'เซียนพระ' ชี้จุดตายจ่ายเงิน เหรียญสมโภชพระธาตุพนมปี 18 แตกกรุบ้านร้างอดีตรองผู้ว่าฯ


เพิ่มเพื่อน    

7 ต.ค.64 - จากกรณีกรุแตกชาวบ้านแห่ไปขุดหาเหรียญพระธาตุพนม รุ่นสมโภชปี 2518 สืบเนื่องจาก บริเวณลานกว้างด้านหน้าศาลาการเปรียญวัดธาตุฝุ่น ชุมชนบ้านน้อยใต้ เขตเทศบาลเมืองนครพนม มีชายอาชีพหาของเก่าใช้ค้อนทุบกองอิฐที่ผู้รับเหมาขนมาจากบ้านพักอดีตรองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ปัจจุบันเกษียณอายุราชการไปกว่า 20 ปี ที่ปลูกอยู่หลังวัดกลาง เขตเทศบาลเมืองนครพนม เพื่อจะนำเหล็กเส้นไปขาย ปรากฏว่าพบเหรียญพระธาตุพนม รุ่นสมโภชปี 2518 ซุกอยู่ในกองอิฐกองปูนนั้นด้วย กระทั่งมีข่าวแพร่สะพัดออกไป ก็มีชาวบ้านจำนวนมากนำจอบและเสียมมาขุดคุ้ยค้นหา เพราะเหรียญดังกล่าวปัจจุบันมีราคาตั้งแต่หลักพันยันหลักหมื่น ซึ่งมีผู้โชคดีขุดคุ้ยได้รวมๆแล้วนับร้อยองค์ ขณะที่เซียนพระเครื่องก็ตั้งโต๊ะรับบูชาในราคาองค์ละ 4,000 บาท ตามที่เสนอข่าวไปแล้ว

ล่าสุด วันนี้ ผู้สื่อข่าวเดินทางไปตรวจสอบบริเวณดังกล่าวอีกครั้ง พบว่ายังมีชาวบ้านไม่น้อยกว่า 30 คน ขมีขมันก้มหน้าก้มตาคุ้ยเขี่ยเศษดินและเศษปูนเพื่อหาเหรียญสมโภชพระธาตุพนม โดยทราบจากการบอกเล่าของนายนอง พงษ์คำภา อายุ 68 ปี อาชีพหาของเก่าเป็นชาวบ้านละแวกใกล้เคียงว่า หลังมีข่าวเหรียญพระธาตุพนมปี 18 แตกกรุในวัดธาตุฝุ่น จึงชักชวนเพื่อนบ้านไปขุดหา ซึ่งเมื่อวาน(6 ตค.) ตนคุ้ยเขี่ยได้มา 2 เหรียญ เซียนพระมาขอบูชาแต่ตนไม่ยอมปล่อยเพราะจะเก็บไว้ให้ลูก วันนี้จึงกลับมาอีกครั้งตั้งแต่ตอน 05.00 น. ถึงขณะนี้ยังไม่เจอสักองค์ แต่มีบางคนขุดเจอไปบ้างแล้ว ส่วนมากเหรียญที่เจอจะปะปนอยู่กับเศษดินเศษปูน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าหลังข่าวเหรียญสมโภชพระธาตุพนมปี 18 แตกกรุ ก็มีการตั้งข้อสังเกตกันในโซเซียลว่า จากสภาพเหรียญที่พบนั้นมีลักษณะสวยงามคมกริบ ไม่เหมือนเหรียญที่มีอายุเกือบ 50 ปี หรืออาจเป็นการปั่นกระแสของเซียนพระนำของใหม่มายัดใส่ในกองดินเพื่อประโยชน์ของตนเอง จึงมีเข้ามาแสดงความคิดเห็นกันเป็นจำนวนมาก

เซียนพระเครื่องรายหนึ่ง กล่าวว่า เหรียญสมโภชพระธาตุพนมปี 18 ที่พบนี้ เจ้าของเดิมคืออดีตรอง ผวจ.อุดรฯ ท่านเก็บไว้ในถุงพลาสติกอย่างดี แยกออกเป็นถุงๆละประมาณ 70 เหรียญ แต่ไม่ทราบว่ามีจำนวนกี่ถุง  หลังจากบริเวณห้องนอนชั้นบนของตัวบ้านทรุดตัวลงเหรียญก็หล่นมาจมกองปะปนอยู่ในเศษปูนเศษทราย เมื่อผู้รับเหมาเข้ามาปรับพื้นที่กำลังจะตักไปทิ้ง จังหวะนั้นเจ้าอาวาสวัดธาตุฝุ่น มีความต้องการดินหรือเศษอิฐเศษปูนเพื่อมาถมสระน้ำ จึงร้องขอให้ผู้รับเหมานำไปเทกองไว้หน้าศาลาการเปรียญ ต่อมาชายหาของเก่าขอทุบกระเทาะปูนเพื่อเอาเหล็กเส้นไปขาย จึงพบเหรียญดังกล่าวบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกปะปนอยู่กับเศษวัสดุเหล่านั้นประมาณ 200 กว่าเหรียญ ด้วยความไม่รู้จึงเอาเหรียญที่พบแจกจ่ายพรรคพวก ก่อนที่จะมีผู้รู้ว่าเหรียญดังกล่าวเป็นที่แสวงหาของนักสะสมพระเครื่องมาช้านาน และมีราคาสูงหลายพันบาท จึงมีผู้ทราบข่าวมาขุดเขี่ยหากันอย่างที่เป็นข่าว

เซียนพระรายนี้ยืนยันว่าเหรียญที่พบเป็นของแท้ล้านเปอร์เซ็นต์ โดยชี้จุดตายที่เซียนพระเรียกจุดจ่ายเงิน ว่า อยู่ที่มุมขอบด้านบนของเหรียญ การปลอมแปลงหรือเลียนแบบนั้นทำได้ทุกจุด ยกเว้นจุดนี้ที่จะทำเลียนแบบไม่ได้ เซียนพระรู้กันดีว่ามุมขอบของเหรียญสมโภชพระธาตุพนมปี 18 อยู่ตรงนี้ ส่วนใครจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไรย่อมเป็นสิทธิ์ของเขา เพราะเขาไม่ได้ในแวดวงพระเครื่องจึงไม่รู้จุดตายจุดสลบของเหรียญดังกล่าวอยู่ตรงไหน

สำหรับความเป็นมาที่มีข่าวกรุแตกที่วัดธาตุฝุ่นนั้น นายณรงค์ ไชยตา อาชีพทนายความและเป็นทายาทอดีตเจ้าเมืองนครพนม เปิดเผยว่าสืบเนื่องจากวัดธาตุฝุ่นมีโครงการถมสระน้ำ จึงขอรับบริจาคเศษซากตึก บ้าน ถนนคอนกรีตที่รื้อทิ้ง ได้มีผู้บริจาคมาสองปีแล้ว เช่น กุฏิวัดกลาง กุฏิวัดพระอินทร์แปลง ศาลาเก่าวัดมหาธาตุ และบ้านเก่าของอดีตรอง ผวจ.อุดรฯ อยู่หลังวัดกลาง เป็นลูกเขยของตระกูลคฤหเดช ซึ่งได้รื้อถอนไปเมื่อ 3 - 4 วันที่แล้ว กองเศษปูนของบ้านหลังนี้แหละ ที่เกิดเหตุการณ์กรุแตก ที่พบเหรียญพระธาตุพนม รุ่นพระธาตุพนมปี พ.ศ.2518

“ในช่วงนั้นท่านเป็นนายอำเภอปลาปาก จ.นครพนม  ท่านคงเก็บเหรียญพระธาตุไว้และเก็บไว้ในบ้านจนลืมแล้วท่านได้ย้ายไปรับราชการที่อื่น ก่อนเกษียนได้เป็น รอง ผวจ.อุดรธานี และได้อาศัยอยู่อุดรฯโดยไม่ได้กลับมาอยู่ที่บ้านเดิม ต่อมาได้ขายที่พร้อมบ้านหลังนี้ให้คนอื่น ผู้ซื้อได้รื้อบ้านแล้วนำเศษซากบ้านไปถวายวัดธาตุฝุ่น 2 - 3 วันมานี้ ได้มีการขุดคุ้ยกองอิฐมีบางคนเจอเหรียญพระธาตุดังกล่าว จึงเกิดเป็นข่าวขึ้น” นายณรงค์ กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"