ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ "ดับเบิลเซฟ" ช่วงโควิด


เพิ่มเพื่อน    


    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบให้เกิดความวิตกกังวลต่อคนทั่วโลก รวมถึงประชาชนยังขาดการรับรู้ และขาดความเข้าใจในเชิงป้องกันในโรคที่มีอาการที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่ ซึ่งปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีโรคระบาดทั้งสองโรคพร้อมกัน นอกจากความเสี่ยงที่จะติดโรคใดโรคหนึ่งแล้ว ประชาชนยังมีโอกาสที่จะติดเชื้อร่วมกัน (co-infection) จากทั้งไข้หวัดใหญ่และเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการรุนแรง เกิดอาการแทรกซ้อน และยิ่งทำให้การรักษามีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น
    “มูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่” จึงได้จัดระดมแนวคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐ และสถาบันทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสวนาเรื่อง “ความสำคัญของการป้องกันไข้หวัดใหญ่ในช่วงการระบาดของโควิด-19” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจในเรื่องของวัคซีนไข้หวัดใหญ่ สร้างความตระหนักรู้ในการป้องกันไข้หวัดใหญ่สำหรับภาคประชาชน

(รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์)

    รศ. (พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ประธานมูลนิธิส่งเสริมศึกษาไข้หวัดใหญ่ และนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย เผยว่า “สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย กรมควบคุมโรค ปี 2563 ท่ามกลางการระบาดโควิด-19 ตั้งแต่ 1 ม.ค.-28 พ.ย.2563 มีรายงานพบผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ 119,300 ราย คิดเป็นอัตราป่วยไข้หวัดใหญ่ 179.44 ต่อประชากรแสนคน โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคยังคงพบในเด็กเล็กกลุ่มอายุ 0-4 ปี รองลงมาคือ กลุ่มอายุ 5-14 ปี สำหรับไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ระบาดในทุกๆ ปี และตลอดปีจะระบาดมากในช่วงหน้าฝนและหน้าหนาว
     จึงมีความน่ากังวลเพิ่มมากขึ้น เพราะอาการของทั้งสองโรคนั้นค่อนข้างคล้ายคลึงกัน โดยผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่จะมีอาการไข้สูง 38-40 องศาเซลเซียส ไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ซึ่งจะมีอาการที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อย คือ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 จะมีน้ำมูกไม่เยอะ และยังมีการแพร่กระจายสู่ผู้อื่นจากการสัมผัสน้ำมูกหรือเสมหะของผู้ป่วยเมื่อมีการไอและจามเหมือนกันอีกด้วย
     จากการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศจีน พบว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคโควิด-19 จะทำให้มีโอกาสเสี่ยงในการได้รับเชื้ออื่นๆ แทรกซ้อนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20-80 และการติดเชื้อร่วมกันกับโควิด-19 พบว่าเป็นไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A มีโอกาสทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการติดเชื้อร่วมกันนั้นเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตมากถึงร้อยละ 29-55 จึงแนะให้ประชาชนควรใส่ใจป้องกันตนเองและคนใกล้ชิด ควรสวมหน้ากากอนามัยเป็นประจำ หมั่นล้างมือบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงการไปในสถานที่แออัด รวมถึงควรรับการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่เพื่อลดโอกาสเสี่ยงในการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ร่วมกับการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนโควิด-19 ที่กำลังระบาดนี้

(ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร)

    ด้าน ศ.นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร หัวหน้าภาควิชาอายุรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยผู้อำนวยการสถานเสาวภา สภากาชาดไทย เผยถึงสถานการณ์การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ของคนไทยในช่วงการระบาดโควิด-19 ว่า ตอนที่อยู่ในช่วงที่มีการ lockdown พบว่าการให้วัคซีนในเวชปฏิบัติลดลงคล้ายกับในประเทศอื่น อย่างไรก็ตามภายหลังการปลด lockdown ดูเหมือนมีความสนใจในการป้องกันโรค โดยเฉพาะการป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจหรือปอดบวมมากขึ้น และทำให้การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ก็มากขึ้นยิ่งในผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว ซึ่งสังคมไทยกำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ยิ่งต้องเกิดภาวะพึ่งพาด้านสาธารณสุขเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมีการเจ็บป่วย ดังนั้นการให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในผู้สูงอายุและการป้องกันโดยการฉีดวัคซีนเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ หรือการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล จึงถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยลดการทนทุกข์ทรมานต่อความเจ็บป่วย รวมทั้งช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลได้อีกด้วย
     ในกรณีไข้หวัดใหญ่ เกิดจากเชื้อไวรัสติดต่อโดยการหายใจ หรือการสัมผัสสิ่งของที่ปนเปื้อนเชื้อทั่วไป อาการมักไม่รุนแรง แต่หากเกิดในผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน หอบหืด ถุงลมปอดโป่งพอง โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือได้รับยากดภูมิคุ้มกัน รวมถึงหญิงตั้งครรภ์ อาจมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม ทำให้ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลและอาจเสียชีวิตได้ นอกจากนี้ยังควรฉีดวัคซีนแก่บุคคลซึ่งใกล้ชิดกับผู้สูงอายุ หรือกลุ่มผู้มีปัจจัยเสี่ยงสูง เช่น ผู้ดูแลผู้สูงอายุ หรือดูแลผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว เพราะมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงเมื่อตนเองป่วยเช่นกัน

(นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์)

    ด้าน นพ.วงวัฒน์ ลิ่วลักษณ์ ผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานครสูง หัวหน้าเขตตรวจราชการ 3 กล่าวว่า “กรุงเทพมหานครมีมาตรการดูแลป้องกันอย่างเข้มข้น โดยมีการเตรียมความพร้อมระบบเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมถึงมีแนวทางตรวจคัดกรองผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในสถานพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา และได้จัดตั้งคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจในทุกศูนย์บริการสาธารณสุข (ARI Clinic) คัดกรองผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจทั้งหมดไม่ให้เข้าไปในตัวอาคารของสถานพยาบาล เพื่อลดการแพร่เชื้อทั้งโรคไข้หวัดใหญ่ โรคโควิด-19 และโรคระบบทางเดินหายใจอื่นๆ
     นอกจากนี้ยังได้เปิดให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่แก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่ควรได้รับวัคซีน จำแนกได้ 7 กลุ่ม ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป เด็กอายุ 6 เดือนถึง 2 ปี ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) และโรคอ้วน (น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม หรือค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กิโลกรัม/ตารางเมตร) ซึ่งได้รับการจัดสรรวัคซีนไข้หวัดใหญ่จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) โดยในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถลงทะเบียนจองสิทธิ์ล่วงหน้าเพื่อขอรับการฉีดวัคซีนผ่าน Line: @ucbkk สร้างสุข


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"