ผู้คิดค้น'ตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร'คว้าโนเบลเคมี


เพิ่มเพื่อน    

รางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปีนี้มอบให้แก่นักเคมีชาวอเมริกันและเยอรมัน ผู้พัฒนาเครื่องมือในการสร้างโมเลกุลแบบใหม่หรือ "ตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร" ที่เอื้อต่อการวิจัยด้านเภสัชกรรมและทำให้เคมีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

เหรียญรางวัลโนเบลจำลองตั้งอยู่ด้านนอกพิพิธภัณฑ์โนเบลในกรุงสตอกโฮล์มของสวีเดน ก่อนงานประกาศผลรางวัล (Getty Images)

    รายงานเอเอฟพีกล่าวว่า คณะกรรมการตัดสินรางวัลโนเบลสาขาเคมีประกาศผู้ชนะรางวัลประจำปีนี้ที่กรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน เมื่อวันพุธที่ 6 ตุลาคม โดยมีผู้ชนะ 2 คน ได้แก่ เบนจามิน ลิสต์ ชาวเยอรมัน และเดวิด แม็กมิลลัน ชาวอเมริกัน จากผลงานการพัฒนาเครื่องมือแบบใหม่ที่แม่นยำในการสร้างโมเลกุล ที่เรียกว่า "ตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์" ที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อการวิจัยทางเภสัชกรรม และทำให้เคมีเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

    คณะกรรมการกล่าวว่า ก่อนหน้าผลงานของทั้งคู่ นักวิทยาศาสตร์เชื่อกันว่า มีตัวเร่งปฏิกิริยาอยู่เพียง 2 ชนิด คือ โลหะ และเอนไซม์ แต่ในปี 2543 นักวิจัยทั้งสอง ซึ่งต่างคนต่างทำงานวิจัยของตนเอง ได้พัฒนาตัวเร่งปฏิกิริยาชนิดที่ 3 เรียกว่า "ตัวเร่งปฏิกิริยาอินทรีย์แบบอสมมาตร" ซึ่งใช้โมเลกุลอินทรีย์ขนาดเล็ก

    แม็กมิลลัน อายุ 53 ปี เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปรินซ์ตันในสหรัฐอเมริกา ส่วนลิสต์ ซึ่งอายุเท่ากัน เป็นผู้อำนวยการสถาบันมักซ์พลังค์ในเยอรมนี ทั้งคู่จะแบ่งครึ่งเงินรางวัล 10 ล้านโครเนอร์สวีเดน

    คณะกรรมการโนเบลจากราชบัณฑิตยสถานแห่งสวีเดนกล่าวในแถลงการณ์ว่า งานวิจัยและอุตสาหกรรมจำนวนมากพึ่งพาความสามารถของนักเคมี ในการสร้างโมเลกุลที่สามารถสร้างวัตถุที่ยืดหยุ่นและทนทาน, สามารถเก็บพลังงานไว้ในแบตเตอรี หรือยับยั้งการลุกลามของโรค งานดังกล่าวต้องใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา ซึ่งเป็นสารที่ควบคุมและเร่งปฏิกิริยาเคมีโดยไม่กลายเป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ที่ได้

    การประกาศผลรางวัลโนเบลปีนี้เริ่มต้นที่สาขาการแพทย์เมื่อวันจันทร์ โดยในวันพฤหัสบดีจะเป็นสาขาวรรณกรรม ตามด้วยสาขาสันติภาพในวันศุกร์ แล้วปิดท้ายที่สาขาเศรษฐศาสตร์ ซึ่งจะประกาศผลในวันจันทร์หน้า

    เมื่อวันอังคาร โนเบลประกาศผู้ชนะสาขาฟิสิกส์ 3 คน โดยแบ่งครึ่งรางวัลมอบให้แก่ ซิวคูโร มานาเบะ และเคลาส์ ฮัสเซลมานน์ ชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่น และเคลาส์ ฮัสเซิลมานน์ ชาวเยอรมัน จากผลงานการสร้างแบบจำลองว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และอีกครึ่งมอบให้แก่ จิออร์จิโอ ปาริซิ ชาวอิตาลี จากผลงานเกี่ยวกับปฏิกิริยาของความไร้ระเบียบและการผันแปรในระบบฟิสิกส์.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"