พบทุเรียนพันธุ์หายากใน.กระบี่ รสชาติใกล้เคียงทุเรียนหมอนทอง


เพิ่มเพื่อน    

สุดยอดทุเรียน!!! พบทุเรียนพันธุ์หายากใน.กระบี่ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยฯ ลงพื้นที่ตรวจสอบ หวังอนุรักษ์ทุเรียนพื้นที่บ้านปลอดสารพิษ หลังพบรสชาติอร่อย  หวานมัน ใกล้เคียงทุเรียนหมอนทอง พร้อมเก็บตัวอย่างไปวิจัย และตั้งชื่ออย่างเป็นทางการต่อไป

วันที่ 22 กรกฎาคม 2561  ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นักวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร นำโดย นางสาวจินตา มานะกิจ ผช.นักวิจัย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร  พร้อมนาย สมนึก  ครบถ้วน นักจัดรายการวิทยุชุมชน  ลงพื้นที่ตรวจสอบทุเรียนพันธุ์ กล้วยไข่   ที่บ้านของ นายพิษณุ สรัสวดี อายุ 40 ปี บ้านเลขที่ 19/1 ม.7 ต.ปกาสัย อ.เหนือคลอง จ.กระบี่  หลังทราบว่า เป็นทุกเรียนรสชาติอร่อย  เนื้อนุ่ม หวานมัน  รสชาติคล้ายทุเรียนหมอนทอง    สายพันดังกล่าวมีอยู่เพียง3ต้นเท่านั้นในจังหวัดกระบี่  ขณะที่นายพิษณุ ได้ประกาศขายทุเรียน ผ่านเฟซบุคหวังนำรายได้ทั้งหมดมอบให้โรงพยาบาลกระบี่ ราคา กก.ละ300บาท  ส่งผลให้มีลูกค้าแห่จองกันเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ได้ทำการชิมเนื้อทุเรียนดัง  และเก็บตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ เพื่อเปรีบเทียบกับทุเรียนพื้นบ้านสายพันธุ์ อื่นๆ พบว่า มีรสชาติที่แตกต่างจากทุเรียนทั่วไป   และไม่มีกลิ่นฉุน  ผลมีขนาดเล็กน้ำหนักประมาณ 8ขีด ถึง 1กก.  แต่รสชาติทุเรียน มีความ หวานมัน  คล้ายๆกับทุเรียนหมอนทอง     เจ้าหน้าที่จึงเก็บตัวอย่างผลทุเรียนไปตรวจวิเคราะห์ เพื่อหาทางขยายพันธุ์ และตั้งชื่อสายพันธุ์อย่างเป็นทาง ต่อไป  

ด้านนางสาวจินตา มานะกิจ ผช.นักวิจัยฯ  เปิดเผยว่า การลงพื้นที่ตรวจสอบทุเรียน สายพันธุ์พื้นบ้านครั้งนี้ เนื่องจาก ทางศูนย์วิจัย และพัฒนาการเกษตร สุราษฎร์ธานี  ได้จัดทำโครงการเกี่ยวกับ รวบรวมพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน ของ 7จังหวัดภาคใต้ตอนบน เพื่ออนุรักษ์สายพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้าน  โดยที่ผ่านมาได้ไปเก็บตัวอย่างพันธุ์ทุเรียนพื้นบ้านหลายแห่งใน7จังหวัดภาคใต้ตอนบนกว่า 13 สายพันธุ์  เพื่อส่งเสริม อนุรักษ์ ทุเรียนพื้นบ้าน  เพิ่มมูลค่าสร้างรายได้เกษตรกร    ซึ่งทุเรียน จะต้องมีคุณลักษณะพิเศษ ดังต่อไปนี้ คือ รสหวานมันและไม่ขม ไม่มีกลิ่นฉุน มีเส้นใยบางๆ มีครีมนุ่มๆในเนื้อทุเรียน  ถ้าเข้าหลักเกณฑ์จึงนำไปเก็บเป็นตัวอย่าง หลังจากนั้นก็จะทำการขอขยายพันธ์โดยการเสียบยอด เพราะปัจจุบันทุเรียนพื้นบ้านมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ จึงต้องการอนุรักษ์ไว้ให้คนรุ่นหลังได้รู้จักทุเรียนพื้นบ้าน และยังเป็นอีกทางเลือกของผู้บริโภค เพราะทุเรียนพื้นบ้านมีความปลอดภัย ไม่มีสารเคมีที่


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"