ญี่ปุ่นมึน 'อีอีซี-บีโอไอ' ทำงานทับซ้อน


เพิ่มเพื่อน    

นักลงทุนญี่ปุ่นยังมึน การทำงานอีอีซี-บีโอไออาจทับซ้อน ด้าน ”คณิศ” แจงเป็นการร่วมมือแบบบูรณาการ ด้านเอกชนจ่อเสนอขอสิทธิ์ส่งเสริมนอกพื้นที่อีอีซี เจโทรเผยความเชื่อมั่นนักลงทุนญี่ปุ่นสูงต่อเนื่อง

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) เปิดเผยจากกรณีความกังวลใจของสื่อญี่ปุ่นที่รายงานถึงความการพัฒนาประเทศไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 อาจจะเป็นเรื่องที่เสียเปล่า ว่าจากการเข้าร่วมงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการ Eastern Economic Corridor (EEC) ให้กับนักลงทุนญี่ปุ่นที่มีความสนใจที่จะลงทุนในอีอีซี ยังไม่มีนักลงทุนคนใดที่มีความเคลือบแคลงใจในการดำเนินงานของรัฐบาลไทย เพียงแต่ยังเกิดความสงสัยในบางข้อเท่านั้น

ทั้งนี้นักลงทุนญี่ปุ่นได้ตั้งคำถามประมาณ 30 ข้อ โดยสิ่งที่นักลงทุนญี่ปุ่นสอบถามเข้ามามากที่สุด คือ บทบาทการทำงานระหว่างอีอีซีกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ว่าต่างกันอย่างไร รวมถึงการให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ซึ่งได้ชี้แจงไปว่าหน่วยงานอีอีซีจะดูภาพรวมและส่งต่อให้บีโอไอเป็นผู้พิจารณาสิทธิประโยชน์ตามกิจการที่ลงทุน โดยเฉพาะการพัฒนาพื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน การให้สิทธิ์การทำงาน(สมาร์ทวีซ่า) ที่ส่งต่อไปยังบีโอไอ และการกำหนดพื้นที่เขตส่งเสริมพิเศษ รวมทั้งการกำหนดพื้นที่ การให้เช่าอาคาร

"เราจะทำงานที่เป็นภาพใหญ่กว่าบีโอไอ แต่ถือว่าเป็นการทำงานที่ร่วมมือแบบบูรณาการ ขณะเดียวกันนักลงทุนสอบถามถึงโอกาสในการได้รับสิทธิประโยชน์ลงทุนในพื้นที่ที่ไม่ใช่เขตส่งเสริมอุตสาหกรรมในอีอีซี อาทิ ค่ายรถยนต์โตโยต้าหากต้องการสิทธิประโยชน์เพราะมีพื้นที่ลงทุนอยู่แล้ว กรณีได้แนะนำว่าต้องมีการจัดตั้งเป็นนิคมอุตสาหกรรมก่อน จึงจะเข้าเกณฑ์สิทธิประโยชน์ตามพื้นที่ของอีอีซี"นายคณิศ กล่าว

นอกจากนี้ได้มีการเสนอการกำหนดสิทธิประโยชน์ภายใต้พระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ร.บ.อีอีซี) โดยกำหนดสิทธิ์การเข้าประเทศ การถือเงินตราต่างประเทศ และการทำงานของศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ (โอเอสเอส) ให้ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยต้องมีการกำหนดระเบียบการดำเนินงานออกมาภายใน 30 วัน


นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงปฏิบัติการอีอีซี ว่าเจโทรได้เผยผลสำรวจระดับความเชื่อมั่นของนักลงทุนญี่ปุ่น พบว่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยแนวโน้มความเชื่อมั่นนักลงทุนต่างชาติครึ่งปีแรกปีนี้อยู่ระดับ 40 สูงสุดในรอบหลายปี ปรับเพิ่มจากครึ่งปีหลัง 2560 ที่ระดับ 36 และมั่นใจว่าผลจากอีอีซีจะทำให้ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นอีก


น.ส.ดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กล่าวว่า ได้ชี้แจงสิทธิประโยชน์การลงทุนในส่วนของบีโอไอแก่นักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งล่าสุดบีโอไอได้ออกประกาศสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมด้านบริการทางการแพทย์ อาทิ โรงพยาบาลเฉพาะทาง ศูนย์แพทย์แผนไทย ส่วนหนึ่งของกิจการทางการแพทย์ เพื่อให้สิทธิประโยชน์มีความครอบคลุม 


นอกจากนี้บีโอไอได้สำรวจความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติในประเทศไทย ปี 2561 จากจำนวน 600 บริษัท พบว่า นักลงทุนต่างชาติ 98.5% มีแผนการลงทุนในไทยอย่างต่อเนื่อง สูงสุดในรอบ 5 ปี นับตั้งแต่ปี 2557 จำนวนนี้ 33% มีแผนที่จะขยายการลงทุนในไทย และนักลงทุนอีก 65.5% ยังรักษาระดับการลงทุนในไทยไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนนักลงทุนที่มีแผนลดระดับการลงทุน มีสัดส่วนเพียง 1.5% 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"