ไทย1ใน14ประเทศมีผู้ติดเชื้อวัณโรคสูงเสียชีวิตปีละ1.2หมื่นราย


เพิ่มเพื่อน    

 

ไทยติดอันดับ 1ใน 14ประเทศ  มีผู้ติดเชื้อวัณโรคสูงอัตรา 1.2แสนคนต่อปี  เข้าถึงการรักษาแค่ 60%เสียชีวิตปีละ  1.2หมื่นราย สมาคมปราบวัณโรคฯ รณรงค์เปิดตัว “โครงการรณรงค์ประเทศไทยปลอดวัณโรค” เน้นความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อก้าวสู่เป้าหมายการยุติวัณโรค

 10 มิ.ย. ณ โรงแรมเดอะสุโกศล มีการเสวนา "โครงการประเทศ“ไทยปลอดวัณโรค” โดย สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยในโครงการมีกิจกรรมหลัก คือ ทุนสนับสนุนโครงการเพื่อพัฒนานวัตกรรมสำหรับการดูแลและควบคุมวัณโรค ปี 2561 (TB Grant 2018) เพื่อกระตุ้นให้โรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องตื่นตัวและคิดหานวัตกรรมเพื่อการควบคุมวัณโรคที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยมีทุนสนับสนุนรวม 3แสนบาทโดยจะมอบให้ปีละ3โครงการ โครงการละ 1 แสนบาท โดยหน่วยงานที่สนใจสามารถส่งรายละเอียดโครงการขอรับทุน รวมทั้งหลักฐาน เอกสารสนับสนุน ซึ่งจะต้องเป็นโครงการที่ไม่เคยได้รับรางวัลมาก่อน และสามารถขยายผลและปฏิบัติลงสู่พื้นที่อื่นได้

โดยศ. เกียรติคุณ นพ. อรรถ นานา นายกกรรมการบริหาร สมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่า โครงการรณรงค์ประเทศไทยปลอดวัณโรค ซึ่งรวมถึงการให้ทุน TB Grant 2018 จะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้หน่วยงานภาครัฐ โรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงประชาชน เสนอนวัตกรรมเพื่อการควบคุมวัณโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยนวัตกรรมนั้นควรสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่นั้นๆ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาโมเดลความร่วมมือของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ที่ร่วมกับเครือข่ายงานวัณโรคภาคประชาชนจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งได้รับทุน TB Grant เมื่อพ.ศ. 2553 และได้ดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในเชิงรุกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2553 จนถึงปัจจุบัน สามารถขยายเครือข่ายให้ความรู้และเข้าถึงชุมชนได้ถึง 469 หมู่บ้าน จากทั้งหมด 2,066 หมู่บ้าน นับเป็นอีกโมเดลตัวอย่างที่ดำเนินงานได้โดยประชาชนมีส่วนร่วม หากได้นำแนวคิดและวิธีการไปปรับใช้และขยายผลในจังหวัดอื่นๆ ก็จะสามารถช่วยลดอุบัติการณ์ของวัณโรคในประเทศไทยได้ และมุ่งสู่เป้าหมายในการยุติวัณโรคใน พ.ศ. 2578 ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายยุติวัณโรคขององค์การอนามัยโลก

พญ.ผลิน กมลวัทน์ ผู้อำนวยการสำนักวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณ สุข กล่าวว่า องค์การณ์อนามัยโลกได้จัดให้ประเทศไทยติด 1 ใน 14 ประเทศที่พบผู้ป่วยวัณโรคสูงโดยพบอัตรา 1.2 แสนคน/ปี มีผู้เข้าถึงระบบการรักษาเพียงร้อยละ 60 และเสียชีวิตสูงถึงปีละ 12,000 ราย ทั้งวัณโรคที่ติดเชื่อ HIV สูง และมีวัณโรคดื้อยารุนแรงเนื่องจากไม่มียารักษาประมาณปีละ 4,500 คน ซึ่งเป็นจำนวนที่เยอะมาก ดังนั้น สธ.ก็ได้มีมาตรการเร่งรัดค้นหาเพื่อเอาผู้ป่วยที่ติดเชื้อมารักษาให้ เพื่อตัดวงจรการแพร่เชื้อเพราะการแพร่เชื้อง่ายมาก มีการติดต่อในระบบทางเดินหายใจ เพราะฉะนั้นการที่ใช้บริการรถไฟฟ้า การเดินในห้างสรรพสินค้า มีโอกาสรับเชื้อสูงมาก ทั้งนี้ในกลุ่มเสี่ยงสูง เช่นผู้ที่อยู่ในที่แออัดเช่นกลุ่มนักโทษ กลุ่มผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรค HIV และกลุ่มที่สัมผัสผู้ป่วย เช่นพ่อแม่พี่น้อง กลุ่มแรงงานข้ามชาติที่มีการเคลื่อนย้ายไปมา เพราะในประเทศเพื่อนบ้านมีวัณโรคสูงมากกว่าบ้านเรา และกลุ่มบุคลากรทางด้านสาธารณสุข ต้องมีการนำมาคัดกรองว่ามีการติดเชื้อในระยะแฝงหรือไม่ ซึ่งต้องรีบคัดกรองเพราะวัณโรคมีระยะฟักตัวที่นาน อย่างในปี 2560 แล้วสำนักวัณโรคกรมควบคุมโรค ก็ได้มีการนำรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ ไปเอ็กซเรย์นักโทษทั้งหมด 3 แสนคน เพื่อวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคหรือไม่ หากพบว่าติดเชื้อก็ต้องรีบนำมาให้ยาป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดโรคในอนาคต ซึ่งทั้งสองส่วนต้องมีการดำเนินการค้นหาควบคู่กันเพื่อให้การควบคุมในอนาคตมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้สำหรับแผนปฏิบัติการเพื่อควบคุมวัณโรค ได้มีการนำเรื่องเข้า ครม.เป็นที่เรียบร้อย โดยในระยะเวลา 5 ปี คือตั้งแต่ปี 2560-2564ต้องลดอัตราผู้ติดเชื้อ 172 คน/1 แสนประชากร ให้เหลือ 88 คน/1แสนประชากรซึ่งเราก็พยายามเดินไปตามเป้าขององค์การอนามัยโลกว่าภายใน20 ปีข้างหน้า หรือ 2578 ต้องลดให้น้อยกว่า10 คน/1 แสนประชากร ซึ่งการดำเนินงานนั้นเนื่องจากมติได้ผ่าน ครม.แล้ว เพราะฉะนั้นก้มีการทำงานร่วมกับทุกกระทรวง โดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อสอนให้เด็กนักเรียนรู้จักการเฝ้าระวังตัวเองรู้จักว่าวัณโรคเป้นอย่างไร นอกจากนี้ก็มีกระทรวงแรงงาน พม. กระทรวงยุติธรรม ที่อนุญาตให้เราเข้าดูลนักโทษในเรือนจำ ซึงทุกกระทรวงได้รับการรับรองว่าจะให้ความร่วมมือในการป้องกันวัณโรคจึงจะผ่านมติ ครม.ได้

นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ รองผู้อำนวยการสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า สำหรับกรุงเทพมหานคร นอกจากจะมีการเร่งรัดการดำเนินงานวัณโรคแล้ว ยังได้มีมาตรการใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา โดยมีการลงทุนงบประมาณในการจัดตั้ง ‘TB Referral Center’ ขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกต่อการส่งต่อผู้ป่วยวัณโรค เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดยา รวมถึงเพื่อกำกับการกินยาที่สถานพยาบาลใกล้บ้าน โดยศูนย์ฯ จะมีการส่งต่อผู้ป่วยที่วินิจฉัยแล้วจากสถานที่หนึ่ง แต่สมัครใจจะไปรักษาที่อื่น หรือส่งต่อผู้ป่วยที่รักษาอยู่ในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งไปยังแห่งอื่นทั้งในกรุงเทพฯ หรือในต่างจังหวัด รวมถึงช่วยติดต่อสถานที่ทำ DOT (การกินยาโดยมีพี่เลี้ยงกำกับ) ให้เหมาะสมกับผู้ป่วย มีการติดตามผลเมื่อรักษาครบ เปรียบเสมือนศูนย์กลางที่คอยประสานและติดตามผลเพื่อให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่อง โดยเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมา มีผู้ป่วยวัณโรคที่ใช้บริการศูนย์ ‘TB Referral Center’ จำนวน 488 คน 

ทั้งนี้สำหรับผู้ป่วยเป็นวัณโรคจำเป็นต้องรักษาและกินยาอย่างต่อเนื่องทุกเม็ด ทุกมื้อตลอด 6 เดือนจนหายขาด ซึ่งจะใช้ค่ายารักษาประมาณ 3,000 กว่าบาทต่อราย ทั้งนี้รัฐบาลให้บริการการรักษาฟรี ทั้งค่ารักษาค่ายา แต่หากผู้ป่วยกินยาไม่สม่ำเสมอ และหรือหยุดยาเองจะทำให้เป็นวัณโรคดื้อยา ทำให้ต้องเปลี่ยนกลุ่มยาซึ่งจะมีราคาแพงขึ้นเป็นหลักแสนบาท และต้องกินยาไม่น้อยกว่า 18 เดือน และถ้าเป็นวัณโรคเชื้อดื้อยาขั้นรุนแรง ก็จะมีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"