'พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์'อดีตรมต.ถึงแก่กรรม


เพิ่มเพื่อน    

https://storage.thaipost.net/main/uploads/photos/big/20211015/image_big_6169573c51ec4.jpg

ครอบครัวถนอมพงษ์พันธ์ กำหนดจัดสวดพระอภิธรรมศพ นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ ซึ่งถึงแก่กรรมเมื่อวันพุธ 13 ตุลาคม 2564 ณ วัดทรงธรรมบวรวิหาร ศาลาใหญ่ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ โดยกำหนดสวดพระอภิธรรมเวลา 18.00 น.ถึงวันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม จากนั้นจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพ ในวันอาทิตย์ 17 ตุลาคม เวลา 16.00 น.

  นายพีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธ์ เคยดำรงตำแหน่งรมช.คมนาคม เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ช่วงรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา  เข้าสู่วงการเมืองด้วยการเป็น ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 8 พรรคพลังธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 หลังจากลาออกจากตำแหน่งรมช.คมนาคมเมื่อ 1 กรกฎาคม 2539 ก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองจนกระทั่งปี  2547 นายพีระพงศ์ ได้ลงสมัครรับเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้เบอร์ 8 ในกลุ่ม ฅ.คนรักกรุงเทพ โดยไม่สังกัดพรรคการเมืองใด แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง

ชีวิตส่วนตัว เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2491 สำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษา จากโรงเรียนเทศบาลวัดจักรวรรดิ, มัธยมศึกษา จากโรงเรียนปทุมคงคา, ปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเคมีฟิสิกส์ทางทะเล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาโท วิศวอุตสาหกรรม (IIT) สถาบันเทคโนโลยีของอิลลินอยส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับ นางอุษา ถนอมพงษ์พันธ์ มีบุตร-ธิดา 2 คน

เคยเป็นอาจารย์ที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า บางมด 1 ปี, ธนาคารหวั่งหลี 2 ปี ออกมาทำกิจการค้าเงินตราต่างประเทศ 1 ปี แล้วมาทำงานที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด, ผู้จัดการสำนักค้าเงินตราต่างประเทศ ธนาคารกรุงเทพ เชี่ยวชาญด้านการเงินจนได้รับฉายาจากสื่อมวลชนว่า "ขงเบ้งการเงิน"

บั้นปลายชีวิต  นายพีระพงศ์ได้ทำกิจกรรมส่วนตัวที่ชื่นชอบ คือ การก่อตั้งและดูแลพิพิธภัณฑ์ปลากัด ซึ่งเก็บรวบรวมปลากัดไว้เป็นจำนวนมาก เพื่อการศึกษาและอนุรักษ์ รวมทั้งเป็นแหล่งให้ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับปลากัดด้วย ณ ที่ดินของตัวเองกว่า 40 ไร่ ที่ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"