รองนายกฯมอบรางวัลแก่ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทย-ต่างชาติ ในวันภาษาไทยแห่งชาติ


เพิ่มเพื่อน    

25 ก.ค.61- ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย นายวิษณุ เครืองาม    รองนายกรัฐมนตรี ประธานเปิดงานวันภาษาไทยแห่งชาติ พ.ศ. 2561 พร้อมมอบเข็ม โล่เชิดชูเกียรติและรางวัลแก่ผู้ที่ได้รับคัดเลือกยกย่องเป็นปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นชาวไทยและต่างชาติ ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น ผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทยประเภทบุคคลและประเภทองค์กร เยาวชนผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่นที่มีความสามารถด้านการพูด การอ่าน การเขียน รางวัลการประกวดการเห่เรือ รางวัลการประกวดส่งเสริมการใช้ภาษาไทยถิ่นและศิลปินนักร้อง ที่ได้รับรางวัลเพชรในเพลง รวมทั้งมอบเกียรติบัตรผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย                  

นายวิษณุ เครืองาม  รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จากหลักฐานการประดิษฐ์อักษรไทยในอดีตที่เป็นระยะเวลากว่า 700 ปี ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่มีทั้งภาษาพูด ภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยถือว่าเป็นมรดกทางปัญญาที่ขาวไทยทุกคนภาคภูมิใจ ภาษาเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลาและยุคสมัย โดยเฉพาะในยุคปัจจุบัน ที่เทคโนโลยีสารสนเทศที่มีการประดิษฐ์คิดค้นวิธีการสื่อสารที่แตกต่างหลากหลายจากในอดีต และจะมีการพัฒนาต่อ แต่ในทางกลับกันก็มีผลกระทบต่อคนจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่เติบโตขึ้นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางภาษา ดังนั้นภาษาพูดและภาษาเขียนในยุคนี้อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เข้าใจในยุคต่อๆไป จึงต้องควรระมัดระวังในการใช้ภาษา ไม่ให้กระทบโครงสร้างและหลักของภาษา และไม่ให้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาง่ายเกินไป 

“ดังนั้นพื้นฐานที่ทุกคนได้เรียนภาษาไทยมาตั้งแต่เด็ก และใช้อย่างเป็นธรรมชาติ ดังนั้นในการใช้จริงอาจจะไม่รู้ตัวว่าใช้ภาษาไทยได้ไม่ถูกต้อง และหากคนที่ฟังไม่เข้าใจว่าที่พูดนั้นถูกหรือผิด ก็จะเกิดเป็นความเข้าใจแบบต่อไปด้วย ภาษาพูดรวมไปถึงภาษาที่ใช้ในโซเชียลมีเดีย ที่เรียกกันว่า ภาษาแสลง ที่อาจจะไม่ถูกหลักของภาษาไทยซึ่งไม่เป็นไร เพราะไม่นานภาษาเหล่านี้ก็จะเลื่อนหายไป แต่ในการเขียนเพื่อบันทึก การเรียน หรือการเขียนทางวิชาการ หนังสือต่างๆ ต้องใช้หลักภาษาไทยให้ถูกต้อง เพื่อให้คนได้เข้าใจหรือแปลความหมายได้อย่างถูกต้องด้วย ซึ่งพ่อแม่ ผู้ปกครอง หรือครู ก็ต้องให้ความสำคัญและบอกสอนหากเด็ก เยาวชนใช้แบบไม่ถูกต้อง” รองนายกฯ กล่าว

สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัลในวันภาษาไทย ได้แก่ รางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2 คน ได้แก่ รศ.ประจักษ์ สายแสง และศ.วิภา กงกะนันทน์ รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น 9 คน โดยมีชาวต่างชาติ 4 คน 1.นายกรกันต์ สุทธิโกเศศ 2.ผศ.พิสิทธิ์ กอบบุญ 3.นายสาธิต กรีกุล 4.นายเสน่ห์ วงษ์กำแหง 5.น.ส.อำไพ สังข์สุข 6.นายคะซุฮิโกะ บันโนะ 7. นายอดัม แบรดชอว์ 8.นายฮาราลด์ ลิงค์ 9.นายทูกสบิลกุน ทู เมอคุเล็ก รางวัลผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น 7 คน ได้แก่ 1.นายจุมพล ทองตัน 2.นายชูชาติ ใจแก้ว 3.นายบุญทิพย์ สุริยะจันทร์ 4.ร.ต.ต.ปรีชา สุขจันทร์ 5.นายศักดิ์นรินทร์ ชาวงิ้ว 6.นายสมจิต ทองบ่อ 7.นายสุนทร คำยอด
 
สำหรับรางวัลผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประเภทบุคคล 1 คน ได้แก่ พระเทพสุธรรมญาน (แฉล้ม เขมปญฺโญ) และประเภทองค์กร 2 องค์กร ได้แก่ 1.สถาบันปัญญ์สุข 2.ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์ไทยพวนบ้านทราย จ.ลพบุรี

นอกจากนี้ มีศิลปินนักร้อง ได้รับรางวัลการประกวดเพชรในเพลง 10 รางวัล ได้แก่ 1.รางวัลการขับร้องเพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงรอปฏิหาริย์ ผู้ขับร้อง นายปองศักดิ์ รัตนพงษ์ (อ๊อฟ ปองศักดิ์) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยสากลหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงลบนาทีที่มีเธอ ผู้ขับร้อง นางสาวนภัสสร ภูธรใจ (นิว) และนางสาวปิยนุช เสือจงพรู (จิ๋ว) ประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งชาย รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงบุญผลา ผู้ขับร้อง นายพรภิรมย์ พินทะปะกัง (ไมค์ ภิรมย์พร) และประเภทผู้ขับร้องเพลงไทยลูกทุ่งหญิง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงทองดำ ผู้ขับร้อง น.ส.พลอยชมพู ลอมเศรษฐี  (ปะแป้ง พลอยชมพู)
 
และ 2.รางวัลการประพันธ์เพลงดีเด่นด้านภาษาไทย ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยสากล รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงวันสุดท้ายของพ่อ ผู้ประพันธ์ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ประเภทการประพันธ์คำร้องเพลงไทยลูกทุ่ง รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ เพลงใจเต็มดวง ผู้ประพันธ์ นายสุทธิพงษ์ สมบัติจินดา 3.รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษผู้มีคุณูปการต่อวงการเพลง ได้แก่ นายบูรพา อารัมภีร 4.รางวัลเชิดชูเกียรติพิเศษครูเพลงผู้ประพันธ์เพลงอมตะ ได้แก่ ศ.เกียรติคุณนายแพทย์วราวุธ สุมาวงศ์ (ครูวราห์ วรเวช) 5.รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ประพันธ์เพลงดีเด่นในอดีต ได้แก่ นางสุคนธ์ พรพิรุณ (ครูพรพิรุณ) และ6.รางวัลเชิดชูเกียรติผู้ขับร้องเพลงอมตะ ได้แก่ นางดวงจันทร์ ไพโรจน์ (วงจันทร์ ไพโรจน์)

นายอดัม แบรดชอว์ อาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ผู้ได้รับรางวัลผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ที่บอกว่าแรงบันดาลใจเรื่มแรกในการเรียนภาษามาจากการที่เขาได้ทำงานอาสาสมัคร และต้องการสื่อสารให้คนไทยได้เข้าใจถึงความตั้งใจและสื่อสารได้ ซึ่งภาษาไทยไม่ได้ยากสำหรับคนที่มีความสามารถ มีความพยายาม และมีความขยัน ซึ่งตนก็ใช้เวลากว่า 12 ปีในการฝึกฝนทั้งการอ่าน เขียน พูด ซึ่งจะแตกต่างกับภาษาอังกฤษโดยสิ้นเชิง และรูปประโยคในภาษาไทย ก็ไม่สามารถแปลความหมายได้ในภาษาอังกฤษ อย่างคำว่า เกรงใจ ซึ่งในภาษาอังกฤษไม่มีประโยคนี้ และตนก็จะยังฝึกฝนภาษาไทยต่อไปเรื่อยๆเพื่อได้รับรู้คลังคำศัพท์ใหม่เพิ่มขึ้น ซึ่งการได้รางวัลนี้ก็ถือว่าเป็นความภาคภูมิใจในการตั้งฝึกฝนภาษาไทยมาอย่างยาวนาน 

นางสาวมลฤดี ขจีวรกุล ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสุนทรพจน์ภาษาถิ่นอีสาน ในหัวข้อ ภูมิปัญญาอีสานกับการลดภาวะโลกร้อน บอกว่า ในฐานะที่ตนเป็นวัยรุ่นที่มีการใช้ภาษาไทยที่เป็นคำแสลงเหมือนกัน อย่างในเฟซบุ๊ค ซึ่งหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นเพียงการเปลี่ยนนแปลงของภาษา ซึ่งต้องใช้อย่างรู้กาลเทศะ ดังนั้นการใช้ภาษาไทยที่ถูกต้องจึงอยู่ที่การใส่ใจและใช้ให้ถูกต้องด้วย

ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการผู้ที่ได้รับรางวัลในวันภาษาไทยในประเภทต่างๆ นอกจากนี้ศก. ยังได้จัดพิมพ์หนังสือหายาก ได้แก่ โคลงโลกนิติจำแลง  พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และโคลงนิติของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเดชาดิศร และบูธหนังสือต่างๆอีกด้วย.

1.นิทรรศการผู้ที่ได้รับรางวัล


2.บรรยากาศในการมอบรางวัล


3.บูธหนังสือสำหรับเด็ก


4.นางสาวมลฤดี ขจีวรกุล


5.อดัม แบรดชอว์


6.หนังสือสำหรับเด็กและเยาวชน


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"