ให้ความรัก-เอาใจใส่-ให้เกียรติ เทคนิคดูแลผู้สูงวัยป่วยจิตเวช


เพิ่มเพื่อน    

(การโอบกอดและสื่อ สารกันกับผู้สูงวัยด้วยความเข้าใจ เทคนิคสร้างสุขภาพแจ่มใส กายแข็งแรง)

     หลายครอบครัวที่ต้องดูแลคุณพ่อคุณแม่ป่วยจิตเวช ที่มักมี “ภาวะหลงลืม” และ “เดินหายไปในที่ต่างๆ” ร่วมด้วย ซึ่งอย่างที่รู้กันดีว่าโรคจิตเวชนั้นเกิดจากภาวะที่สารเคมีในสมองทำงานผิดปกติ ทั้งเสื่อมลงจากอายุที่เพิ่มขึ้น และกรรมพันธุ์ของโรคที่ซ่อนอยู่ในตัว หรือแม้แต่ปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการถูกลูกหลานทอดทิ้ง ภาวะต่างๆ เหล่านี้ก็ส่งผลทำให้คุณตาคุณยายเป็นโรคนี้ได้เช่นเดียวกัน ซึ่งอาการเด่นชัดก็มีทั้งที่นิ่งเงียบ ไม่พูดไม่คุยกับใคร หรือมาพบแพทย์ด้วยภาวะเอะอะโวยวายเสียงดัง แม้ว่าการรักษาโรคจิตเวชในผู้ป่วยจะดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ แต่การดูแลสุขภาพทางกายและจิตใจควบคู่กันหลังรับการรักษา ถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก     

(ทวีรัตน์ ทองดี)

     พี่นก-ทวีรัตน์ ทองดี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ รพ.ศรีธัญญา มาให้ข้อมูลลูกหลานในการดูแลสุขภาวะของผู้สูงวัยที่ต้องทำควบคู่ไปการรับยา เพื่อปรับสารเคมีในสมองในด้านที่บกพร่องให้กลับมาสมดุลอีกครั้ง ว่า สำหรับผู้สูงอายุ 60 ขึ้นไป ถ้ามีอาการทางจิตให้นึกถึงธรรมชาติที่เกี่ยวกับพัฒนาการของคนสูงอายุ ที่มักจะเริ่มเสื่อมลงในทุกเรื่อง เรียกได้ว่าเป็นภาวะเสื่อมตามธรรมชาติ ที่สำคัญสมองก็จะเริ่มช้า แม้กระทั่งการกินอาหาร ดังนั้นการดูแลคนไข้สูงอายุจะต้องมีมาตรฐาน สำหรับอาการของคนไข้ทางจิตสูงวัย ให้นึกถึงตอนเป็นหนุ่มๆ เวลาป่วยและมีอาการทางจิตก็จะค่อนข้างมากตามไปด้วย เป็นต้นว่า หากก้าวร้าวก็จะแรงเยอะ โดยเฉพาะเมื่ออายุมากขึ้น ส่วนใหญ่ปัญหาที่เกิดขึ้นก็มักจะเป็นเรื่องเดิมๆ  เช่น ถ้าก้าวร้าวก็จะทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ พูดง่ายๆ ว่าเมื่อตอนเป็นหนุ่มแรงเยอะ พอเริ่มแก่ตัวลงก็จะก้าวร้าวเยอะ ซึ่งบางรายก็จะมีลดน้อยลงบ้างตามอายุ แต่ก็ยังมีภาวะดังกล่าวอยู่ และบวกความดื้อ ไม่ยอม รวมถึงความเป็นผู้สูงอายุที่กลัวความโดดเดี่ยวเดียวดาย ยึดติดเรื่องนั้นเรื่องนี้ ตามสภาวะของผู้สูงอายุซึ่งมีความเป็นตัวตนค่อนข้างสูง มันก็จะบวกเรื่องนี้เข้ามา ดังนั้นจึงมีความยากในการดูแล เพราะต้องให้ความเอาใจใส่เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่ไม่เหมือนกัน
    “หากผู้สูงอายุท่านไหนเป็นคนน่ารัก พูดคุยง่าย ก็จะง่ายสำหรับการดูแลของลูกหลาน แต่ถ้าคนไหนที่ยิ่งสูงอายุยิ่งดื้อและเอาแต่ใจ ก็จะสร้างความยากในการดูแล ประกอบกับผู้สูงอายุบางคนยังมี “อาการหลงลืม” ร่วมด้วยกับภาวะโรคจิตเวช เป็นต้นว่า กินข้าวแล้วบอกว่ายังไม่กิน ก็จะมีวิธีช่วยกันคิดกับกลุ่มญาติ เช่น เสนอให้ลูกหลานทำ “สมุดเซ็นรับทราบ” เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์ ทั้งนี้ ผู้สูงอายุก็อาจสงสัยอยู่บ้างว่าทำไปเพื่ออะไร แต่ทั้งนี้ก็ไว้ใจอยู่บ้าง เนื่องจากมีหลักฐานที่ชัดเจนว่ากินข้าวแล้ว ซึ่งวิธีนี้จะดีกว่ารอให้ท่านคิดว่าทำไมไม่ยอมให้กินข้าว เพราะไม่อย่างนั้นเมื่อลูกหลานมาหาก็จะฟ้อง เราต้องช่วยญาติที่ดูแลคิด และถามถึงการดูแลผู้ป่วยว่าที่ผ่านมาทำอย่างไร กระทั่งได้เป็นข้อเสนอดังกล่าว”

(หลักการดูแลผู้ป่วยจิตเวชร่วมกับการรับยาปรับสมดุลของสารในสมอง แนะนำให้ลูกเอาใจใส่ ชวนคุย และให้เกียรติท่าน โดยยกให้ท่านเป็นที่ปรึกษา เพื่อทำให้คุณตาคุณยายเกิดความภูมิใจ)

     นอกจากนี้ยังมี “ภาวะหลงลืม” ร่วมด้วย เป็นต้นว่า การ “เดินหาย” ออกจากบ้านไป กระทั่งเวลาผ่านไปจนตำรวจนำมาบ้าน ที่บางครั้งผู้สูงอายุกลับมาด้วยสภาพมอมแมม ข้าวปลาไม่กิน ซึ่งปัญหาเหล่านี้ก็พบได้ค่อนข้างบ่อย ดังนั้นลูกหลานต้องดูแลใกล้ชิด ที่สำคัญยังพบอาการทางจิตอย่าง “ภาวะหงุดหงิด ก้าวร้าว” แต่เมื่อได้รับยาปรับสารเคมีในสมองส่วนที่ควบคุมพฤติกรรมก้าวร้าวก็จะดีขึ้นภายใน 3-4 สัปดาห์ แต่สิ่งที่ลืมไม่ได้ก็จะมีจุดหนึ่งคือ “นิสัยเดิมๆ” เช่น เป็นคนที่นิสัยไม่ยอมใคร หรือบวกกับภาวะผู้สูงอายุมีอีโก้ในตัวเองสูง ลูกหลานสามารถนำเอาความรักและความเข้าใจ ตลอดจนการเคารพ ให้เกียรติผู้สูงอายุ มาใช้ในการดูแลคนสูงวัยที่ป่วยจิตเวชได้  
     “จริงๆ แล้วการนำเอาวิธีดูแลแบบธรรมชาติที่สุด อย่างการให้ความรักและความเคารพ สามารถนำมาปรับใช้ในการดูแลคุณพ่อคุณแม่ได้ เพราะบ่อยครั้งลูกหลานที่อาศัยอยู่ด้วย ให้เงินหรือซื้อแต่ของมาให้ ประกอบกับผู้วัยท่านต้องการความรักแทนที่จะซื้อของมาให้ แต่วิธีที่ดีนั้น แนะนำให้ลูกมานั่งกินข้าวกับพ่อแม่จะดีที่สุด หรือการที่ลูกมักจะบอกกับแม่ว่า ไม่อยากให้ท่านออกไปหาเพื่อน เพราะสุขภาพไม่ค่อยดี แต่เราต้องคิดว่า ในความเป็นจริงแล้ว แม่ก็ต้องการสังคมและเพื่อน แม่อยากไปวัด แต่อันที่จริงแล้วท่านไม่ได้อยากไปวัด แต่ท่านอยากมีเพื่อน มีคนคุยด้วย 
     หรือลูกบางคนก็มักจะพูดว่า แม่ไปวัดบ่อยๆ ทำไม!! เนื่องจากลูกบางคนจะไม่เข้าใจถึงเหตุผลที่ผู้สูงอายุอยากออกจากบ้าน ก็แนะนำให้ถามแม่ต่อว่า “แม่ไปวัดเพราะอะไร” เราก็จะได้รับคำตอบถึงเหตุผลที่แม่อยากไปวัด เพราะที่วัดมีเพื่อนนั่นเอง ดังนั้นการดูแลผู้สูงอายุป่วยจิตเวชไม่ใช่แค่การรับยา แต่ต้องสื่อสารกันให้เยอะ อธิบายให้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย แม้แต่การโอบกอดก็เป็นอีกวิธีเติมความรัก ความผูกพันได้เช่นกัน รวมถึงการใช้คำพูดที่สื่อให้พ่อแม่เห็นว่าตัวเองเป็นคนสำคัญ ก็จะยิ่งสร้างความภูมิใจให้กับท่าน เช่น หากลูกซื้อของฝากแม่ แนะนำให้ใช้คำพูดในการสร้างพลังเชิงบวก เช่น “แม่หนูเจอของที่แม่ชอบ หรือหนูจำได้ว่าแม่ชอบของอันนี้เลยซื้อมาฝาก” เนื่องจากผู้สูงวัยค่อนข้างละเอียดอ่อน ขณะเดียวกันก็น้อยใจง่าย และกลัวการถูกทิ้งให้อยู่ลำพัง สิ่งที่ลูกหลานควรทำมากที่สุด หากยิ่งมีคุณพ่อคุณแม่ป่วยโรคจิตเวช คือการไปกอด ไปอยู่ใกล้ กินอาหารร่วมกัน ลูกหลานต้องหล่อเลี้ยงอารมณ์ความรู้สึกของท่าน เพื่อป้องความเหงา ความโดดเดี่ยว ที่ไม่เพียงชะลออาการของโรคจิตเวช แต่ยังป้องกันโรคซึมเศร้าในคนสูงวัยได้อีกด้วยค่ะ”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"