เพื่อนช่วยเพื่อน...บริจาคเบี้ยยังชีพ เข้า"กองทุนผู้สูงอายุ"รับมืออนาคต


เพิ่มเพื่อน    

เพื่อให้การพัฒนาผู้สูงอายุอย่างยั่งยืน คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 โดยกรมกิจการผู้สูงอายุได้รับทราบแนวทางการดำเนิน โครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ ตามนโยบายรับมือผู้สูงวัยในอนาคต โดยตั้งเป้าผู้สูงวัยอายุ 60 ปีที่ได้รับเบี้ยยังชีพเข้ามาร่วมบริจาคเงินสนับสนุนดังกล่าวให้ได้ 5 หมื่นราย จากจำนวน 5 ล้านคน ที่ไม่มีความจำเป็นต้องใช้เงินสนับสนุนจากภาครัฐในส่วนดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันมียอดผู้สูงอายุที่ได้เบี้ยยังชีพจากภาครัฐอยู่ที่จำนวน 8 ล้านราย โดยนำเงินที่ได้ไปช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งอยู่ในโครงการลงทะเบียนเพื่อรับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรผู้มีรายได้น้อย) ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติมอบหมายให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นผู้จ้างกรมธนารักษ์จัดทำเหรียญเชิดชูเกียรติ และจัดส่งให้กับผู้สูงอายุที่บริจาคเบี้ยยังชีพตามโครงการดังนี้ด้วย     

(ธนาภรณ์ พรมสุวรรณ)

นางธนาภรณ์ พรมสุวรรณ อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ กล่าวว่า สำหรับโครงการนี้มีนโยบายจะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย โดยการเพิ่มเบี้ยยังชีพให้ผู้สูงวัยกลุ่มนี้ที่มีอยู่ราว 11 ล้านคน และมีผู้สูงอายุรายได้น้อยที่รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐอยู่ที่ 8.4 ล้านคน ผ่านงบประมาณ 6 หมื่น 4 พันล้านบาทต่อปี ซึ่งหากย้อนกลับไปเมื่อปี พ.ศ.2553 นโยบายของภาครัฐคือการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ชีวิตด้วยความเดือดร้อนลำบาก เพื่อให้อยู่ได้ด้วยตัวเอง แต่ต่อมาเน้นเป็นการให้ความช่วยเหลือคนทั่วไปซึ่งมีรายได้น้อยที่มาลงทะเบียนไว้กับภาครัฐ ดังนั้นจึงมีการพิจารณากันว่าน่าจะช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรผู้มีรายได้น้อย) จึงได้เกิดเป็นที่มาของ โครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ

ซึ่งงบประมาณที่ใช้ในโครงการนี้มาจากเงินภาษียาสูบของกรมสรรพสามิต คิดเป็นประมาณ 2% หรือคิดเป็นยอดรวมทั้งหมดจำนวน 4,000 ล้านบาท แต่เมื่อนำมาบวกลบคูณหารกับจำนวนผู้สูงอายุรายได้น้อยที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรผู้มีรายได้น้อย) ราว 3-4 ล้านคนในปัจจุบัน ผู้สูงอายุแต่ละท่านจะได้รับเงินประมาณคนละ 50 บาท ซึ่งเป็นจำนวนค่อนข้างน้อย จากเงินที่ได้จากภาครัฐประมาณ 200-300 บาทต่อราย ประกอบกับงบจากภาษียาสูบ จำนวน 4,000 ล้านบาท จะต้องเข้ามาอย่างเป็นระบบ หรือเข้ามาเป็นรายวัน ซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 1,000 ล้านบาท ประกอบกับ โครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เข้ากองทุนผู้สูงอายุ ที่เริ่มเปิดให้ผู้สูงวัยอายุ 60 ปีที่ประสงค์จะบริจาคเบี้ยยังชีพตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม ปี 2560 ที่ผ่านมา ปรากฏว่ามีผู้เข้าร่วมโครงการจำนวนเพียง 515 ราย โดยมียอดเงินบริจาคอยู่ที่ 9 แสนบาท และเมื่อรวมกับเงินจากภาษียาสูบ ทำให้มีงบประมาณที่จะช่วยเหลือผู้สูงอายุรายได้น้อยซึ่งมีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรรายได้น้อย) อยู่ที่ประมาณ 1,900 ล้านบาท เมื่อหารต่อคนแล้วก็ค่อนข้างได้จำนวนน้อย ทั้งนี้ ทางกรมกิจการผู้สูงอายุก็คาดหวังว่าจะมีผู้สูงวัยที่ได้รับเบี้ยยังชีพเข้ามาร่วมบริจาคเงินอยู่ที่ 5 หมื่นราย จากจำนวน 5 ล้านคนที่ได้รับสิทธิ์ดังกล่าว

สำหรับผู้สูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับเบี้ยยังชีพจากภาครัฐซึ่งประสงค์จะเข้าร่วมบริจาคนั้น 1.สามารถแสดงความจำนงได้ที่หน่วยรับแจ้งการบริจาค ได้แก่ สำนักงานเขต กทม. อบต. เทศบาล และพัทยา ที่ตนได้ลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไว้ โดยนำบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมกรอกแบบฟอร์มที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด โดยผู้สูงอายุที่บริจาคเบี้ยยังชีพจะได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ เพื่อเป็นการตอบแทนการเสียสละเพื่อส่วนรวม ทั้งนี้ หากในอนาคตผู้สูงอายุที่เคยบริจาคเบี้ยยังชีพต้องการยกเลิกการบริจาค ก็สามารถแจ้งความจำนงเพื่อขอยกเลิกการบริจาคได้

2.หน่วยรับแจ้งการบริจาคจัดส่งเงินบริจาค และข้อมูลของผู้บริจาคให้แก่กองทุนผู้สูงอายุตามขั้นตอนที่กำหนด โดยการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคาร ซึ่งกองทุนผู้สูงอายุและสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (สนง.พมจ.) จะจัดส่งใบเสร็จให้แก่ผู้บริจาคต่อไป รวมถึงสามารถติดต่อขอบริจาคได้ที่ ธนาคารของภาครัฐ อาทิ ธ.ก.ส, กรุงไทย, ออมสิน ทั้งนี้ สามารถบริจาคได้ตลอดโดยไม่จำกัดระยะเวลา”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"