เปิดจุดอ่อนร่างรายงานคุณภาพสิ่งแวดล้อมปี 61


เพิ่มเพื่อน    

 

     การจัดทำร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศที่ต้องนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเพื่อนำเสนอภาพรวมและข้อมูลสิ่งแวดล้อมสาขาต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน เพื่อให้ ครม.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปใช้ประกอบการตัดสินใจกำหนดนโยบายและการวางแผนการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพ
    เพื่อความสมบูรณ์ในการจัดทำร่างฉบับนี้ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย จัดการประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2561 รวบรวมความคิดเห็นและข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงร่างรายงานให้ถูกต้องก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและ ครม.ต่อไป
    นางสาวธนิรัตน์ ธนวัฒน์ นักวิจัยสถาบันสิ่งแวดล้อม กล่าวถึงร่างรายงานสถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมพ.ศ.2561 ว่า ได้รวบรวมข้อมูลในรายสาขา พบว่า สถานการณ์สิ่งแวดล้อมมีทิศทางที่ดีขึ้น ประสิทธิภาพการใช้พลังงานดีขึ้น อัตราการลดลงของพื้นที่ป่ามีแนวโน้มชะลอตัวลง น้ำบาดาลที่ใช้มีเพียงพอกับความต้องการ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลดลง ปริมาณ NO2 SO2 CO และ VOCs ณ บริเวณสถานีตรวจวัดอัตโนมัติคุณภาพอากาศยังอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับฝุ่นละอองขนาดเล็ก พบว่าเกินค่ามาตรฐาน ใน 14 จังหวัดที่มีจุดตรวจวัด และการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น 
    สำหรับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่น่าเป็นห่วงในปีนี้ ธนิรัตน์กล่าวว่า เรื่องดินที่มีปัญหาการชะล้างพังทลาย ปัญหาสภาพดินไม่เหมาะสมกับการเพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น สัดส่วนการใช้พลังงานหมุนเวียนลดลง ปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยทั้งปีอยู่ในเกณฑ์น้อยและลดลง การกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มขึ้นและปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5, PM10, O3 ณ จุดตรวจวัดส่วนใหญ่เกินมาตรฐาน
    “สถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่สำคัญ อย่างการทำป่าในเมืองเป็นโครงการส่งเสริมและการพัฒนาพื้นที่ป่า โดยมีการจัดทำข้อเสนอแนะในการทำแผนแนวทางและคู่มือการปฏิบัติงาน การเสริมสร้างศักยภาพของเจ้าหน้าที่ ส่วนเหมืองแร่ที่มีการบริหารจัดการ แผนแม่บทและกลไกในระดับต่างๆ มีข้อเสนอแนะในการควบคุมกิจการเมืองแร่และการขนส่งเพิ่มระดับมาตรฐานมลพิษทางอากาศ ในพื้นที่เสี่ยงมีการทบทวนการจัดสรรค่าภาคหลวงแร่แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เป็นต้น ที่วิกฤติยังมีขยะในทะเล ไทยถูกจัดให้เป็นประเทศที่มีขยะพลาสติกมากที่สุดอันดับที่ 5 ของโลก ข้อเสนอแนะในร่างนี้คือ ออกมาตรการห้ามและควบคุมการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายยาก รณรงค์และคัดแยกขยะต้นทาง” นักวิจัยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยกล่าว 
    สำหรับข้อเสนอแนะในเชิงนโยบาย ธนิรัตน์กล่าวถึงมาตรการเร่งด่วน เป็นการพัฒนาระบบข่าวสารสิ่งแวดล้อม เช่น การรายงานคุณภาพอากาศหรือการปรับใช้เครื่องมือหลักในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม อย่างการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ที่มีความอ่อนไหว เช่น ศาสนสถาน แหล่งประวัติศาสตร์ โบราณสถาน และพื้นที่ต้นน้ำ พื้นที่ชายฝั่งหรือแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์หายากหรือใกล้สูญพันธุ์ 
    ส่วนมาตรการระยะยาว มีทั้งการส่งเสริมบริบทที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การป้องกันการใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินศักยภาพ การรองรับของพื้นที่การศึกษาวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจหมุนเวียน การส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม 
    ในเวทีแสดงความคิดเห็นครั้งนี้ นายสุรจิต ชิรเวทย์ นักวิชาการอิสระ ประชาคมคนรักแม่กลอง อดีตวุฒิสมาชิกจังหวัดสมุทรสงคราม ให้ความเห็นว่า การกำหนดร่างรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมคือข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย แต่ในรายงานฉบับนี้เหมือนรายงานของหน่วยงานผู้ปฏิบัติ ที่กล่าวถึงภารกิจ พันธกิจและวิสัยทัศน์ของตนเอง จริงๆ แล้วหากมีข้อมูลข้อเท็จจริงหรือตัวอย่างสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่ดีนำเสนอ มีการวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปสู่การผลักดัน จะเพิ่มน้ำหนักให้ร่างรายงานมากขึ้น 
    "แต่ละรายสาขาสิ่งแวดล้อมมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งที่ดีและไม่ดี มีการแก้ไขปัญหาที่ได้ผลหรือยังไม่ได้ผล จำนวนคดีเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมมีถึง 2,000 กว่าคดี ทุกเหตุการณ์สามารถนำมาใช้วางกรอบการบริหารว่าควรไปทิศทางใด หรือข้อบังคับกฎหมายใดควรแก้ไขให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น อย่างวิกฤติน้ำเสียไม่ได้กล่าวถึงเลย ซึ่งมีความสำคัญ ต้องรวบรวมความเสียหาย ร่างฉบับนี้ไม่เหมือนกับยุทธศาสตร์ เป็นเพียงยุทธวิธี" นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชี้
    นางสาวลดาวัลย์ คำภา ที่ปรึกษาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพพูมิอากาศและการพัฒนาที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวว่า ข้อมูลที่ถูกนำเสนอบ่งบอกว่าเป็นรายงานสถานการสิ่งแวดล้อม ปี 2561 แต่เมื่ออ่านจริงๆ แล้ว เป็นภาพรวมในปี 2560 มากกว่า และยังขาดการวิเคราะห์ข้อมูลในรายสาขาต่างๆ สิ่งที่ควรจะเพิ่ม เช่น ขยะ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ ควรระบุรายระเอียดมีความก้าวหน้าหรือมีการแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้างแล้ว 
    “สหประชาชาติวางเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 7 ด้านพลังงานสะอาด ทุกคนเข้าถึงได้ และเป้าหมายที่ 11 เมืองและถิ่นฐานมนุษย์ที่ยั่งยืน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้ถูกนำมาลงรายละเอียดในการทำร่างฉบับนี้ รวมถึงต้องหยิบยกกรณีศึกษาประเด็นสิ่งแวดล้อมที่น่าสนใจในแต่ละปีนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลเพื่อเพิ่มน้ำหนักให้ร่างนี้มากขึ้น” ลดาวัลย์กล่าวทิ้งท้าย.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"