โวยอคติต่อยิวไม่เลิก สหรัฐถอนตัวจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน


เพิ่มเพื่อน    

รัฐบาลสหรัฐประกาศถอนตัวจากคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งยูเอ็นแล้วเมื่อวันอังคาร หลังจากร่ำๆ มานาน อ้างเหตุผลชาติสมาชิกหน้าไหว้หลังหลอกและอคติต่อต้านอิสราเอลไม่หยุดหย่อน

นิกกี เฮลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำยูเอ็น แถลงโดยมีไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศอยู่ด้านข้าง เมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2561 / AFP

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานอ้างคำแถลงของนิกกี เฮลีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ในนครนิวยอร์ก ที่เดินทางมาแถลงข่าวด้วยตนเองที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันอังคารที่ 19 มิถุนายน 2561 เคียงข้างกับไมค์ ปอมเปโอ รัฐมนตรีต่างประเทศ โดยทั้งคู่ยังคงยืนกรานว่า แม้สหรัฐจะถอนตัวจากองค์กรระหว่างประเทศซึ่งเพิ่งก่อตั้งมาได้เพียง 12 ปีแห่งนี้ แต่สหรัฐจะยังคงเป็นผู้นำในการปกป้องสิทธิมนุษยชนอยู่ต่อไป

อย่างไรก็ดี การตัดสินใจของสหรัฐในครั้งนี้สะท้อนถึงความเป็นปรปักษ์ของรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ต่อองค์การระหว่างประเทศและการทูตแบบพหุภาคีโดยทั่วไป และยังเกิดภายหลังเซอิด ราอัด อัลฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนซึ่งเป็นชาวจอร์แดน กล่าววิจารณ์นโยบายปราบปรามผู้อพยพเข้าเมืองของทรัมป์เมื่อวันจันทร์ กรณีควบคุมตัวครอบครัวผู้อพยพที่ถูกจับกุมตามแนวชายแดนด้วยการแยกพ่อแม่กับลูกๆ

แต่เฮลีย์และปอมเปโอปฏิเสธความเกี่ยวข้องนี้ โดยย้ำว่าเป็นการตัดสินใจที่เกิดภายหลังสหรัฐพยายามมาตลอดทั้งปีเพื่อกดดันให้องค์กรแห่งนี้มีความละอายใจจนยอมปฏิรูป และถอดชาติสมาชิกบางชาติที่ก่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน

"การปฏิรูปเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อทำให้คณะมนตรีแห่งนี้สนับสนุนสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง" เฮลีย์กล่าว และว่า คณะมนตรีแห่งนี้ปกป้องพวกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนมายาวนานแล้ว และยังเป็นแหล่งรวมปฏิกูลของอคติทางการเมือง น่าเสียใจที่เสียงเรียกร้องของสหรัฐเพื่อให้องค์กรนี้ปฏิรูปไม่ได้รับความใส่ใจ

องค์กรจากนครเจนีวาแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2549 เพื่อส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก แต่หลายครั้งที่คำประกาศและรายงานของคณะมนตรีฯ ขัดต่อสิ่งที่สหรัฐให้ความสำคัญมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่คณะมนตรีฯ จับจ้องพฤติกรรมของอิสราเอลที่กระทำต่อชาวปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ที่อิสราเอลยึดครอง
และในเขตกาซา ซึ่งทำให้รัฐบาลสหรัฐโกรธเป็นฟืนเป็นไฟ

เฮลีย์ชี้ด้วยว่า สหรัฐเชื่อว่าคณะมนตรีฯ ไม่ได้วิจารณ์ชาติที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างโจ่งแจ้งมากนัก เช่น เวเนซุเอลาและคิวบา ซึ่งเป็นชาติอริของสหรัฐ

ด้านปอมเปโอกล่าวโทษชาติสมาชิกหลายชาติว่าสุมหัวกันเพื่อบ่อนทำลายวิธีการคัดเลือกชาติสมาชิกที่เป็นอยู่ในขณะนี้ และองค์กรนี้ยังอคติต่อต้านอิสราเอลอย่างไม่มีเหตุมีผล นับตั้งแต่ก่อตั้งมา คณะมนตรีฯ แห่งนี้รับรองข้อมติประณามอิสราเอลมากกว่าข้อมติอื่นๆ ที่เหลือรวมกัน

นายกฯ เบนจามิน เนทันยาฮู ของอิสราเอล แสดงความยินดีต่อการตัดสินใจของสหรัฐ โดยระบุว่าคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนเป็น "องค์กรอคติ เป็นปรปักษ์ต่อต้านอิสราเอล ที่ทรยศต่อภารกิจปกป้องสิทธิมนุษยชน"

ขณะที่อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการยุเอ็น แสดงความเสียใจต่อการตัดสินใจของสหรัฐ โดยกล่าวว่าองค์กรนี้มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและปกป้องสิทธิมนุษยชนทั่วโลก.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"