โควิดกดดัชนีเชื่อมั่นก.ย.ลดลงต่อเนื่อง


เพิ่มเพื่อน    

7 ต.ค. 2564 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ประจำเดือนก.ย.64 (TCC-CI) ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจและหอการค้าทั่วประเทศ จำนวน 369 ตัวอย่าง ในระหว่างวันที่ 23-30 ก.ย.64 โดยดัชนีฯ อยู่ที่ระดับ 19.4 ลดลงจากระดับ 19.8 ในเดือนส.ค. 64 ต่ำสุดในรอบ 33 เดือน ซึ่งดัชนีฯ ปรับตัวลดลงในทุกภาค และลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7  

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ดัชนีฯ อยู่ที่ 18.9 ลดลงจากเดือน ส.ค.ที่ 19.4, ภาคกลาง ดัชนีฯ อยู่ที่ 20.3 ลดลงจากเดือนส.ค.ที่ 20.8, ภาคตะวันออก ดัชนีฯ อยู่ที่ 23.2 ลดลงจากเดือนส.ค.ที่ 23.7, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 19.5 ลดลงจากเดือนส.ค.ที่ 19.8, ภาคเหนือ ดัชนีฯ อยู่ที่ 18.9 ลดลงจากเดือนส.ค.ที่ 19.3 และภาคใต้ ดัชนีฯ อยู่ที่ 16.5 ลดลงจากเดือนส.ค.ที่ 16.9

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทยเดือนก.ย.ลดลงต่อเนื่องทุกรายการ มาจากความวิตกกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตาในประเทศไทย ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศทั้งปัจจุบันและในอนาคต, ผลกระทบจากภาวะน้ำท่วมในหลายจังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ที่สร้างความเสียหายต่อทรัพย์สินของประชาชน รวมทั้งผลผลิตทางการเกษตร, ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง, ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกชนิด เป็นต้น

ขณะที่ปัจจัยบวก เป็นเรื่องของการผ่อนคลายมาตรการในพื้นที่สีแดงเข้ม เช่น ห้างสรรพสินค้า, ยอดผู้ติดเชื้อในประเทศเริ่มลดลง, คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.50%, การส่งออกไทยเดือน ส.ค. เพิ่มขึ้น 8.93% และราคาพืชผลเกษตรหลายรายการปรับตัวดีขึ้น

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นหอการค้าไทย เดือน ก.ย. พบว่า ดัชนีฯ ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ซึ่งค่อนข้างจะสวนทางกับมุมมองของประชาชนในการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ที่ดัชนีฯ ปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ทั้งนี้ เนื่องจากภาคธุรกิจมองผลกระทบที่เกิดราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นนอกจากนี้สถานการณ์โควิดในประเทศที่ยังไม่ค่อยคลี่คลาย  ย่อมมีผลต่อกำลังซื้อที่ยังไม่สามารถฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ในขณะที่ภาคธุรกิจเองก็ยังไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อได้อย่างทั่วถึง และรัฐบาลก็ยังไม่มีมาตรการใหม่ๆ ออกมาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงนี้

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"