หมูป่า 13 ชีวิตติดถ้ำ บทเรียนที่โลกต้องจดจำ


เพิ่มเพื่อน    

   ดีใจกันยังไม่ทันครบ 4 วัน ภายหลังการพบ ผู้ประสบภัยพิบัติ ทั้ง 13 คนที่หายเข้าไปในถ้ำหลวง กว่า 222 ชั่วโมง ประเทศไทยก็ต้องมาพบกับเหตุการณ์สูญเสียอย่างต่อเนื่อง ไล่ตั้งแต่เครื่องบินลาดตระเวนของกองทัพบกขาดการติดต่อ ก่อนพบว่าประสบอุบัติเหตุตกใกล้บ้านห้วยทรายขาว อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน ทำให้มีนักบินเสียชีวิต 3 นาย ตามมาด้วยข่าวการสูญเสียทางน้ำจากเหตุพายุพิโรธที่ จ.ภูเก็ต ส่งผลให้เรือท่องเที่ยวล่ม 2 ลำ และเจ็ตสกี 1 ลำจมกลางทะเล จากข้อมูลล่าสุดขณะนี้พบมีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 40 ราย และยังสูญหายอีกเป็นจำนวนมาก  

    ต่อเนื่องด้วยข่าวการเสียชีวิตของ จ.อ.สมาน กุนัน นักทำลายใต้น้ำจู่โจมนอกราชการ ที่เสียชีวิตเมื่อช่วงกลางดึกของวันที่ 5 ก.ค.จากภารกิจช่วยเหลือเด็กๆ ที่ติดอยู่ในถ้ำ ที่ "มนุษย์กบ" ต้องเป็นส่วนหน้าในการทะลุทะลวงค้นหาเป้าหมาย ซึ่งสังคมยกย่องให้เป็น วีรบุรุษ แม้จะไม่มีใครต้องการให้มี วีรบุรุษ ที่ถูกยกย่องจากการสูญเสียเกิดขึ้นก็ตาม


    ท่ามกลางการพยายามพาหมูป่าออกจากถ้ำ นี่คือสถานการณ์ที่โลกเฝ้าติดตามและส่งพลังใจ ให้การทำงานของบรรดาทุกหน่วยงานที่ระดมสรรพกำลังกันมาพิชิตภารกิจหินในครั้งนี้สำเร็จลุล่วงด้วยดี 
    นอกจากหัวใจที่กล้าแกร่ง นั่นคือ วิธีการ แนวทาง ทุกรูปแบบ
    ที่จะนำทั้ง 13 ชีวิตออกจากถ้ำกันก่อน โดยเฉพาะแนวทางที่วางไว้ตอนแรก นั่นคือให้ทั้ง 13 ชีวิต  ดำน้ำ ออกมาบริเวณปากถ้ำ ซึ่งในสภาพการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หน่วยซีล ใช้เวลาจากปากถ้ำมาถึงเนินนมสาวทั้งสิ้น 11 ชั่วโมง ขณะที่การกลับออกไปใช้เวลาประมาณ 6 ชั่วโมง เนื่องจากมีกระแสน้ำช่วย
    แสดงให้เห็นว่าภารกิจดังกล่าวเป็น "งานหิน" ขนาดไหน เมื่อนักดำน้ำที่มีความเชี่ยวชาญยังใช้เวลาถึง 6 ชั่วโมงกว่าจะถึงปากถ้ำ การให้เด็กและโค้ชที่เพิ่งได้รับการฟื้นฟูร่างกาย และไม่มีประสบการณ์การดำน้ำปฏิบัติตามจึงเป็นเรื่องที่ "เสี่ยงมาก" อีกทั้งยังมีปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ อย่างฝนตกเป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขสำคัญ ประกอบกับสำนักข่าว CNN สัมภาษณ์อดีตหน่วยซีลของสหรัฐอเมริกา ซึ่งให้ความเห็นว่าวิธีการดังกล่าวควรเป็นทางเลือกสุดท้าย เพราะมีความเสี่ยงมากและอาจมีการสูญเสียเพิ่ม
    ขณะที่เจ้าหน้าที่ต่างระดมสรรพกำลังในการหาหนทางช่วยเหลืออื่นๆ ทั้งการสำรวจปล่องบริเวณเหนือถ้ำเพิ่มเติมเพื่อทำการเจาะ หรือแม้กระทั่งข้อแนะนำของนักวิชาการ ที่ระบุให้หน่วยค้นหาเป็นหัวหอกในการหาทางออกทางอื่นที่เป็นโพรงหิน 
    และอีกหนึ่งทางเลือกแนะนำของนาย สมบัติ อยู่เมือง อาจารย์ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ คือ "เดินไปยังทางออกของถ้ำหลวง อีกประมาณ 2 กิโลเมตร ตามแผนที่ที่นายมาร์ติน อิลลิส นักสำรวจชาวอังกฤษที่มีความเชี่ยวชาญได้ทำไว้ ซึ่งค่อนข้างละเอียดมาก การวัดพิกัดทุกอย่างใกล้เคียงความจริง พบว่ามีจุดทางท้ายถ้ำที่เรียกว่า มาร์ตินพอยต์ มีการระบุว่ามีแสงส่องลงมาในบริเวณนั้น น่าจะเป็นจุดที่นักปีนเขาจะโรยตัวไปรับเด็กขึ้นมาได้"
    อย่างไรก็ตาม ปัจจัยอันดับแรกที่ทุกคนต่างคำนึงถึงคือ ความปลอดภัย ของทั้งผู้ประสบภัยพิบัติ และผู้ช่วยเหลือ แม้จะใช้เวลาอีกค่อนข้างนานก็ไม่ใช่ปัญหาแต่อย่างใด หากทุกชีวิตสามารถออกมานอกถ้ำได้โดยสวัสดิภาพ และไม่มีการสูญเสียเพิ่มขึ้นอีก
    กล่าวได้ว่านี่นับเป็นกรณีศึกษากรณีแรกที่ประเทศไทยเคยพบ และ "อาจเป็น" กรณีแรกของโลกที่การช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติมีความสลับซับซ้อนมากถึงขนาดนี้
    โดยบทเรียนที่ได้รับนั้นไม่ใช่เพียงได้ช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่รวมไปถึงมาตรการรับมือในอนาคต และการให้ความสำคัญกับการเพิ่มบทบาทและประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่กู้ภัยอย่างเต็มที่เสียที เพราะไม่แน่วันหนึ่งเราอาจต้องเจอเหตุการณ์ลักษณะนี้ซ้ำรอย!
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"