เกมอันตราย..."บิ๊กตู่" นายกฯ คนใน "พลังประชารัฐ"


เพิ่มเพื่อน    

       ในขณะที่เส้นทางเลือกตั้งในปี 62 กำลังใกล้เข้ามา แต่คสช.ยังไม่ยอมเปิดไฟเขียวให้ทำกิจกรรมทางการเมืองได้  แต่ปล่อยให้พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ภายใต้การนำของกลุ่มสามมิตร ไล่ดูด กวาดต้อนอดีต ส.ส.ภาคเหนือและภาคอีสานของพรรคเพื่อไทยอย่างโจ๋งครึ่ม พร้อมประกาศหนุน “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. เป็นนายกฯ หลังเลือกตั้ง  

      ขณะที่ตัว พล.อ.ประยุทธ์จะท่องบท “หนูไม่รู้” และยังไม่ตอบรับคำเชิญของพรรค พปชร. แต่ในทางการเมือง ก็ต่างฟันธงกันล่วงหน้าว่าเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม และ กกต.รับรองความเป็นพรรคอย่างสมบูรณ์ ชื่อของ “บิ๊กตู่” จะเข้ามาเป็นที่ปรึกษาพรรค และยอมเข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อ 1 ใน 3 เพื่อเสนอตัวเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 88  

      แม้แผนการจะถูกเซตฉากไว้อย่างสวยงาม แต่หากวิเคราะห์ให้แตกฉาน... อาจไม่ใช่หนทางที่ดีกับ พล.อ.ประยุทธ์ และ คสช. ในทางกลับกันอาจเป็นผลร้ายเสียมากกว่า สู้อยู่อยู่เฉยๆ วางตัวเป็นคนกลาง ไม่ลงรับสมัครเลือกตั้ง และรอขึ้นเสลี่ยงเป็นนายกฯ ก๊อก 2 หรือนายกฯ คนนอก ตามช่องรัฐธรรมนูญมาตรา 272 น่าจะเป็นทางรอดงดงาม

      โดยมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้ ข้อ 1 หาก พล.อ.ประยุทธ์ ที่ถือหมวก 2 ใบ คือนายกฯ และหัวหน้า คสช. ถืออำนาจรัฏฐาธิปัตย์ เมื่อยอมเข้าไปสังกัดพรรค พปชร. และถูกเสนอชื่อเป็นนายกฯ จะทำให้การเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์และยุติธรรม เพราะมีอำนาจพิเศษเหนือองค์กรอิสระอย่างคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และก่อนหน้านี้ก็เคยสั่งปลด นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. ที่พูดจนไม่เข้าหูรัฐบาลทหารมาแล้ว ร่วมทั้งยังมีมาตรา 44 เล่นงานพรรคการเมืองอื่นๆ ได้ในช่วงเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาล    

      ข้อ 2 ถูกย้อนเกล็ดว่าการลงพื้นที่พบประชาชนในหลายพื้นที่ก่อนหน้านี้ เทงบอัดฉีดโครงการประชารัฐ   และโครงการไทยนิยม และล่าสุดได้นำ ครม.ลงพื้นที่ จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 23–24 ก.ค. ที่ดูดนักการเมืองและหาเสียงล่วงหน้า ถือว่าเป็นความจริง

      ข้อ 3 อาจทำให้เกิดแรงกระเพื่อมทางการเมือง และนำมาสู่ความวุ่นว่าย และ ขัดกับจุดยืนของ คสช. ที่เข้ามายึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2557 เพื่อต้องการรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง ซึ่งเป็นความรับผิดชอบโดยตรง ของ พล.อ.ประยุทธ์   

      ข้อ 4 จะถูกโจมตีทางการเมืองทุกสารทิศไม่ว่าจะเป็นพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิปัตย์ ที่มองในฐานะคู่แข่ง   หากเปรียบเป็นนักมวย “บิ๊กตู่” จะถูกชกจนช้ำ น่วม สะบักสะบอม ตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง และเกิดคำถามว่า ผู้นำทหาร   จะทนน้ำลายและการสาดโคลนของนักการเมืองได้หรือไม่  

      ข้อ 5 ขัดต่อเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาลมาตรา 263-264 ที่ต้องการให้รัฐมนตรี สปท. และ สนช. หากต้องการลงสมัครเป็น ส.ส. สังกัดพรรคการเมือง และมีสิทธิ์เสนอบุคคลที่จะเป็นนายกฯ ต้องลาออกจากตำแหน่ง 90 วันภายหลังรัฐธรรมนูญประกาศใช้ เพราะต้องการให้คนในแม่น้ำ 5 สายวางตัวเป็นกลาง และไม่ใช้อำนาจเพื่อเอื้อประโยชน์ให้ตัวเองในช่วงเลือกตั้ง แต่ “บิ๊กตู่” กลับอาศัยช่องทางดังกล่าวเพื่อไปเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่นๆ ใช่หรือไม่

      ดังนั้น การปล่อยให้พรรคการเมืองต่างๆ เลือกตั้งและประกาศผลไปตามวิถีทางปกติ โดย พล.อ.ประยุทธ์ไม่ลงมาแทรกแซงและยืนอยู่บนหอคอย พร้อมรอให้พรรคการเมืองต่างๆ ที่สนับสนุนตัวเองรวมตัวให้ได้อย่างน้อย 126 เสียงสำเร็จเสียก่อน ก็จะทำให้พรรคการเมืองอีกฟากไม่สามารถรวมตัวกันได้ 376 เสียง เพื่อผลักดันนายกฯ ได้สำเร็จ

      หากเป็นเช่นนั้น ช่องทางนายกฯ ก๊อกสองตามรัฐธรรมนูญ 272 ก็จะเปิด และ ส.ส.ฝ่ายตรงข้าม ก็อาจยอมรับข้อเสนอที่ปฏิเสธไม่ได้ และยอมเข้าร่วมกับ คสช. ที่มีอยู่แล้ว 126 เสียง จนทำให้มีเสียงเกิน 251 เสียง และเมื่อรวมกับ ส.ว.สรรหาที่ คสช.แต่งตั้งจำนวน 250 คน 

       บิ๊กตู่” ก็จะเป็นนายกฯ คนนอก และเจ็บตัวน้อยกว่านายกฯ คนใน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"