บอร์ดอิสระฯ ประกาศต้องมีหน่วยงานกลางดูแลเด็กปฐมวัย


เพิ่มเพื่อน    

 

     31 ก.ค.นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระฯ ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงกรณีที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้มีข้อซักถามเกี่ยวกับความจำเป็นในการออกร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ.... และมีหน่วยงานพิเศษที่จะเกิดขึ้นเพื่อรองรับการดำเนินการในส่วนนี้ ซึ่งทางคณะกรรมการอิสระฯ มีความชัดเจนว่า ได้พิจารณาเกี่ยวกับความจำเป็นในเรื่องดังกล่าวอย่างเต็มที่แล้ว และจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (รธน.) พ.ศ.2560 ทำให้เห็นว่าจะต้องมีการดำเนินการเรื่องปฐมวัย เพราะเป็นเป้าหมายของ รธน.ที่จะต้องดูแล อีกทั้งขณะนี้ยังไม่มีกฎหมายหรือหน่วยงานที่รองรับหรือรับผิดชอบกลาง ส่งผลให้การประสานงานระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น คณะกรรมการอิสระฯ จึงเห็นว่าจำเป็นที่จะต้องมีหน่วยงานกลางเข้ามารับหน้าที่ตรงนี้ และการดูแลเด็กปฐมวัยมีความจำเป็นสำหรับการสร้างให้เด็กสามารถพัฒนาสมองให้สามารถเจริญเติบโตในระยะต่อไปได้ รวมถึงยังมีหลักฐานและผลการวิจัยจากทั่วโลกว่า การลงทุนเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยจะได้ผลตอบรับดีกว่าถึง 7 เท่าเมื่อเทียบกับการลงทุนกับเด็กระยะอื่นๆ
    นพ.จรัส กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาถึงเรื่องการปฏิรูปอาชีวศึกษา ซึ่งทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ด้านการศึกษา สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษา และข้อมูลการศึกษาดูงานการศึกษา ด้านการจัดการศึกษาอาชีวศึกษาของประเทศอังกฤษ ประเด็นเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่จะนำไปสู่ปฏิรูปอาชีวศึกษา เพื่อให้ตอบโจทย์ประเทศไทย 4.0  อีกทั้งการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้จะนำไปสู่ความยืดหยุ่นของการเรียนรู้ จะไม่ใช่ระบบการเรียนรู้แบบตายตัวเหมือนที่ผ่านมา นอกจากนี้ การเรียนเฉพาะทางจะต้องเกิดขึ้นในแง่ศาสตร์การเรียนรู้ต้องเรียนแบบหลากหลาย เพราะการเรียนอาชีวศึกษามีทั้งการเรียนเกษตร อุตสาหกรรรม และพานิชย์ ดังนั้น เราจะต้องสร้างผู้เรียนที่มีทักษะทางฝีมือเฉพาะด้านให้เกิดขึ้น  ทั้งนี้ ในร่าง พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ....เราจะระบุถึงเรื่องการปฏิรูปอาชีวศึกษาด้วย เพราะในอนาคตคงต้องมีการหารือว่าจะมีการปรับแก้ พ.ร.บ.การอาชีวศึกษา อย่างไรบ้าง ซึ่งจะอยู่ในแผนปฏิรูปการศึกษา อย่างไรก็ตาม หากประเทศไทยต้องการปรับตัวเองให้มีความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจทั้งการเทคโนโลยี การท่องเที่ยว จำเป็นต้องมีการลงทุนในเรื่องของผลิตและพัฒนาคน ซึ่งการปฏิรูปอาชีวศึกษาจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศ
    

    ด้านนายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอเกี่ยวกับการปฏิรูปอาชีวศึกษาของ กมธ.ด้านการศึกษาของ สนช.นั้น จะมีทั้งในเรื่องการจัดทวิศึกษาที่ให้นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเรียนจบการศึกษาแล้วได้ 2 วุฒิทั้งสามัญและอาชีพ  ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการแล้วในบางพื้นที่  และยังมีเรื่องการบริหารจัดการสถาบันการอาชีวศึกษา ขณะนี้ยังไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ของการจัดตั้งเท่าที่ควร  เรื่องการสร้างฐานข้อมูลของผู้เรียนอาชีวะให้เชื่อมโยงกับการมีงานทำ  รวมถึงเรื่องทวิภาคี ซึ่งมีความก้าวหน้าดีมากแต่เหมือนอิ่มตัวในอนาคตต้องปรับให้ตอบโจทย์การมีระบบทวิภาคีให้ได้ อีกทั้งยังมีข้อเสนอเรื่องการปรับมาตรฐานครูอาชีวศึกษา ที่จะต้องปรับทั้งการผลิตและกาพัฒนา และยังต้องการสร้างนักเกษตรอาชีวะ เนื่องจากประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอเรื่องการสร้างมาตรฐานอาชีวะสู่สากล โดยในเรื่องนี้คงต้องดูว่ามาตรฐานอาชีวะของไทยในอนาคตควรจะออกมาในรูปแบบไหนอย่างไร โดยในที่ประชุมมีข้อเสนอว่าการสร้างมาตรฐานอาชีวะของไทยจะต้องเทียบเคียงระดับสากลเหมือนกับมาตรฐานอาชีวะของประเทศญี่ปุ่น สิงคโปร ไม่ใช่เราต้องเอาของประเทศอื่นเพียงอย่างเดียว
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"