รัฐบาลแจงข้อสงสัยฝ่ายค้านการบริหารจัดการน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทานกว่า 2 ล้านไร่ ใช้งบคุ้มค่า


เพิ่มเพื่อน    


1 ต.ค.64 -  นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ชี้แจงต่อข้อสงสัยฝ่ายค้าน ถึงผลงานการบริหารจัดการน้ำในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาว่า รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วมในทุกมิติ เป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี นำไปสู่การร่วมกันดำเนินงานของทุกหน่วยงาน ไม่ใช่ต่างคนต่างทำเหมือนอดีตที่ผ่านมา และมีผลงานที่เป็นรูปธรรม อาทิ เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้แล้วกว่า 2 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้กว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์เพิ่มขึ้นกว่า 10 ล้านไร่ และมีจำนวนครัวเรือนที่ได้รับประโยชน์กว่า 6 ล้านครัวเรือน รวมทั้งยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน 3,347 แห่ง จาก 5,472 แห่ง สระน้ำในไร่นา 190.59 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 63% พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร 118.43 ล้าน ลบ.ม. ปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติ 225 แห่ง เป็นต้น

รองโฆษกฯกล่าวว่า สำหรับโครงการชลประทานที่ดำเนินการสำเร็จและสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนแล้ว อาทิ โครงการพัฒนาเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาล่วงหน้า ขับเคลื่อนไป 133 โครงการ จาก 526 โครงการ ซึ่งประกอบด้วย แผนบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและจัดการทรัพยากรน้ำรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก การฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ เช่น บึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์ บึงราชนก จ.พิษณุโลก บึงสีไฟ จ.พิจิตร หนองหาร จ.สกลนคร รวมถึงโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ปัจจุบันดำเนินการเสร็จ 6 โครงการ ได้แก่ โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล จ.ระยอง โครงการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำหนองค้อ จ.ชลบุรี โครงการเพิ่มประสิทธิภาพระบบผันน้ำแม่น้ำบางปะกง-อ่างเก็บน้ำบางพระ จ.ชลบุรี โครงการเพิ่มประสิทธิภาพและปริมาณการจ่ายน้ำท่อส่งน้ำหนองปลาไหล-หนองค้อ จ.ชลบุรี โครงการสระทับมา จ.ระยอง และโครงการอ่างเก็บน้ำคลองกระแส จ.ชลบุรี ประโยชน์ที่ได้คือ ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำเพื่อรองรับโครงการ EEC ได้รวมกันประมาณ 250.45 ล้าน ลบ.ม.

นางสาวรัชดา กล่าวว่า โดยในปีงบประมาณ 2565 รัฐบาลได้มีการตรวจสอบข้อมูลลดความซ้ำซ้อนของแผนงานด้านน้ำ มุ่งเน้นการใช้งบประมาณให้คุ้มค่าที่สุด ทำให้ประหยัดงบประมาณด้านน้ำได้กว่า 60,000 ล้านบาท รวมถึงการนำเทคโนโลยีพัฒนาแพลตฟอร์ม เชื่อมโยงข้อมูล จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำอัจฉริยะ (Smart Water Operation Center : SWOC) การติดตั้งระบบเพื่อการพยากรณ์น้ำและเตือนภัยลุ่มน้ำสำหรับการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ การพัฒนาฐานข้อมูลกลาง Big Data การพัฒนาแอปพลิเคชัน WMSC (Water Watch and Monitoring System For Warning Center) จัดทำคลังข้อมูลน้ำในรูปแบบ One Map ผ่านเว็บไซต์และแอปพลิเคชัน National Thai Water ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตรและน้ำ 4.0

“พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กำชับเสมอว่า การเสนอของบประมาณจะต้องเป็นแผนงานที่ทำได้จริง เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด เช่นเดียวกับงบประมาณการบริหารจัดการน้ำ เน้นการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่หรือ Big Data ประกอบในการจัดทำงบประมาณด้านน้ำ เพื่อครอบคลุมการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ครอบคลุมการแก้ปัญหาน้ำแล้ง-น้ำท่วม การเก็บกักน้ำให้มีปริมาณน้ำต้นทุนที่มั่นคงสำหรับการอุปโภคบริโภค การเกษตร อุตสาหกรรม ท่องเที่ยว และรักษาระบบนิเวศด้วย สำหรับการช่วยเหลือประชาชนและเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัยในขณะนี้ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้ส่วนราชการระดับพื้นที่เร่งสำรวจความเสียหายบ้านเรือนประชาชนและพื้นที่ทำกิน สัตว์เลี้ยง โดยรัฐบาลได้มีการจัดสรรงบประมาณเยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนให้เร็วที่สุด” นางสาวรัชดา กล่าว

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"