หน้ากากอนามัย..สร้างขยะ ปัญหามลพิษใต้ท้องทะเล


เพิ่มเพื่อน    

 

ล่าสุดนักอนุรักษ์เตือนว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจทำให้เกิดมลพิษในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มขยะพลาสติกจำนวนมาก ที่คุกคามสิ่งมีชีวิตในทะเล หลังจากพบหน้ากากแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง ลอยอยู่ในท้องทะเลจำนวนมาก ซึ่งคล้ายกับแมงกะพรุนที่มีชีวิต นอกจากนี้ยังพบถุงมือยางที่มีน้ำขังจมกระจายอยู่ทั่วก้นทะเล

 

องค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ทำงาน เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมประเทศฝรั่งเศส อย่าง Operation Mer Propre เช่นกิจกรรมเกี่ยวกับการเก็บขยะ บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ด้านตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศสอยู่เป็นประจำ ได้เริ่มออกมาเตือนเกี่ยวกับปัญหาขยะ จากการระบาดของไวรัสโคโรน่าเมื่อปลายเดือนที่ผ่านมา

 

“โจเซฟ เฟลเลอร์” นักดำน้ำ จากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมข้างต้น “Operation Mer Propre” บอกว่า “ขยะจากโควิด-19 อาทิ หน้ากากอนามัย ขวดน้ำยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดมือ และขยะภาชนะพลาสติกทั่วไป กระป๋องอลูมิเนียม ได้ถูกน้ำทะเลบริเวณชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน ซัดจมก้นทะเลเป็นจำนวนมาก ถึงกระนั้นขยะที่ใช้แล้วจากไวรัสร้ายดังกล่าว แม้จะไม่ได้เป็นจำนวนมหาศาลในวันนี้ แต่ในอนาคตนั้นก็ไม่สามารถที่จะคลายความกังวลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวได้ เพราะอย่าลืมว่าทั่วโลกที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวเพื่อป้องกันโรคโควิด-19 ก็จะต้องทิ้งขยะดังกล่าว สิ่งที่เกิดขึ้นนับเป็นสัญญาณเตือนเกี่ยวกับมลพิษในท้องทะเล ซึ่งจะกระทบต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลในอนาคต”

 

 

ด้าน “เลอเรน แลมบอร์ด” หนึ่งในสมาชิกจากองค์ด้านสิ่งแวดล้อม “Operation Mer Propre” บอกคล้ายกันว่า “ทั้งนี้ในประเทศฝรั่งเศสประเทศเดียวนั้น ได้สั่งซื้อหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้ง จำนวน 2,000 ล้านชิ้น และอีกไม่นานเราจะเสี่ยงต่อการมีขยะจากหน้ากากอนามัย มากกว่าแมงกะพรุนในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเสียอีก โดยเธอได้เขียนข้อความดังกล่าวบนโลกโซเชียลมีเดีย ควบคู่ไปกับการโพสต์คลิปวิดีโอการดำน้ำ พร้อมกันโชว์ให้ดูว่าหน้ากากดำน้ำของเธอ มีทั้งสาหร่ายและถุงมือทางการแพทย์ติดมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่ใกล้กับเมืองอองทีปส์ (Antibes) ซึ่งเป็นเมืองชายฝั่งประเทศฝรั่งเศส”

             

สิ่งที่เกิดขึ้นทางกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติ ต้องการสะท้อนให้คนทั่วโลกตระหนักว่า การใช้หน้ากากอนามัยซ้ำ กรณีที่ไม่ได้สกปรกมากและไม่ได้ออกไปในจุดเสี่ยง หรือเปลี่ยนจากการใส่ถุงมือยาง มาเป็นการล้างมือบ่อยๆขึ้น พูดง่ายๆว่าการใช้พลาสติก ไม่ใช่ทางแก้ปัญหาเพียงอย่างเดียว ในการรับมือกับโรคโควิด-19 ประกอบกับในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของไวรัสร้ายนั้น นักสิ่งแวดล้อมได้เตือนถึงภัยคุกคามของขยะจำนวนมหาศาล ที่ถูกทิ้งเกลือนอยู่ในมหาสมุทร ที่กระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล จากมลพิษของขยะพลาสติก ที่คิดเป็น 17 ล้านตันต่อปี

 

ทั้งนี้จากการประมาณการของ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment) ในปี 2018 ระบุว่าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน มีขยะพลาสติกไหลลงสู่ท้องทะเล มากถึง 570,000 ตันต่อปี และถ้าคิดเป็นจำนวนเงินนั้น เท่ากับการที่คุณทิ้งขยะจากขวดพลาสติกไปราว 33,800 ขวด ในทุกๆ 1 นาทีลงในทะเล อีกทั้งจำนวนของขยะพลาสติก จากอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 นั้น มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นสูงจากทุกประเทศทั่วโลก ที่เผชิญกับโรคระบาดดังกล่าว ที่สำคัญหน้ากากอนามัย จะมีส่วนประกอบของโพลีโพรพีลีน หรือพลาสติกใสรวมอยู่ด้วย

 

ที่น่าสนใจนั้นพลาสติกจะสามารถย่อยสลายได้ โดยใช้ระยะเวลา 450 ปี ดังนั้นหน้ากากอนามัยที่มีส่วนประกอบพลาสติกอยู่นั้น จึงคล้ายกับระเบิดเวลาในทางนิเวศวิทยา ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวต่อโลกของเรา

 

อีกทั้งช่วงต้นปีที่ผ่านมากลุ่มนักอนุรักษ์ธรรมชาติ อย่าง OceansAsia ที่อยู่ในประเทศฮ่องกง เริ่มแสดงความกังวลในลักษณะเดียวกัน ซึ่งได้ทำการสำรวจขยะในทะเล ของหมู่เกาะโซโกะที่ไม่มีผู้อยู่อาศัยอยู่ พบว่ามีหน้ากากอนามัยแบบใช้แล้วทิ้งจำนวนมาก    

 

ด้าน “แกรี่ สโตส์” ทีมนักอนุรักษ์ธรรมชาติ จาก OceansAsia บอกว่า “ จากการสำรวจบนชายหาดที่ทอดยาวประมาณ 100 เมตร พบว่ามีขยะจากหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วมากถึง 70 ชิ้น หลังจากนั้นอีกประมาณ 1 สัปดาห์ คลื่นก็ได้ซัดขยะจากหน้ากากอนามัย มาเกยตื้นที่หาดอีก 30 ชิ้น ทั้งที่ไม่มีคนอาศัยอยู่บนเกาะดังกล่าวแต่อย่างใด”

 

อีกทั้งการที่นักวิจัยคนดังกล่าว ต้องการรู้ว่าขยะพลาสติกจากหน้ากากอนามัย จะถูกคลื่นซัดไปไกลแค่ไหนนั้น เขาจึงเริ่มตรวจสอบชาดหาดอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียง เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างละเอียดเกี่ยวกับผลกระทบต่อระบบนิเวศบนชายหาด ทว่าการเริ่มทำการสำรวจขยะพลาสติก จากหน้ากากอนามัยนั้น เกิดขึ้นตั้งแต่ที่ทั่วโลกเผชิญกับโรคโควิด-19

 

นอกนี้ขยะจากหน้ากากอนามัยที่มีน้ำหนักเบาและตกอยู่ริมหาด ก็มักจะถูกลมทะเลพัดพาขึ้นฝั่งไปบนบก หรือ บนเรือ แทนที่ขยะดังกล่าวจะถูกนำไปฝังกลบในบ่อเก็บขยะมูลฝอย หรือทำลายด้วยวิธีที่ถูกต้อง และที่น่าเศร้านั้นคือการขยะจากแมสก์ ก็ไม่ได้แตกต่างจากขยะพลาสติก อย่างหลอดดูดน้ำที่ถูกทิ้งไว้เรี่ยราดบนชายหาด และสุดท้ายก็ถูกคลื่นลมตีลงไปในทะเล และจมสู่ก้นมหาสมุทร อีกทั้งมีการคาดการณ์ว่า หากปลาโลมาที่ว่ายในบริเวณมาเห็น และกินขยะพลาสติกดังกล่าว เนื่องจากคิดว่าเป็นอาหาร และสุดท้ายปลาโลมาก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา และจากการผ่าพิสูจน์ก็พบว่า มีเศษซากของหน้ากากอนามัยติดอยู่ในกระเพาะอาหารของปลาโลมา และที่กล่าวมาเป็นผลพวง จากการใช้และทิ้งขยะจากหน้ากากอนามัยไม่ถูกที่ถูกทาง และอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศใต้ทะเลได้ ในอนาคตอันใกล้นี้

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"