change.org. รณรงค์"ปลากัดไทย"เป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ปกป้องไม่ให้ซ้ำรอยแมวไทยสายพันธุ์วิเชียรมาศ ที่อังกฤษได้สิทธิบัตรไป


เพิ่มเพื่อน    

 

 

26ก.ค.61-องค์กร Change.org  ออกแคมเปญ เรียกร้องให้มีการประกาศให้ “ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ”  เหมือนกับที่ประเทศออสเตรเสียมีจิงโจ้เป็นสัตว์ประจำชาติ หรือที่จีนมีแพนด้าเป็นเอกลักษณ์ และจุดขายที่นำมาต่อยอดพัฒนาเป็นสินค้าต่างๆ เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจและการค้า  ซึ่งหมายความว่าจะไทยจะสามารถเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของปลากัด ออกใบรับรองต่างๆ ได้ เอื้อให้สามารถแข่งขันในเวทีประกวดระดับโลกในนาม ‘ปลาไทย’ ได้ และเอื้อให้รายได้จากการค้าปลากัดกับต่างชาติเพิ่มขึ้น   ทั้งนี้ ไม่อยากไม่อยากให้ซ้ำรอยกับแมวไทยสายพันธุ์วิเชียรมาศ ที่ถูกประเทศอังกฤษขึ้นสิทธิบัตรเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (เจ้าของสายพันธุ์) ไปเรียบร้อยแล้ว

 


เหตุผลใดถึงต้องมีการรณรงค์ เจ้าของประเด็นรณรงค์ ระบุว่า ปลากัด (Betta splendens) หรือที่ผู้คนในโลกต่างทราบกันดีและเรียกกันว่า Siamese Fighting Fish หรือ Siamese Betta คือ ปลาชนิดหนึ่งของไทย ซึ่งมีลักษณะเฉพาะเป็นเอกลักษณ์ และมีประวัติความเป็นมาอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน

 

สมัยก่อน คนไทยเลี้ยงปลากัดสำหรับเล่นพนันกัดปลา แต่ปัจจุบัน คนไทยและคนทั่วโลกต่างนิยมเลี้ยงปลากัดเป็นปลาสวยงามในแง่พันธุกรรมนั้น ปลากัดทุกลักษณะในโลกนี้ล้วนมีที่มาจากสายพันธุ์เดียวกับปลากัดป่าของไทย เพียงแต่เมื่อมีการผสมคัดพันธุ์ที่ถูกต้องได้จังหวะ ลักษณะที่สวยงามหลากหลายของปลากัดซึ่งเป็นลักษณะพันธุกรรมที่ซ่อนอยู่ในปลากัดตามธรรมชาติของไทยแต่เดิม ก็จะปรากฎออกมาอย่างสวยงาม กลายเป็นความหลากหลายลักษณะของปลากัดในท้ายที่สุดเราจึงพบเห็นปลากัดรูปแบบใหม่และสีสันใหม่ ๆ ปรากฎออกมาอยู่เสมอ แต่ทั้งหมดก็ล้วนคือ “ปลากัดไทย” ทั้งสิ้น

 

ประเทศไทยมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและมีภูมิอากาศร้อนชื้น เราจึงพบเห็นปลากัดอยู่ทั่วไปในแอ่งน้ำตามเรือกสวนไร่นา ปลากัดจึงอยู่ในวิถีชีวิตคนไทยมาอย่างช้านาน มีหลักฐานชั้นต้นระบุไว้ชัดเจน 
ยกตัวอย่างเช่น หนังสือบันทึกของที่ปรึกษาราชการแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งกล่าวไว้ว่า“คนไทยนิยมเลี้ยงปลากัดเพื่อใช้พนันขันต่อกันอย่างแพร่หลาย มีแหล่งจำหน่ายใหญ่ที่ย่านสำเพ็ง และบางตัวนั้นแม้ด้วยเงินหลายร้อยบาทก็ยังซื้อไม่ได้”

 

เราอย่าลืมว่า ด้วยเงินเดือนของข้าราชการระดับเสมียนมีความรู้ในยุคนั้นก็ยังเพียงแค่เดือนละ 20 บาท แต่ราคาปลากัดตัวสำคัญ ๆ เพียงตัวเดียว กลับมีราคาเท่ากับเงินเดือนของข้าราชการที่ต้องใช้เวลาทำงานนานหลายปีกว่าจะซื้อปลาตัวนั้นได้

 

อีกทั้ง บันทึกของสังฆราชปัลเลอกัวซ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 ยังกล่าวไว้อีกว่า“พวกเด็ก ๆ มีการเล่นหลายอย่าง....โดยเฉพาะปลาเล็ก ๆ สองชนิดที่กล้าหาญมาก ซึ่งมันเข้าจู่โจมกันสนุกนัก”

 

ดังนั้น ย่อมเป็นที่ชัดเจนว่าปลากัดเป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันอย่างแพร่หลายในสังคมไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5  นอกจากนี้ อิเหนา วรรณคดีเก่าแก่เรื่องหนึ่งของไทย ซึ่งเป็นที่รู้จักกันมานานตั้งแต่ช่วงปลายกรุงศรีอยุธยาสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ และต่อมาได้ถูกปรับแต่งอีกหลายสำนวนในสมัยกรุงธนบุรี เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสำนวนฉบับรัชกาลที่ 2 กล่าวถึงปลากัดว่า


"....บ้างลงท่าโกนจุกสนุกสนาน มีงานการกึกก้องทุกแห่งหน
บ้างตั้งบ่อน “ปลากัด” นัดไก่ชน ทรหดอดทนเป็นเดิมพัน..."

 

พระราชกำหนดห้ามเล่นพนันชนไก่ชนนกกัดปลาประมวลกฎหมายตราสามดวง รัชกาลที่ ๑ จุลศักราช ๑๑๖๖ บัญญัติเกี่ยวกับปลากัดไว้ว่า 


“…แต่นี้สืบไปเมื่อหน้า ห้ามอย่าให้ผู้ใด ๆ คบหาชักชวนกัน ชนไก่ชนนกคุ่มชนกกะทาชนนกศรีชมภู แลจัดปลาให้กัดพะนันกันเปนอันขาดทีเดียว ถ้าผู้ใดมิฟังจับได้พิจารณาเปนสัจ จะให้ลงพระราชอาญาขับเฆี่ยน ปรับไหมตามโทษานุโทษ   แลให้สัสดีหมายบอก แลมีตราแจกไปเมืองปากไต้ฝ่ายเหนือ ประกาศป่าวร้องอนาปรชาราษฏรทังปวงจงทั่ว ให้กระทำตามพระราชกำหนดแจกมานี้ กฎให้ไว้ณะวันสุกระ เดือนสี่ขึ้นค่ำหนึ่ง จุละศักะราชพันร้อยหกสิบสอง ปีวอกโทศก"

 

นอกจากนี้ ศ.ดร. วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยังกล่าวไว้ในหนังสือชื่อ ชีวิตของประเทศ โดยเล่าถึงวิถีชีวิตของผู้คนที่อัมพวาในสมัยกรุงธนบุรี ซึ่งนิยมเลี้ยงปลากัดอย่างแพร่หลายว่า “ปลากัดอัมพวามีหลายสี ว่ากันว่ากัดเก่ง คนจึงนิยมหาไปเลี้ยงกันเป็นของเล่น” 

 

สำหรับในโลกยุคใหม่นั้น ภาพถ่ายปลากัด ซึ่งถูกถ่ายโดยนายวิศรุต อังคทะวานิช ยังถูกใช้เป็นภาพ wall paper ในโทรศัพท์ iPhone รุ่น iPhone 6s และ iPhone 6s Plus โดยบริษัท Apple อย่างเป็นทางการแม้กระทั่ง พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ยังกล่าวไว้ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 26 พฤกษภาคม พ.ศ. 2558 ว่า
"ตอนเด็ก ๆ ผมชอบช้อนปลากัดเป็นประจำตามห้วยหนองคลองบึง"

 

อีกทั้ง นายกรัฐมนตรี ยังตั้งชื่อปลากัดพันธุ์ใหม่ ซึ่งถูกพัฒนาพันธุ์โดยเกษตรกรไทยว่า "ทองประกายแสด" อีกด้วย


อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ ซึ่งมีนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ปฏิเสธข้อเสนอของกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยไม่ประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ ด้วยเหตุผลว่า ข้อเสนอดังกล่าวนั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับมิติเรื่องเอกลักษณ์ของชาติแต่อย่างใด

 

เมื่อเป็นดังนี้ ประเทศไทยจึงเสี่ยงต่อการเสียโอกาสด้านเอกลักษณ์ของชาติในระดับนานาชาติ ทั้ง ๆ ที่ผู้คนในโลกต่างก็ยอมรับกันว่า ปลากัดเป็นสัตว์น้ำของไทยมานับร้อยปี อีกทั้งยังเสียโอกาสด้านเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรไทยได้ส่งออกปลากัดไปจำหน่ายยังต่างประเทศมูลค่าปีละนับพันลัานบาทอีกด้วย

 

นอกจากนี้  ก่อนหน้านี้  กรมประมงเคยเสนอแนวคิดนี้แล้วครั้งหนึ่งและมีแนวโน้มว่าจะสำเร็จ แต่เมื่อเร็วๆ นี้กลับถูกปัดตกไป กลุ่มคนรักปลากัดจึง อยากผลักดันประเด็นนี้ต่อ และขอเสียงสนับสนุนจากประชาชน เพื่อให้มีการขึ้นทะเบียนปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติขึ้น ซึ่งท้ายสุดจะทำให้เกิดการตื่นตัว พัฒนาสายพันธุ์ปลากัดจริงจัง และส่งเสริมเศรษฐกิจปลาสวยงามชนิดนี้ของไทยให้ยิ่งบูมขึ้นอีก


ร่วมกันลงชื่อเรียกร้อง เพื่อประกาศให้ปลากัดเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ
 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"