ผลกระทบเสพข่าวชวนเศร้า สร้างปัญหาสุขภาวะผู้สูงอายุ


เพิ่มเพื่อน    

    บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุและเด็กเล็กเห็นภาพข่าวภัยธรรมชาติต่างๆ ไม่ว่าจะเหตุการณ์เรือล่มทางภาคใต้ ตลอดจนข่าวการช่วยเหลือน้องๆ ที่ติดถ้ำทางภาคเหนือ หรือเหตุการณ์แผ่นดินไหวในประเทศญี่ปุ่นแล้ว จะเกิดอารมณ์ร่วมพร้อมกับการเกาะติดกระแสด้วยความอยากรู้อยากเห็น ต้องการรู้ผลลัพธ์ 

(หลังรับชมรายการทีวีสุดเครียด ให้จบลงด้วยรายการที่สร้างความบันเทิงและเสียงหัวเราะให้กับผู้สูงวัย)

     ผู้สูงอายุหลายๆ ท่านที่เกิดอารมณ์ร่วม เช่น ร้องไห้ เสียใจ หรือบางรายถึงขั้นกินไม่ได้ นอนไม่หลับ ล้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคุณตาคุณยาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสังคมไทยมีความเห็นอกเห็นใจมาแต่ไหนแต่ไร โดยเฉพาะการได้เห็นผู้อื่นเดือดร้อน ไม่ว่าจะเป็นคนในประเทศของเราเอง หรือแม้แต่ภัยพิบัติในต่างประเทศ คนไทยก็ร่วมส่งกำลังใจไปเชียร์และช่วยเหลืออยู่เนืองๆ เพื่อให้การเสพสื่อของผู้สูงอายุเป็นไปอย่างรู้เท่าทัน อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิจาก สสส. มีคำแนะนำที่น่าสนใจมาบอกกัน

(อ.ณรงค์ เทียมเมฆ)

    อ.ณรงค์ให้ข้อมูลว่า “หลักของการเสพสื่อเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเรานั้น สามารถใช้ 2 หลักเหตุผล อันที่ 1 คือ “มีเหตุผล” และประการต่อมาคือ “ความพอดี” ซึ่งหมายถึงการไม่จมอยู่กับการรับชมข่าวแบบงมงาย แต่ต้องรู้จักถอนตัวเองออกจากข่าวสารในบางเวลา เพราะหลักของการเสพสื่อนั้นก็เพื่อให้รู้ความเป็นไปของเหตุการณ์ แต่ทั้งนี้ ผู้สูงอายุก็ต้องไม่ลืมว่าข่าวสารต่างๆ มักจะนำเสนอวนเวียนซ้ำไปมาทั้งวัน ยกตัวอย่างเหตุการณ์ช่วยเหลือน้องๆ ผู้ประสบภัยติดถ้ำตลอดกว่า 10 วันที่ผ่านมา ก็นำเสนออยู่แบบเดิมๆ และคำตอบที่ได้มีอยู่ประมาณ 1-3 ประเด็น แม้ว่าตอนนี้เหตุการณ์จะเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีแล้วก็ตาม จากการช่วยเหลือของทุกฝ่ายทั้งในและต่างประเทศ ตรงนี้เป็นการยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดเจนเท่านั้นครับ เพราะยังมีอีกหลายเหตุการณ์ที่ถูกนำเสนอซ้ำบ่อยๆ ในเชิงดังกล่าว เพราะถ้าหากเราเฝ้าอยู่กับข่าวสารมากเกินไป จะทำให้ผู้สูงอายุเกิดภาวะ “ย้ำคิดย้ำทำ” และนั่นอาจมีแนวโน้มทำให้ “ป่วยโรคซึมเศร้า” ได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากเราได้นำตัวเองเข้าไปเป็นตัวละครที่กำลังดูอยู่ 
    เปรียบเทียบง่ายๆ ว่า การเสพข่าวอย่างพอดีก็คล้ายกับการกินอาหารให้เกิดประโยชน์กับสุขภาพที่จะต้องบริโภคให้ครบ 5 หมู่ ดังนั้นการดูข่าวก็จำเป็นต้องมีระยะเวลาที่เหมาะสมเช่นเดียวกัน เช่น การแบ่งเวลาดูเรื่องนันทนาการ บันเทิง หรือสารคดีเกี่ยวกับธรรมชาติ หรือมรดกโลกบ้าง เพื่อเป็นการเบรกจากการรับชมสิ่งที่หนักมากเกินไป และสร้างอารมณ์ให้ผ่อนคลาย เพราะปัจจุบันมีผลสำรวจออกมาแล้วว่า คนส่วนใหญ่มักติดการจ้องหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นการรับชมทีวี หรือการจ้องอุปกรณ์สมาร์ทโฟน วันละ 13 ชั่วโมง จะทำให้เกิดพฤติกรรมเนือยนิ่ง ซึ่งจะทำให้ป่วยเป็นโรคกลุ่ม NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน ฯลฯ 

(ผู้สูงอายุที่เสพข่าวหรือเหตุการณ์ร้ายแรง หากรับชมเป็นเวลานานหลายชั่วโมงติดต่อกัน อาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้)

    “คำถามที่ว่าแล้วเราจะต้องรับชมข่าวสารอย่างไรถึงจะพอดี ส่วนตัวอาจารย์จะดูข่าวรวมๆ ทั้งวันประมาณ 1-2 ชั่วโมง หรือตั้งแต่ช่วง 1 ทุ่มไปจนถึง 4 ทุ่ม และบางครั้งระหว่างที่รับชมก็เปิดทีวีทิ้งไว้เพื่อฟังเสียง และหันไปออกกำลังกายบ้างเพื่อสร้างความผ่อนคลาย บางวันก็สลับไปดูหนังเก่าบ้าง พูดง่ายๆ ว่าหลังดูข่าวแล้วก็ให้จบลงด้วยรายการบันเทิง ก็ถือเป็นการตัดบทหรือถอนตัวจากความเศร้า สะท้อนใจ แต่ขณะเดียวกัน เราก็ได้รับรู้ความเป็นไปของเหตุการณ์บ้านเมืองครับ”
    ทั้งนี้ ลูกหลานเองก็ควรหมั่นสังเกตตายาย หากว่าท่านดูข่าวแล้วเกิดภาวะเครียด นิ่ง ไม่พูดไม่คุย ร้องไห้ ก็ควรรีบเข้าไปพูดคุยเพื่อสอบถาม และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างลูกหลานกับผู้สูงอายุเกี่ยวกับสิ่งที่ได้รับ เพื่อสร้างความผ่อนคลายให้กับท่าน ตลอดจนทำให้ลูกหลานรู้ว่าสภาพจิตใจของพ่อแม่ ปู่ย่าตายายระหว่างนั้นเป็นอย่างไร เพื่อนำมาสู่การแก้ไข เยียวยาที่ถูกต้องเหมาะสม. 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"