'WFH- โควิด' ฉุด กินเจ กร่อย กสิกรคาดใช้จ่ายหดตัว 8.2%


เพิ่มเพื่อน    

จากสถานการณ์โควิดในประเทศที่ดีขึ้น ทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่รายวันที่ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 1 หมื่นคนในบางวัน การเร่งและกระจายการฉีดวัคซีนให้กับประชาชน จนนำมาสู่การคลายล็อกดาวน์กิจกรรมทางเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงเริ่มต้นไตรมาสสุดท้ายของปี การผ่อนคลายข้อจำกัดสำหรับการเดินทางเข้ามาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ครอบคลุมหลายจังหวัดมากขึ้น สะท้อนว่าภาวะซบเซาของกิจกรรมทางเศรษฐกิจน่าจะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดจากโรคโควิดมาแล้ว อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาสถานการณ์ต่างๆ พบว่า ยังมีปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่อาจจะกระทบความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ที่สำคัญเฉพาะหน้าคือ สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ซึ่งยังมีความไม่แน่นอนว่าจะยกระดับความรุนแรงมากขึ้นเพียงใด เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่ยุติ ฤดูฝนยังไม่สิ้นสุด และมีการคาดการณ์ว่าอาจจะยังมีพายุอีก 1-2 ลูกเข้ามาหลังจากนี้ นอกจากนี้ การเร่งตัวขึ้นของราคาพลังงานในตลาดโลกท่ามกลางเงินบาทที่อ่อนค่า ก็เป็นอีกตัวแปรที่จะส่งผลต่อทิศทางราคาพลังงานในประเทศให้ขยับสูงขึ้น ซึ่งจากทั้งสองปัจจัยดังกล่าว ไม่เพียงจะมีผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่เดิมก็เปราะบางอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน ความไม่สะดวกในการเดินทางและการขนส่งในพื้นที่ประสบภัย ความเสียหายต่อพืชผลเกษตร ก็ยังเป็นแรงกดดันด้านต้นทุนและราคาสินค้าโดยเฉพาะผัก ซึ่งอาจส่งผลกระทบตามมาต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภคในช่วงเวลานี้ที่เทศกาลกินเจกำลังจะมาถึง     

ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงมีมุมมองที่ค่อนข้างระมัดระวังต่อสถานการณ์และบรรยากาศในการจับจ่ายของผู้บริโภคในช่วงเทศกาลกินเจระหว่างวันที่ 6-14 ตุลาคม 2564 นี้ โดยคาดว่า ในช่วงเทศกาลกินเจปี 2564 คนกรุงเทพฯ จะมีเม็ดเงินค่าใช้จ่ายตลอดช่วงเทศกาลคิดเป็นมูลค่า 3,600 ล้านบาท หดตัว 8.2% เมื่อเทียบกับเทศกาลกินเจปีก่อน ซึ่งนอกจากปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ข้างต้นแล้ว คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่น่าจะยังคงใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง และยังมีความกังวลเรื่องความปลอดภัยในการออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน แม้ว่าผลการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า คนกรุงเทพฯ 55% ยังคงสนใจเข้าร่วมเทศกาลกินเจ แต่มีการปรับลดจำนวนวันในการกินเจลงเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีสาเหตุสำคัญมาจากความไม่สะดวกในการบริโภค เนื่องจากเปลี่ยนรูปแบบการทำงานไปสู่การ Work From Home และลดการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น ซึ่งเป็นข้อจำกัดของการเข้าถึงแหล่งจับจ่ายที่คุ้นเคยในปีก่อนๆ ส่งผลให้กลุ่มธุรกิจร้านอาหารข้างทางบริเวณสถานที่ทำงาน ทั้งแบบตักขายและนั่งทานในร้านอาจได้รับผลกระทบจากความกังวลของผู้บริโภคในเรื่องของความปลอดภัยและไม่สะดวกในการออกไปจับจ่าย

ขณะที่ ธุรกิจค้าปลีกกลุ่มร้านสะดวกซื้อ รวมถึงร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารผ่านช่องทางเดลิเวอรี่หรือออนไลน์คาดว่าจะได้รับความนิยมมากขึ้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยเฉพาะการสั่งซื้อจากกลุ่มร้านอาหาร Food Chain ที่หันมาเพิ่มเมนูอาหารเจ/วีแกนมากขึ้น เพื่อรุกตลาดผู้บริโภคที่รักสุขภาพ รวมถึงร้านค้าปลีกสะดวกซื้อที่มีการวางจำหน่ายอาหารเจ/วีแกน ที่หลากหลายขึ้นและมีการจัดส่งเดลิเวอรี่ ทั้งแบบดั้งเดิม (เช่น อาหารเจสำเร็จรูปพร้อมทาน/แช่เย็น นมถั่วเหลือง น้ำผัก-ผลไม้) และรูปแบบใหม่ๆ อย่างผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจากกลุ่มโปรตีนทางเลือก สะท้อนได้จากคนกรุงเทพฯ กว่า 81% ที่คาดว่าจะกินเจในปีนี้ สนใจจะเลือกรับประทานเมนูอาหารที่เป็นกลุ่มโปรตีนทางเลือก เพราะอยากลองทาน มีเมนูที่หลากหลาย และหาซื้อได้ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ดี แม้ว่าปีนี้คนกรุงเทพฯ จะสนใจอยากลองทานอาหารเจกลุ่มโปรตีนทางเลือกมากขึ้น แต่ก็ยังคงกังวลในเรื่องของปัจจัยทางด้านราคา รสชาติ และคุณค่าทางโภชนาการ (ปริมาณสารอาหาร และแคลอรี่) ซึ่งมีผลต่อการตัดสินใจซื้อมาทาน โดยเฉพาะในภาวะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังเปราะบาง และด้วยราคาของโปรตีนทางเลือกที่ค่อนข้างสูงกว่าเมื่อเทียบกับอาหารเจมื้อปกติ จึงมีผลต่อการใช้จ่ายของผู้บริโภค ดังนั้น หากผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และทำกลยุทธ์การตลาดให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคในจุดนี้ได้ ก็น่าจะช่วยหนุนให้ตลาดอาหารกลุ่มโปรตีนทางเลือกมีแนวโน้มเติบโตขึ้น โดยเฉพาะการทำโปรโมชั่นด้านราคา ซึ่งนอกจากจะช่วยจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้อสินค้าแล้ว ยังอาศัยช่วงเทศกาลกินเจทำการตลาดให้สินค้าเป็นที่รู้จักและหันมาทดลองทานมากขึ้น โดยเฉพาะภายหลังจากหมดเทศกาลก็ยังสามารถหารับประทานได้ง่าย เป็นต้น

สำหรับผู้ประกอบการกลุ่มอื่นๆ ก็อาจจะต้องวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาดให้เหมาะสมกับสภาพตลาด เพื่อให้ธุรกิจยังคงมียอดขายอาหารเจเข้ามาบ้างในช่วงเทศกาล เช่น เน้นความคุ้มค่าคุ้มราคา ชูจุดขายเมนูสุขภาพ หรือเพิ่มทางเลือกให้ผู้บริโภคทั้งในเรื่องของการสร้างสรรค์เมนู การเลือกวัตถุดิบ ช่องทางการสั่งซื้อ ตลอดจนบริการส่งสินค้าตามวันเวลาที่ลูกค้าสะดวก เป็นต้น 

มองไปข้างหน้า ด้วยพฤติกรรมของคนไทยในภาพรวมที่หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น จึงมีกลุ่มผู้บริโภคที่เริ่มหันมาบริโภคอาหารวีแกน และไม่ได้จำกัดเฉพาะเทศกาลกินเจเท่านั้น ทำให้คาดว่า โอกาสของตลาดอาหารวีแกนในไทยจะยังสามารถขยายตัวได้อีกในระยะข้างหน้า ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนผู้บริโภควีแกนไทย (รวมถึงมังสวิรัติและเจ) ราว 9 ล้านคน และน่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเทรนด์บริโภคอาหารวีแกนโลก สะท้อนได้จากแนวโน้มสัดส่วนของประชากรไทยที่ไม่บริโภคเนื้อสัตว์น่าจะขยับขึ้นจาก 12.0% ในปี 2560 เป็น 15% ได้ภายในปี 2564 แต่การจะเพิ่มจำนวนผู้บริโภค รวมถึงอัตราการบริโภคได้มากหรือน้อยนั้น คงขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะในเรื่องของราคา รสชาติ ความหลากหลายของสินค้า ตลอดจนช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภค 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"