เตือนครูเบี้ยวหนี้นึกถึงถูกฟ้องล้มละลายหมดสถานภาพข้าราชการ              


เพิ่มเพื่อน    

     

“หมอธี” โนคอมเมนท์กรณีการแชร์คลิปข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกาศปฎิญญามหาสารคาม ไม่ชำระหนี้ ธ.ออมสิน เผยไม่ต้องการที่จะไปทะเลาะกับใคร และไม่ขอชี้ว่าใครเป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่ดี ด้าน“พินิจศักดิ์” เผยสกสค. พยายามช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินอย่างที่สุดแล้ว ย้ำหากเบี้ยวหนี้จริง ก็คงถูกแบงก์ฟ้องร้อง กลายเป็นบุคคลล้มละลาย หมดคุณสมบัติเป็นครู ต้องออกจากราชการ  เตือนอย่าแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ควรมาปรึกษาหารือกัน

16ก.ค.61-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในโลกออนไลน์ได้มีการแชร์คลิปข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกันประกาศปฎิญญามหาสารคาม หลังมีการประชุมร่วมกันเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2561 ขอให้รัฐบาล และธนาคารออมสิน พักหนี้โครงการสวัสดิการเงินกู้การฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา (ช.พ.ค.)ทุกโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป และลูกหนี้ ช.พ.ค จำนวน 450,000 แสน จะดำเนินการยุติการชำระหนี้กับธนาคารออมสิน ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งหลังคลิปดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ไปปรากฏว่าถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก โดยมองว่าเป็นเรื่องที่น่าอับอาย เป็นหนี้แล้วไม่จ่าย ไม่มีวินัย ทำให้ภาพพจน์ครูซึ่งเป็นอาชีพที่ได้ชื่อว่าเป็นแม่พิมพ์ของชาติเสื่อมเสียและมัวหมอง

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ตนได้เห็นคลิปวีดีโอดังกล่าวแล้ว ซึ่งในข้อร้องเรียนที่ต้องการให้ธนาคารออมสินพักชำระหนี้นั้น ตนไม่มีอำนาจในการพักชำระหนี้ให้ใครได้ เพราะเป็นอำนาจของธนาคารออมสิน และสำหรับในกรณีที่มีการอ้างถึงสมาชิก จำนวนกว่า 4 แสนคนว่าจะยุติการชำระหนี้นั้น ตนคิดว่าครูกลุ่มนี้สามารถพูดในนามสมาชิก ช.พ.ค.กว่า 4 แสนคนได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ตนไม่ทราบในรายละเอียดว่าบุคคลที่ปรากฏในคลิปวีดีโอดังกล่าวเป็นข้าราชการครูกี่คน เพราะสมาชิก ช.พ.ค.มีกลุ่มผู้ที่เกษียณอายุราชการด้วย และตนเองก็ไม่ต้องการที่จะไปทะเลาะกับใคร อีกทั้งทาง สกสค.และธนาคารออมสิน ก็ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของ สมาชิก ช.พ.ค. และสมาชิกการฌาปนกิจสงเคราะห์ช่วยเพื่อนครูและบุคลากรทางการศึกษา ในกรณีคู่สมรสถึงแก่กรรม (ช.พ.ส.) แล้ว ซึ่งก็มีกลุ่มครูที่ได้รับประโยชน์จากการดำเนินการเรื่องนี้ ทั้งนี้หากถามว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่ ตนไม่ขอชี้ว่าใครเป็นตัวอย่างที่ดีหรือไม่ดี

ด้านนายพินิจศักดิ์ สุวรรณรังค์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาฯ ก.ค.ศ.) ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (เลขาฯ สกสค.) กล่าวว่า ตนได้รับทราบเรื่องดังกล่าวจากที่มีผู้ส่งข้อความทางไลน์มาให้ ซึ่งส่วนตัวแล้วมองว่าก่อนหน้านี้ สกสค.และธนาคารออมสิน ได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาหนี้สินของ สมาชิก ช.พ.ค. และสมาชิกช.พ.ส. ตามนโยบายของรัฐบาล โดยสำนักงาน สกสค.ขอไม่รับเงินสนับสนุนจากธนาคารออมสินตามข้อตกลงเดิม แต่ให้นำเงินดังกล่าวประมาณปีละ 2,000 กว่าล้านบาทไปลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ลูกหนี้ที่มีวินัยทางการเงินดี ซึ่งครูกว่า 4 แสนคนที่เป็นลูกหนี้ที่ดีจะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ย ตั้งแต่เดือน มิ.ย.เป็นต้นไป นอกจากนี้ สกสค.กำลังอยู่ระหว่างเจรจากรณีการทำประกันชีวิต ที่บริษัทประกันจะต้องให้สิทธิพิเศษหรือส่วนลดแก่สมาชิก ช.พ.ค.และ ช.พ.ส.มากกว่าบุคคลทั่วไป

“ขณะนี้ทุกอย่างกำลังเดินหน้าไปด้วยดี ผู้ที่เกี่ยวข้องต่างให้ความร่วมมือและพยายามช่วยกันแก้ไขปัญหา ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้แก้ปัญหาไปเปราะหนึ่งแล้ว ที่เหลืออาจต้องใช้เวลาบ้าง อย่างไรก็ตามผมจะหารือเรื่องนี้กับทางธนาคารออมสินและหาทางออกที่ดีที่สุด เพราะเป็นเรื่องละเอียดอ่อน พร้อมกันนี้ สกสค.ต้องทำความเข้าใจกับครู เกรงว่าหากครูยุติการชำระหนี้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นหนี้เกิน 1 ล้านบาท ถ้าธนาคารออมสินฟ้องร้องและศาลสั่งเป็นบุคคลล้มละลาย จะเกิดปัญหาขาดคุณสมบัติของการเป็นครู  เรื่องนี้ผมไม่ได้เข้าข้างธนาคารออมสิน แต่อยากให้เข้าใจด้วยว่า ถ้าครูไม่จ่ายหนี้ธนาคารออมสินก็มีปัญหา  ในการรายงานต่อแบงค์ชาติ ผมไม่อยากให้ครูแก้ปัญหาที่ปลายเหตุแต่ควรจะมีการหารือ และนำเสนอว่ามีครูจำนวนกี่คนที่มีปัญหา เพื่อจะได้หาทางออกร่วมกันว่าจะปรับโครงสร้างหนี้ หรือให้ความช่วยเหลือในรูปแบบใด แต่จะไม่จ่ายหนี้เลยเป็นไปไม่ได้”ปฏิบัติหน้าที่เลขาฯ สกสค.กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"