ ต้องทำให้ได้ 6แสนไร่เป็นอย่างต่ำ  และ2.ระบบเกษตรที่กว้างกว่าเกษตรอินทรีย์ ที่เรียกว่าเกษตรยั่งยืน แบ่งย่อยออกเป็น เกษครอินทรีย์ที่ถือเป็นรูปแบบหนึ่ง เกษตรผสมผสาน เกษตรธรรมชาติแท้ๆ เกษตรทฤษฎีใหม่  และสุดท้ายคือการทำเกษตรรูปแบบอื่นๆ ที่ควรจะมีหลายแบบ แต่ที่สำคัญคือทำให้สอดคล้องกับวิถีสังคมและชุมชน ภูมิศาสตร์ที่แต่ละแห่งแต่ละภาคที่ไม่เหมือนกัน  เป้าหมายส่วนนี้คือการทำ 5ล้านไร่เป็นอย่างน้อย "อ.ยักษ์กล่าว

 

เปลือกทุเรียนที่เป็นปัญหาขยะของจันทบุรี ถูกนำมาทำเป็นปุ๋ยสวนเกษตรอินทรีย์

 

ปุ๋ยอินทรีย์จากเปลือกทุเรียนที่ผ่านการหมักโดยน้ำหมักน้ำจืดเป็นเวลา 3เดือน

 

 

รมช.กระทรวงเกษตรฯ กล่าวยืนยันอีกว่ารัฐบาลนี้เอาจริงเอาจังกับเรื่องเกษตรอินทรีย์มาก มีการตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน   มีรองนายกฯเป็นประธาน  เพื่อโยงไปถึงอีกหลายกระทรวง เช่น การตลาด ซึ่งกระทรวงเกษตร ฯไม่ได้ทำอย่างเดียว แต่ต้องโยงไปที่กระทรวงสาธารณสุข  มาร่วมเป็นตลาดให้ เพื่อให้โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกว่าพันแห่ง นำอาหารที่เป็นเกษตรอินทรีย์ที่เป็นอาหารปลอดภัยไปให้คนไข้ในโรงพยาบาลได้กิน  ซึ่งมีการตกลงร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขแล้ว   จะปล่อยให้เหมือนเดิมไม่ได้  2.กลุ่มโรงเรียน ถ้าเราปล่อยปละละเเลยให้เด็กกินอาหารที่มีสารพิษอย่างทุกวันนี้เประเทศไม่รอดแน่  โรงเรียนทั่วทั้งประเทศ 3.6 หมื่นโรง  200 มหาวิทยาลัย ก็ควรจะได้รับประทานอาหารที่เป็นเกษตรอินทรีย์   3. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็ต้องการให้นักท่องเที่ยว 15ล้านคนได้กินอาหารที่ปลอดภัย จะได้ไปประชาสัมพันธ์ได้ว่า เราเป็นหนึ่งในโลกที่ดูแลนักท่องเที่ยวได้กินอาหารปลอดภัย 

 

 

"การแตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี ก็คือการการฟื้นฟูพลังการร่วมมือของสังคมไทย เป็นการทำตามแบบภูมิสังคม สังคมไทยคือสังคมที่ช่วยเหลือกัน ไม่ใช่แบมือรอขอรัฐมาช่วย  ส่วนรัฐก็ปรับบาทบาทให้เหมาะสมกับโลกยุคปัจจุบัน คือหนุนประชาชนให้ช่วยตัวเอง   ท่านนายกฯก็พูดชัดว่าทำยังไงให้อาหารปลอดภัย ไปลดสารพิษให้ได้  เกษตรกรต้องแข็งแรง ต้องมั่งคั่ง ต้องหลุดพ้นเส้นความยากจนให้ได้ การเกษตรจะได้อยู่ยั่งยืนถึงลูกหลาน ถ้าพ่อแม่อดอยากยากจน ลูกที่ไหนอยากจะมาทำการเกษตรอีก ชนบทต้องแข็งแรงให้ได้ และภาควิชาการต้องลูกขึ้นมารับภาระ มหาวิทยาลัย โรงเรียนต้องลุกขึ้นมาทำ สอนเรื่องเหล่านี้กันในโรงเรียน สอนประชาชน   ส่วนภาคประชาชนจะต้องร่วมมือกัน ช่วยกัน ไม่ใช่แบมือขออย่างเดียว ถ้าเป็นอย่างนั้นจะไปไม่รอดทั้่งประเทศ  และบทบาทภาคเอกชนก็ต้องมาช่วยเหมือนเชฟรอน ก็จะเกิดพลังในการชี้นำสังคม"

 

 

อ.ยักษ์เล่าอีกว่า การเห็นคุณค่าของเกษตรอย่างยั่งยืน ทำให้ประเทศบรูไน เชิญตนไปช่วยผลิตข้าว ก่อนหน้านี้ ได้ขอความช่วยเหลือผ่านกรมการข้าว ส่งเจ้าหน้าที่ไป 2ปี  แต่เข้าใจว่ายังไม่ทำอะเไรเลย ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลง ทางบรูไนเลยจะเชิญตนเองไป ไปพัฒนาคนของเขาให้ผลิตข้าวให้พอกิน เพราะเขารู้ในอนาคตน้ำมันเขาจะต้องหมด ไม่มีเงินซื้อกินอย่างเดียว อย่างสมัยก่อนอีกแล้ว สิ่งเหล่านี้  สะท้อนให้เห็นว่าผู้นำประเทศเขาฟังพระเจ้าอยู่หัวในหลวงร. 9 ของเรา และเขามีความศรัทธาจึงทำตาม 

 

การขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ ในลักษณะแตกตัวทั่วไทยที่กำลังดำเนินไป  แต่อีกด้านหนึ่ง ภาครัฐกลับมีการอนุมัติให้สารเคมีเกษตรอันตราย 3ชนิด ได้แก่ พาราควอต ไกลโคลเซต และ คลอร์ไพริฟอส ให้ขึ้นทะเบียนใช้กันต่อไป  อ.ยักษ์ กล่าว โดยส่วนตัวเห็นว่าความคิดเห็นของหมอในกระทรวงสาธารณสุข ที่เสนอแนะให้ยกเลิกการใช้สารเคมีอันตราย 3ชนิดนี้ มีน้ำหนัก แต่การอนุมัติได้อยู่ที่กลไกหลัก คือกระทรวงอุตสาหกรรม โดยคณะกรรมการวัตถุอันตราย  อย่างไรก็ตาม ในฐานะผู้ผลักดันเกษตรอินทรีย์ และยังสวมหมวกเป็นรมช.ก.เกษตรฯ ทำให้ขณะนี้ ได้มีมาตรการที่จะปกป้องเกษตรอินทรีย์แล้ว โดยได้หารือร่วมกับกระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการลงนามกับ 4จังหวัด ขับเคลื่อนให้การฉีดพ่นสารเคมี อยู่ในขอบเขต ทั้งนี้เพื่อไม่ให้สารเคมีดังกล่าวมีผลกระทบกับผู้ที่ทำเกษตรอินทรีย์ และการลงนามหลังจาก 4จังหวัดนี้แล้ว จะมีอีก 24 จังหวัดที่จะลงนามความร่วมมือลักษณะนี้ต่อๆไป

 

 

"ผมประชุมเรื่องเกษตรอินทรีย์ทุกเดือน  ส่วน  4 จังหวัดที่จะลงนาม  เราเชิญผู้ว่าราชการจังหวัดมาลงนามไว้แกนนำชาวบ้าน สหกรณ์  ลงนามร่วมกันจะเคลื่อนอย่างนี้ไปทีละ 4จังหวัด เพราะผมคาดหวังว่าทั้งประเทศจะต้องเกิดเกษตรอินทรีย์ให้ได้มากที่สุด  ภายในเวลา 7เดือนของรัฐบาลชุดนี้ "อ.ยักษ์กล่าว

 

อ.ยักษ์ และอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ  เชฟรอนฯ ลงมือทดลองฉีดพ่นสมุนไพรป้องกันแมลง

ในสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์ ของ แววศิริ ฤทธิโยธี

 

ไม่ได้มีแต่เพียงการอนุมัติให้มีการใช้สารเคมีเกษตรอีกต่อไป แต่เกษตรอินทรีย์ยังมีอุปสรรคด้านอื่นๆอีก อ.ยักษ์ กล่าวว่าเราทำเกษตรอินทรีย์มาตั้งแต่ปี 2545 ที่จันทรบุรี ผลักดันจนกลายเป็นวาระแห่งชาติในปี 2548  แต่ประกาศแล้วก็นิ่ง  แม้สำนักงบประมาณจะจัดสรรงบฯขับเคลื่อน ปีละพันกว่าล้านบาท และจัดสรรงบฯในจำนวนดังกล่าวมาให้จนถึงปัจจุบัน  แต่ในช่วง 10กว่าปีเกษตรอินทรีย์ก็ยังไม่ไปถึงไหน    ปัญหาคือ ผู้ต้องปฎิบัติไม่นำไปปฎิบัติ โดยภาควิชาการถือว่ามีบทบาทสำคัญ  แต่ทุกวันนี้ภาควิชาการไม่ได้แสดงบทบาทที่เห็นแก่ประชาชน ยังเห็นแก่ลาภยศ สรรเสริญ เห็นแก่ตำแหน่ง ทำงานเอายศ เอาตำแหน่ง  อีกทั้งภาคราชการ ก็เดินตามภาควิชาการ ส่วนภาคธุรกิจเอกชน ก็เห็นความสำคัญของรายได้ กำไร มากกว่าการบาดเจ็บ ล้มตาย ของประชาชน ไม่สนใจว่าถ้าหากกินสารเคมีมากๆเข้าไปแล้วจะเป็นอะไร 

 

 

แต่ต่อมาเกษตรอินทรีย์ มาขยับขึ้นได้ ก็สมัยท่านนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ช่วงที่ยังเป็นผู้บัญชาการทหารบก ได้ดูละครทางมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ เรื่อง เย็นศิระน้ำพระทัย    ดูเสร็จให้ทหารทุกภาค ไปอบรมที่ศูนย์เกษตรกรรมธรรมชาติ ที่มาบเอื้อง และตั้งศูนย์แบบมาบเอื้องเป็นร้อยศูนย์ภายใน 6เดือน  ตอนนี้ไปดูได้แม้แต่ในหน่วยสงครามพิเศษก็ทำเกษตรอินทรีย์ 600 ไร่

 

 

"ร.10 ท่านก็ทรงต้องการสืบสานงานของพ่อท่าน ก็มีการอบรมจิตอาสาให้มีความรู้เรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่นี้ไปแล้วประมาณ 200 คน เพื่อให้งานของในหลวงร.9 ขับเคลื่อนไปได้เร็วยิ่งขึ้น และขณะนี้กำลังทำจิตอาสาให้กับหน่วยราชการ อื่นๆ" 

 

  อ.ยักษ์กล่าวอีกว่า การประกาศว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ปลอดสารเคมี และเป็นเกษตรอินทรีย์ จะมีขึ้นในวันที่  5 ธันวาคมปีนี้ ที่เป็นวันดินโลก ซึ่งจะมีการเชิญฑูต108ประเทศมาฉลองใหญ่   และรำลึกถึงในหลวงรัชกาลที่ 9 

เด็กๆเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้วิถีโคก หนอง นา ด้วย

 

ไตรภพ โคตรวงษา ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ และตัวแทนสถาบันเศรษฐกิจพอเพียง เครือข่ายภาควิชาการกล่าวว่า  โครงการฯ ที่จันทบุรี ได้รับแรงบันดาลใจจากพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่ทรงห่วงใยประชาชนในจันทบุรีซึ่งประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนผลไม้  ปัญหาภัยแล้งจึงเป็นปัญหาใหญ่ในพื้นที่  รวมทั้งยังมีการใช้สารเคมีในการเกษตรค่อนข้างมาก  กิจกรรมเอามื้อสามัคคีครั้งนี้ จึงเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ปลูกและผู้บริโภค  รวมถึงขยายผลโดยใช้ช่องทางเฟซบุ๊www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking รับสมัครผู้เข้าร่วมกิจกรรมสร้างหลุมขนมครก และมีผู้สนใจกว่า 600 คนที่จะมาช่วยกันสร้างหลุมขนมครกเพื่อเก็บกักน้ำในหน้าแล้ง   

 

"สวนที่จันทบุรีส่วนใหญ่พืชเชิงเดี่ยว แต่แนวคิดเราปลูกผสมผสาน ซึ่งการเลี้ยงดินเป็นเรื่องสำคัญ ผลไม้จะอร่อยรสชาติดีหรือไม่ ขึ้นกับดิน ถ้าเราใช้ปุ๋ยธรรมชาติ ไม่ใช้สารพิษจึงเปนเรื่องสำคัญ  การไม่ใช้สารเคมีกำจัดแมลง การทำโคก หนอง นา ในสวน ชาวสวนพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องพึ่งสารเคมี"

 

 

นายธีระ วงษ์เจริญ ที่ปรึกษา รมช. ก.เกษตรฯ ประธานสภาเกษตรกร จ.จันทบุรี ประธานศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จ.จันทบุรี กล่าวว่า   ตอนที่อาจารย์ยักษ์  เริ่มทำเรื่องเกษตรอินทรีย์  เมื่อปี2544-2545 ได้เลือก จ.จันทบุรี เป็นเป้าหมายแรกเพราะเชื่อว่าคนจันท์กล้าคิด กล้าทำ กล้าลงทุน ถ้าที่นี่ทำเกษตรอินทรีย์ได้ คนที่นๆ จะทำตาม และเปลี่ยนได้ทั้งประเทศ  อาจารย์ยักษ์และทีมงานจึงลงไปพื้นที่ ทั้งอบรมและลงมือทำต่อเนื่อง จนรัฐบาลในยุคนั้นประกาศให้เกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ  แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องเกษตรกรรมยั่งยืน   การเปลี่ยนแปลงคนจากทำเกษตรเคมีมาเป็นเกษตรอินทรีย์ไม่ใฃ่เรื่องง่าย และโครงการคุ้งกระเบน   ก็มีปัญหาเรื่องน้้ำที่มีน้ำจืดน้อย เพราะติดทะเล ส่วนดินก็เป็นดินทราย ทุกอย่างยากหมด  พื้นที่ตรงนี้จึงเหมาะทำประมงมากกว่ามาเพาะปลูกพืช  มีพืชสองชนิดที่ปลูกได้ คือมะพร้าวกับมะม่วงหิมพานต์เท่านั้น ช่วงแรกของการทำโครงการจึงยากมาก อาจารย์ ยักษ์ บอกต้องห่มดิน ต้องขนฟางข้าวมาห่มดินพื้นที่ 32 ไร่  ไม่ให้น้ำระเหยออกไป เจาะบ่อน้ำติ้นหาน้ำจืด ไม่ใช้สารเคมีเลย ต่อมาสามารถขยายชนิดพืชที่ปลูกมากขึ้น ถึงขนาดเอาแกลดดิโอลัส ที่ขึ้นในภาคเหนือมาปลูกได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่มาก  ไม่มีใครคิดว่าทำได้ ที่จะเอาแกลดดิโอลัส ที่ขึ้นภาคเหนือมาปลูกชายฝั่งทะเลได้

อ.ยักษ์และอ.ธีระ

   ต่อมามีการขอพื้นที่สาธารณประโยชน์ อีก100 ไร่มาทำเกษตรอินทรีย์ พอปี42-42 หลังวิกฤติเศรษฐกิจ  มีคนสนใจเรียนรู้ ซึ่งเราเน้นการพัฒนาคน   งานก่อตัวขึ้นจริงจังขึ้นทุกปี มีการสัมนาเกษตรอินทรีย์พลิกฟื้นวิถึไทย จนนำไปสู่การผลักดันเป็นนโยบายของชาติ ในปี 2548 หลังจากนั้นก็มีการขับเคลื่อน ซึ่งจริงๆแล้วระยะเวลาตั้งแต่ปี 2548 มาถึงขณนี้ 13ปี ที่คดว่าเกษตรอินทรีย์น่าจะผงาด ควรจะได้ไปไกลแล้ว แต่มันกลับไม่ผงาด ได้แค่ผงกเท่านั้น เราจึงตั้งเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ว่าปีนี้ 2561 เกษตรอินทรีย์จะต้องผงาดที่จันทบุรี ซี่เราได้มีการปรึกษาหารือกันแล้ว เห็นตรงกันว่า  แตกตัวทั่วไทย มาที่จันทบุรี เป็นการประกาศอีกรอบ 

 

 

"ผมเชื่อว่าสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ ตอนนี้ดีกว่ายุคก่อนมาก เมื่อก่อนไปที่ไหนมีแต่คนด่า ทำไม่ได้ท่าเดียว บ้าหรือเปล่า ผมก็ทำตัวอย่างของผม ทำกันเอง พอความสำเร็จเกิด ลูกศิษย์ลูกหาเกิด เกิดมูลนิธิ เครือข่ายกระจายตัวทั่วประเทศ  ทำไปในภาวะราชการมันไม่มีหัวใจ    ส่วนเราทำไม่หยุด ทำไปเรื่อย ตอนนี้ที่จันทน์ มีเกษตรอินทรีย์ 5,000 ไร่ นับเป็นแค่ 0.1หรือ0.2 ของพื้นที่เกษตรจังหวัด 20 ล้านไร่  แต่เราเชื่อว่าต่อไปจะขยายเกษตรอินทรีย็ได้อีก"

 

 

อ.ธีระกล่าวว่า ขณะนี้ทางกลุ่มได้ก่อตั้งสมาพันธ์ กลุ่มPGS( Partcipatory Guarantee System )  หรือการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ แบบมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นการรับรองมาตรฐานแบบไทย  โดยอิงระบบรับรองมาตรฐานของ IFOAM:International Federation of Organic Agriculture Movements เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับเกษตรกร หลีกเลี่ยงการประเมินค่าใช้จ่ายสูง และมีความยุ่งยากในการประเมิน. แต่ก่อนเคยทำตราคุ้งกระเบนรับรองผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์  

 

และในปีนี้ กลุ่ม PGS จ.จันทบุรี จึงกำหนดยุทธศาสตร์ ‘อินทรีย์ผงาด’ เฉพาะ จ.จันทบุรี โดยมีเป้าหมายขยายพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ 10,000 ไร่ในปีแรก และจะเพิ่มเป็น 10 เท่าในปีถัดไปทุกปี โดยมีทีมงานที่บ่มเพาะมาพร้อมทำงาน และสถาบันการศึกษา เช่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก และอีกหลายสถาบัน มาร่วมขับเคลื่อนงานในส่วนนี้ด้วย

 

" มาตรฐานเราเกิดจากพวกเราที่เราต้องเชื่อกันเองว่าไม่มีสารเคมียาฆ่าหญ้า 100% ไม่มีปุ๋ยเคมี  เรามีเครือข่าย6-7เครือข่าย อาทิ เกษตรกรรมทางเลือก ข้าวขวัญ มูลนิธิทั้งหลาย เป็นต้น  มารวมตัวกันสร้างมาตรฐานการรับรองแบบมีส่วนร่วม ตรวจสอบดูแล ขายผลตรวสอบที่เข้มข้น พีจีเอส จนกลายมาเป็นกาตั้งสมาพันธุ์เกษตรอินทรีย์ พีจีเอส ลงนามความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปเรียบร้อยแล้วว่า ได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้บริโภค เลมอนฟาร์ม "

 

เมื่อถามว่าในฐานะเกษตรกรจันทบุรี แหล่งปลูกทุเรียน ที่ตอนนี้มีราคาแพง เพราะการเข้ามากว้านซื้อของล้งจีน  อ.ธีระกล่าวว่า ล้งจีนมีแง่ดีในแง่ช่วยการตลาด  แต่โดยเงื่อนไขที่เราไม่มีมาตรการป้องกันเกษตรกรเราเลย ปล่อยให้เข้าบุกหน้าบ้าน ถึงหลังบ้าน ท้ายครัวได้ ตรงนี้อันตราย เพราะเขาจะเป็นผู้กุมกลไกตลาด 

 

" ถามว่าอย่างนี้ดีมั๊ย ดี ล้งจีนไม่มีความผิดอะไรเลย  เราเองต่างหากผิดที่ไม่ปกป้องเกษตรกรของเราเลย ปล่อยให้เขาทะลุทะลวงถึงก้นครัว เป็นไปได้ยังไง  ทุนเขาหนกว่าเรา เกษตรกรเรามีแค่ 10-20 ล้าน ซื้อวันเดียวก็หมดแล้ว แต่ล้งจีน เขามาทีเป็นพันล้าน ล้งใหญ่ๆ 3พันล้าน ที่เขาหมุนเวียนในช่วงผลผลิตออก ของสหกรณ์ของเรามีเหมือนกันพันล้าน แต่อยู่ที่สมาชิกหมด ไม่ได้มีมากองที่สหกรณ์ เราจะไปแข่งกับเขาได้ยังไง ดังนั้น มาตรการหรือนโยบายของรัฐต้องเปลี่ยนหมด แต่ก็ยังไม่ทำอะไร สหกรณ์เข้มแข็งไม่ใช่เรื่องไปซื้อไอ้โน่น ไอ้นี่ไปแจก แต่มันต้องเปลี่ยนความคิด กันใหม่หมด แต่ในกลุ่มของเราเกษตรอินทรีย์ เราสามารถทำการตลาดโดยไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง อย่างล้งจีน  ซึ่งต้องใช้รูปแบบอย่างนี้ถึงรอด" อ.ธีระกล่าว

ธงเชฟรอน เอกชนผู้สนับสนุนหลักปลิวไสว

 

นายอาทิตย์ กริชพิพรรธ ผู้จัดการใหญ่ฝ่ายสนับสนุนธุรกิจ บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด แกนนำภาคเอกชน กล่าวว่า เราใช้แนวคิด ‘แตกตัวทั่วไทย เอามื้อสามัคคี’ คือการนำสิ่งที่เรียนรู้และความสำเร็จในการพัฒนาลุ่มน้ำป่าสักตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  9 ไปถ่ายทอดให้แก่ประชาชนใน 4 พื้นที่ 3 ลุ่มน้ำที่มีสภาพภูมิสังคมที่แตกต่างกัน เพื่อสร้างต้นแบบที่หลากหลาย และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่ร่วมแรงร่วมใจกันพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง โดยจะนำความสำเร็จนี้ไปเผยแพร่เพื่อให้เป็นแรงบันดาลใจสู่ของชุมชนอื่นทั่วประเทศต่อไป ซึ่งความมุ่งหวังของโครงการฯ คือต้องการที่จะทำให้วิถีเศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เป็นแค่ทางเลือก แต่เป็นหนทางหลักของเกษตรกร

 

 

"โครงการนี้ผมมองว่าเป็นการแก้ปัญหาประเทศระยาว เป็นโครงการที่ดี ทำงานกันมาค่อนข้างศรัทธาอ.ยักษ์ ที่ทำจากใจ และเป็นแนวทางที่ถูกต้องตามแนวทางในหลวงร.9 และมองว่าเรืองนี้ต้องใช้เวลา 9 ปีเป็นอย่างน้อย ที่ผ่านมาประสบความสำเร็จพอสมควรจากจุดเริ่มต้น โคกหนองนา  ที่แรกๆเป็น Alien ในสังคม ตอนนี้ไม่กลายเป็นเรื่องแปลกแยก กับสังคมอีกต่อไป   และมีความสำเร็จให้เห็นกระจายตัวพอสมควร มีตัวอย่างให้เห็นถึงความสำเร็จ และไม่สำเร็จ เพราะไม่ใช่จะสำเร็ตทุกค  มีการเรียนรู้ว่าแบบไหนทำแล้วสำเร็จ แบบไหนทำไม่สำเร็จ  เรียกว่าเราได้ผ่านจุดที่เป็นคอขวดมาแล้ว สองระยะ ซึ่งยังมองไม่ออกว่าคอขวดระยะต่อไปคืออะไร แต่ตอนนี้ ในส่วนพนักงานเฟรอนเองที่มาเป็นจิตอาสา บางคนก็มาทำเอง ได้ลงมือเอง ได้บอกญาติพี่น้อง  การขยายตัวไปทั่วประเทศถือว่าเร็วกว่าที่คาด"ผู้บริหารเชฟรอนกล่าว

ผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาคับคั่ง

ทุเรียนปลอดสารพิษ จากสวนเกษตรอินทรีย์

 

ด้านเกษตรกรในพื้นที่เป้าหมาย นางแววศิริ ฤทธิโยธี แห่งบ้านสวนอิสรีย์เกษตรอินทรีย์และฟาร์มม้าไทยเมืองจันท์ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี เล่าว่า “บ้านสวนอิสรีย์ฯ มีสวนยางประมาณ 120 ไร่ และสวนผลไม้ 80 ไร่ ปลูกเงาะ มังคุด ทุเรียน ลองกอง พริกไทย และอื่นๆ ผสมผสานกัน  ที่บ้านเราอยู่กับสวนมาตลอด พ่อสอนไม่ให้เบียดเบียนธรรมชาติ  ตอนแรกทำสวนมะละกอซึ่งใช้สารเคมีมาก แต่เราห่วงเรื่องสุขภาพของตัวเองและคนงานจึงค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรอินทรีย์  ตอนนี้ไม่ใช้เคมีเลยมา 3 ปีกว่าแล้ว เราขุดบ่อ 7 บ่อรวมทั้งบ่อบาดาล ให้มีน้ำใช้ตลอด เมื่อปี 2560 ก็ได้ไปอบรมเรื่องเกษตรอินทรีย์เพิ่มเติมที่ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด จึงหมักปุ๋ยเองจากความรู้ที่ไปอบรมมา  และเราเองก็เป็นหนึ่งในเกษตกร 30 กว่ารายที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน PGS ซึ่งมีหน่วยงานต่างๆ เข้ามาดูงานสม่ำเสมอ”

 

โดยหลังจากนี้ โครงการฯ จะเผยแพร่องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาและภูมิปัญญาท้องถิ่นโดยส่งเสริมให้ประชาชนลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่เป้าหมายที่ได้รับแรงบันดาลใจจากโครงการในพระราชดำริฯ อีก 2 พื้นที่ ได้แก่ ชุมชนกสิกรรมวิถี ณ หมู่บ้านสุขสมบูรณ์ ในพื้นที่ของบอย-พิษณุ นิ่มสกุล ที่ อ.หนองแซง จ.สระบุรี ระหว่างวันที่ 24-26 สิงหาคม 2561  และพื้นที่อุทยานแห่งชาติศรีน่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในวันที่ 26-28 ตุลาคม 2561 นำโดยบัณฑิต ฉิมชาติหัวหน้าอุทยานแห่งชาติศรีน่าน และสุดาพร พรหมรักษา เจ้าของพื้นที่บ้านน้ำปี้ ต.น้ำมวก อ.เวียงสา จ.น่านผู้ที่สนใจสามารถติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ทาง www.facebook.com/ajourneyinspiredbytheking

 


แม่จูงลูกตัวน้อย ร่วมกิจกรรมเอามื้อสามัคคี แตกตัวทั่วไทย  ตามรอยพ่อในหลวงรัชกาลที่ 9

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"